ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้ประกอบการโอดหลังเมืองพัทยาเดินเครื่องจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นทางการ โดยใช้รูปแบบใหม่ดูจากปริมาณการใช้น้ำประปา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกกว่า 50% ขณะที่เมืองพัทยา ชี้ ไม่ได้หวังผลกำไร เพียงแต่ต้องการให้ระบบเดินไปได้อย่างสมบูรณ์ แถมปรับลดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสุด และเป็นภาษีที่ต้องชำระเพราะในฐานะผู้ก่อมลพิษ
วันนี้ (14 ก.พ.) นายสินไชย วัฒนศาสตร์สาธร เลขานุการสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา กล่าวในที่ประชุมสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่โรงแรมเดอะกรีนพาร์ค รีสอร์ท พัทยา ว่า ปัจจุบันได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากว่าหลังจากที่เมืองพัทยาได้เริ่มดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียในรูปแบบใหม่อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากหรือสูงขึ้นอีกกว่า 50%
ทั้งนี้ เนื่องจากระบบใหม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราการใช้น้ำจริง โดยวัดจากปริมาตรการใช้น้ำจากมิเตอร์ของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะต้องชำระค่าน้ำแล้วยังต้องเสียค่าบำบัดน้ำอีกในอัตรา 4.5 บาทต่อ 1 หน่วย หรือ 1,000 ลิตร ขณะที่แบบเดิมคิดจากพื้นที่ประกอบการและไม่มีอัตราสูงมากนัก จึงควรมีการอะลุ่มอะล่วยและหาแนวทางปรับลดเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้
ด้าน น.ส.จิราพร อนันทยา รักษาการหัวหน้าฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ กองช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา กล่าวว่า สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเมืองพัทยาได้จัดทำตามขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถนำค่าธรรมเนียมมาใช้จ่ายในการเดินระบบบำบัดให้สามารถทำงานต่อไปได้
เนื่องจากปัจจุบันเมืองพัทยาต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบำบัดน้ำเสียแต่ละปีจำนวนหลายสิบล้านบาท โดยแยกออกเป็นการคืนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมที่กู้มาจัดทำระบบจำนวน 1,800 ล้านบาท ในอัตรา 10 ล้านบาท/ปี รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเรื่องของค่ากระแสไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสารเคมีและการดูแลระบบอีกปีละ 3 ล้านบาท จึงต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม จากการปรับเปลี่ยนระบบเก่าจากเดิมที่คิดตามพื้นที่มาใช้ในระบบใหม่นั้นก็เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบที่มีความชัดเจน และมีมาตรฐานโดยได้ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคในการดูมาตรวัดน้ำเพื่อตรวจสอบปริมาณการใช้เป็นหลัก ซึ่งได้คิดจำแนกการเรียกเก็บออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.ประเภทที่อยู่อาศัย คิดอัตรา 3 บาทต่อการใช้น้ำ 1 หน่วย หรือ 1,000 ลิตร แต่หากใช้น้ำไม่ถึง 20 หน่วยก็จะไม่มีการเรียกเก็บ 2.อุตสาหกรรมขนาดกลาง คิดอัตรา 4 บาทต่อการใช้น้ำ 1 หน่วย และ 3.อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คิดอัตรา 4.5 บาทต่อการใช้น้ำ 1 หน่วย ซึ่งอัตรานี้ถือเป็นอัตราที่เมืองพัทยาคิดตามเรตราคาในปี 2548 ที่ทางสิ่งแวดล้อมเป็นผู้กำหนด ขณะที่ราคาจริงนั้นอยู่ที่ 5-7 บาท ในปี 2551 จึงถือว่าเมืองพัทยาลดหย่อนให้แล้ว เพราะไม่ได้หวังกำไรจากการจัดเก็บเพียงแต่อยากนำเงินมาใช้ในการเดินระบบเท่านั้น
วันนี้ (14 ก.พ.) นายสินไชย วัฒนศาสตร์สาธร เลขานุการสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา กล่าวในที่ประชุมสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่โรงแรมเดอะกรีนพาร์ค รีสอร์ท พัทยา ว่า ปัจจุบันได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากว่าหลังจากที่เมืองพัทยาได้เริ่มดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียในรูปแบบใหม่อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากหรือสูงขึ้นอีกกว่า 50%
ทั้งนี้ เนื่องจากระบบใหม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราการใช้น้ำจริง โดยวัดจากปริมาตรการใช้น้ำจากมิเตอร์ของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะต้องชำระค่าน้ำแล้วยังต้องเสียค่าบำบัดน้ำอีกในอัตรา 4.5 บาทต่อ 1 หน่วย หรือ 1,000 ลิตร ขณะที่แบบเดิมคิดจากพื้นที่ประกอบการและไม่มีอัตราสูงมากนัก จึงควรมีการอะลุ่มอะล่วยและหาแนวทางปรับลดเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้
ด้าน น.ส.จิราพร อนันทยา รักษาการหัวหน้าฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ กองช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา กล่าวว่า สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเมืองพัทยาได้จัดทำตามขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถนำค่าธรรมเนียมมาใช้จ่ายในการเดินระบบบำบัดให้สามารถทำงานต่อไปได้
เนื่องจากปัจจุบันเมืองพัทยาต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบำบัดน้ำเสียแต่ละปีจำนวนหลายสิบล้านบาท โดยแยกออกเป็นการคืนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมที่กู้มาจัดทำระบบจำนวน 1,800 ล้านบาท ในอัตรา 10 ล้านบาท/ปี รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเรื่องของค่ากระแสไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสารเคมีและการดูแลระบบอีกปีละ 3 ล้านบาท จึงต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม จากการปรับเปลี่ยนระบบเก่าจากเดิมที่คิดตามพื้นที่มาใช้ในระบบใหม่นั้นก็เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบที่มีความชัดเจน และมีมาตรฐานโดยได้ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคในการดูมาตรวัดน้ำเพื่อตรวจสอบปริมาณการใช้เป็นหลัก ซึ่งได้คิดจำแนกการเรียกเก็บออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.ประเภทที่อยู่อาศัย คิดอัตรา 3 บาทต่อการใช้น้ำ 1 หน่วย หรือ 1,000 ลิตร แต่หากใช้น้ำไม่ถึง 20 หน่วยก็จะไม่มีการเรียกเก็บ 2.อุตสาหกรรมขนาดกลาง คิดอัตรา 4 บาทต่อการใช้น้ำ 1 หน่วย และ 3.อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คิดอัตรา 4.5 บาทต่อการใช้น้ำ 1 หน่วย ซึ่งอัตรานี้ถือเป็นอัตราที่เมืองพัทยาคิดตามเรตราคาในปี 2548 ที่ทางสิ่งแวดล้อมเป็นผู้กำหนด ขณะที่ราคาจริงนั้นอยู่ที่ 5-7 บาท ในปี 2551 จึงถือว่าเมืองพัทยาลดหย่อนให้แล้ว เพราะไม่ได้หวังกำไรจากการจัดเก็บเพียงแต่อยากนำเงินมาใช้ในการเดินระบบเท่านั้น