เลย- ไฟป่าเมืองเลยเริ่มระอุ ลามอุทยานแห่งชาติภูเรือ-ป่าสงวนต้นน้ำพุงแล้วเกือบ 1 พันไร่เหตุ เผยผลพวงจากเกษตรกร จุดไฟหาข้าวโพด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดเลยขณะนี้ ทำให้หลายพื้นที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น โดยเฉพาะบริเวณป่าสงวนภูขี้เถ้า และป่าสงวนภูเปลือย อำเภอด่านซ้าย ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำห้วยน้ำพุงที่เกิดเหตุการณ์น้ำป่าพัดพาบ้านเรือนประชาชน จนมีผู้เสียชีวิตเมื่อช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา และอุทยานแห่งชาติภูเรือ อำเภอภูเรือถูกไฟเผาสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปแล้วกว่า 1,000 ไร่ และยังไม่มีทีท่าว่าจะดับลง
สาเหตุของการเกิดไฟป่า เป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ของราษฎร และการเก็บข้าวโพด หลังฤดูเก็บเกี่ยวที่ยังหลงเหลือ โดยการจดไฟที่ป่าข้าวโพดและเก็บผลข้าวโพดที่โดนไฟไหม้ เพื่อนำไปจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้เกิดหมอกควันไฟปกคลุมไปทั่วอำเภอด่านซ้ายและภูเรือ
นายปริญญา คุ้มสระพรม หัวหน้าสถานีไฟป่าจังหวัดเลย เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันมีไฟป่าเกิดขึ้นตามพื้นที่ป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติทั่วจังหวัดเลยแล้ว 57 ครั้ง เนื้อที่ป่าได้รับความเสียหาย 759 ไร่ โดยแยกเป็นอุทยานแห่งชาติภูเรือ จำนวน 11 ครั้ง สูญเสียป่าไม้ 263 ไร่ โดยมีสาเหตุจากการบุกรุกขยายพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎร แล้วลุกลามเข้าไปในพื้นที่ของอุทยานฯ อย่างไรก็ตาม สภาวะหมอกควันและฝุ่นละออกในช่วงนี้ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟป่า โดยให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า จึงประกาศให้เขตควบคุมไฟป่า และกำหนดระเบียบพร้อมมาตรการควบคุมไฟป่า โดยหากมีความจำเป็นต้องเผาไร่ในที่ทำกินต้องขออนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกครั้งพร้อมจัดทำแนวกันไฟ และควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่น เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน
โดยเฉพาะราษฎรผู้บุกรุกแผ้วถางในเขตป่าสงวนฯ ป่าอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยานต่างๆ จังหวัดจะใช้นโยบายอพยพราษฎรที่บุกรุกพื้นที่ดังกล่าว ออกจากพื้นที่และดำเนินคดีตามความผิดที่เกิดขึ้น ในเขตที่ประกาศควบคุมไฟป่า ราษฎรต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า
นายปริญญา กล่าวต่ออีกว่า ทุกกรณีหากมีไฟป่าเกิดขึ้น การจุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ลุกลามเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ต้องจำคุกตั้งแต่ 1-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และให้ผู้นำหมู่บ้าน ผู้บริหาร ตลอดจนสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้ถือเป็นหน้าที่ต้องสอดส่องดูแลให้ประชาชนในท้องที่ปฏิบัติตามประกาศอย่างเข้มงวด จากมาตรการดังกล่าวสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดเลยจะสามารถลดพื้นที่สูญเสียได้มากกว่าปีที่ผ่านมา
สำหรับจังหวัดเลยเมื่อปี 2550 พบไฟไหม้ป่าจำนวน 2,119 ครั้ง พื้นที่เสียหายจำนวน 4,648 ไร่ ระยะเวลาที่เกิดไฟป่ามากที่สุดอยู่ระหว่างวันที่ 15-31 มีนาคม
อย่างไรก็ตาม การเกิดไฟป่าในแต่ละครั้งในพื้นที่จังหวัดเลย เป็นที่สังเกตว่า ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติเลย ถึงแม้หลายๆ หน่วยงาน จะเข้าไปทำความเข้าใจกับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ ให้ตระหนักกับผลเสียที่เกิดขึ้น ก็ยังไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรที่จุดไฟ เพื่อขยายพื้นที่ทางการเกษตรประกอบกับ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการเอาใจใส่และลงมือปฏิบัติ จับกุม อย่างจริงจัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดเลยขณะนี้ ทำให้หลายพื้นที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น โดยเฉพาะบริเวณป่าสงวนภูขี้เถ้า และป่าสงวนภูเปลือย อำเภอด่านซ้าย ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำห้วยน้ำพุงที่เกิดเหตุการณ์น้ำป่าพัดพาบ้านเรือนประชาชน จนมีผู้เสียชีวิตเมื่อช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา และอุทยานแห่งชาติภูเรือ อำเภอภูเรือถูกไฟเผาสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปแล้วกว่า 1,000 ไร่ และยังไม่มีทีท่าว่าจะดับลง
สาเหตุของการเกิดไฟป่า เป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ของราษฎร และการเก็บข้าวโพด หลังฤดูเก็บเกี่ยวที่ยังหลงเหลือ โดยการจดไฟที่ป่าข้าวโพดและเก็บผลข้าวโพดที่โดนไฟไหม้ เพื่อนำไปจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้เกิดหมอกควันไฟปกคลุมไปทั่วอำเภอด่านซ้ายและภูเรือ
นายปริญญา คุ้มสระพรม หัวหน้าสถานีไฟป่าจังหวัดเลย เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันมีไฟป่าเกิดขึ้นตามพื้นที่ป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติทั่วจังหวัดเลยแล้ว 57 ครั้ง เนื้อที่ป่าได้รับความเสียหาย 759 ไร่ โดยแยกเป็นอุทยานแห่งชาติภูเรือ จำนวน 11 ครั้ง สูญเสียป่าไม้ 263 ไร่ โดยมีสาเหตุจากการบุกรุกขยายพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎร แล้วลุกลามเข้าไปในพื้นที่ของอุทยานฯ อย่างไรก็ตาม สภาวะหมอกควันและฝุ่นละออกในช่วงนี้ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟป่า โดยให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า จึงประกาศให้เขตควบคุมไฟป่า และกำหนดระเบียบพร้อมมาตรการควบคุมไฟป่า โดยหากมีความจำเป็นต้องเผาไร่ในที่ทำกินต้องขออนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกครั้งพร้อมจัดทำแนวกันไฟ และควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่น เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน
โดยเฉพาะราษฎรผู้บุกรุกแผ้วถางในเขตป่าสงวนฯ ป่าอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยานต่างๆ จังหวัดจะใช้นโยบายอพยพราษฎรที่บุกรุกพื้นที่ดังกล่าว ออกจากพื้นที่และดำเนินคดีตามความผิดที่เกิดขึ้น ในเขตที่ประกาศควบคุมไฟป่า ราษฎรต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า
นายปริญญา กล่าวต่ออีกว่า ทุกกรณีหากมีไฟป่าเกิดขึ้น การจุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ลุกลามเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ต้องจำคุกตั้งแต่ 1-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และให้ผู้นำหมู่บ้าน ผู้บริหาร ตลอดจนสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้ถือเป็นหน้าที่ต้องสอดส่องดูแลให้ประชาชนในท้องที่ปฏิบัติตามประกาศอย่างเข้มงวด จากมาตรการดังกล่าวสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดเลยจะสามารถลดพื้นที่สูญเสียได้มากกว่าปีที่ผ่านมา
สำหรับจังหวัดเลยเมื่อปี 2550 พบไฟไหม้ป่าจำนวน 2,119 ครั้ง พื้นที่เสียหายจำนวน 4,648 ไร่ ระยะเวลาที่เกิดไฟป่ามากที่สุดอยู่ระหว่างวันที่ 15-31 มีนาคม
อย่างไรก็ตาม การเกิดไฟป่าในแต่ละครั้งในพื้นที่จังหวัดเลย เป็นที่สังเกตว่า ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติเลย ถึงแม้หลายๆ หน่วยงาน จะเข้าไปทำความเข้าใจกับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ ให้ตระหนักกับผลเสียที่เกิดขึ้น ก็ยังไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรที่จุดไฟ เพื่อขยายพื้นที่ทางการเกษตรประกอบกับ เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการเอาใจใส่และลงมือปฏิบัติ จับกุม อย่างจริงจัง