ศูนย์ข่าวศรีราชา - พ่อเมืองพัทยาประสานประมงจังหวัดชลบุรี ลงพื้นที่กำจัดปลาซัคเกอร์ในคลองหนองใหญ่ ได้ปลาเจ้าปัญหาเป็นตัน เตรียมส่งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพื่อศึกษาข้อมูลหาวิธีการควบคุมการขยายพันธุ์
วันนี้ (7 มี.ค.) นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร นายกเมืองพัทยา เผยว่า ตามที่ชาวบ้านหนองใหญ่ ม.6 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ร้องเรียนว่ามีปลาซัคเกอร์ หรือปลาเทศบาล อยู่ภายในลำคลองบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยาเป็นจำนวนนับหมื่นตัว ทำให้ปลาพันธุ์อื่นๆ ที่ชาวบ้านนำมาเป็นอาหารมีจำนวนลดน้อยลง และมีแนวโน้มว่าจำนวนปลาซัคเกอร์จะขยายพันธุ์จนเกินควบคุมนั้น
ที่ผ่านมาได้ประสานงานไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด และประมงจังหวัดชลบุรี เพื่อลงพื้นที่ก่อนรวบรวมข้อมูลเพื่อหาทางกำจัด จากนั้นจึงนำเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยฯ ประมงจังหวัด งานสุขาภิบาลเมืองพัทยา แบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน เพื่อใช้สวิงและอวนดักปลาซัคเกอร์ ตั้งแต่ต้นน้ำบริเวณสะพานข้ามลำคลองไปจนถึงปลายทางของสถานีสูบน้ำหนองใหญ่ ระยะทางประมาณ 500 เมตร สามารถจับปลาซัคเกอร์ได้เป็นจำนวนมากน้ำหนักรวมประมาณ 1 ตัน ส่วนปลาพันธุ์อื่นๆ แทบจะไม่มีให้เห็นในลำคลองช่วงบริเวณดังกล่าว
ด้านนายศักดิ์ชัย โชติคุณ ประมงจังหวัดชลบุรี เผยด้วยว่า จากนี้จะได้นำปลาซัคเกอร์บางส่วนเข้าศูนย์วิจัยฯ เพื่อศึกษาวงจรของชีวิตปลาและหาทางกำจัด ตลอดจนควบคุมปริมาณไม่ให้แพร่ขยายพันธุ์ออกไปจนทำให้ระบบนิเวศเกิดความแปรเปลี่ยน ส่วนปลาที่ตายแล้วจะนำไปทำปุ๋ย และนำเข้ากรมประมงเพื่อศึกษาและหาวิธีการแปรรูปให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้านต่อไป
วันนี้ (7 มี.ค.) นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร นายกเมืองพัทยา เผยว่า ตามที่ชาวบ้านหนองใหญ่ ม.6 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ร้องเรียนว่ามีปลาซัคเกอร์ หรือปลาเทศบาล อยู่ภายในลำคลองบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยาเป็นจำนวนนับหมื่นตัว ทำให้ปลาพันธุ์อื่นๆ ที่ชาวบ้านนำมาเป็นอาหารมีจำนวนลดน้อยลง และมีแนวโน้มว่าจำนวนปลาซัคเกอร์จะขยายพันธุ์จนเกินควบคุมนั้น
ที่ผ่านมาได้ประสานงานไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด และประมงจังหวัดชลบุรี เพื่อลงพื้นที่ก่อนรวบรวมข้อมูลเพื่อหาทางกำจัด จากนั้นจึงนำเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยฯ ประมงจังหวัด งานสุขาภิบาลเมืองพัทยา แบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน เพื่อใช้สวิงและอวนดักปลาซัคเกอร์ ตั้งแต่ต้นน้ำบริเวณสะพานข้ามลำคลองไปจนถึงปลายทางของสถานีสูบน้ำหนองใหญ่ ระยะทางประมาณ 500 เมตร สามารถจับปลาซัคเกอร์ได้เป็นจำนวนมากน้ำหนักรวมประมาณ 1 ตัน ส่วนปลาพันธุ์อื่นๆ แทบจะไม่มีให้เห็นในลำคลองช่วงบริเวณดังกล่าว
ด้านนายศักดิ์ชัย โชติคุณ ประมงจังหวัดชลบุรี เผยด้วยว่า จากนี้จะได้นำปลาซัคเกอร์บางส่วนเข้าศูนย์วิจัยฯ เพื่อศึกษาวงจรของชีวิตปลาและหาทางกำจัด ตลอดจนควบคุมปริมาณไม่ให้แพร่ขยายพันธุ์ออกไปจนทำให้ระบบนิเวศเกิดความแปรเปลี่ยน ส่วนปลาที่ตายแล้วจะนำไปทำปุ๋ย และนำเข้ากรมประมงเพื่อศึกษาและหาวิธีการแปรรูปให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้านต่อไป