ศูนย์ข่าวศรีราชา - สม.พัทยา โวยผู้บริหารเดินเครื่องจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากประชาชน โดยไม่ประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้า สร้างความสับสนให้แก่ประชาชนที่ยังขาดความเข้าใจและต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (12 ก.พ.) ในการประชุมสภาเมืองพัทยา นายภาโณตน์ คณาวัฒนกุล สมาชิกสภาเมืองพัทยา กล่าวอภิปรายในที่ประชุม ว่า ปัจจุบันกองช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา ได้ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนประชาชน และผู้ประกอบการอย่างเป็นทางการไปแล้ว
ปรากฏว่า ก่อนช่วงของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนั้น ไม่ได้มีการทำเอกสาร หรือทำการประชาสัมพันธ์ชี้แจงเกี่ยวกับความจำเป็นและขั้นตอนรวมถึงวิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมให้ประชาชน และผู้ประกอบการได้รับทราบแต่อย่างใด ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน จากการเสียค่าธรรมเนียมการใช้น้ำประปาตามปกติ
เรื่องนี้แท้ที่จริงแล้วถือเป็นภาระที่ประชาชนชาวเมืองพัทยาทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อไม่อธิบายถึงความจำเป็นให้ทราบ และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอย่างปัจจุบันทันด่วน จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น
ด้าน นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า กรณีดังกล่าวต้องยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ และสื่อสารให้ประชาชนและผู้ประกอบการรับทราบถึงความจำเป็น ในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งหากทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบก็คงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม สำหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เป็นการเรียกเก็บเงินจากค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งวัดจากปริมาณการใช้น้ำในระบบของการประปา ซึ่งมีอัตราการคิดค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันแล้วแต่ละประเภท
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้กำหนดไว้ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 1.ที่พักอาศัย ซึ่งจะคิดอัตรา 1 หน่วยหรือปริมาณน้ำ 1,000 ลิตรต่อค่าธรรมเนียม 3.5 บาท แต่หากมีการใช้น้ำไม่ถึงจำนวน 20 หน่วยหรือปริมาณน้ำ 20,000 ลิตร ก็จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ประเภทที่ 2 คืออุตสาหกรรมขนาดกลาง อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ บังกะโล หรือโรงแรมขนาดเล็ก จะคิดอัตราค่าธรรมเนียมในระดับ 1 หน่วยหรือปริมาณน้ำ 1,000 ลิตร ต่อค่าธรรมเนียมจำนวน 4 บาท และประเภทที่ 3 คืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะคิดอัตราค่าธรรมเนียมในระดับ 1 หน่วย หรือปริมาณน้ำ 1,000 ลิตร ต่อค่าธรรมเนียม 4.5 บาท
สำหรับค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ ก็จะนำไปใช้ในการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายปีละหลายสิบล้านบาท และปัจจุบันก็กำลังส่งเอกสารไปยังบ้านเรือนประชาชนและสถานประกอบการ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเกือบ 100% แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (12 ก.พ.) ในการประชุมสภาเมืองพัทยา นายภาโณตน์ คณาวัฒนกุล สมาชิกสภาเมืองพัทยา กล่าวอภิปรายในที่ประชุม ว่า ปัจจุบันกองช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา ได้ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนประชาชน และผู้ประกอบการอย่างเป็นทางการไปแล้ว
ปรากฏว่า ก่อนช่วงของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนั้น ไม่ได้มีการทำเอกสาร หรือทำการประชาสัมพันธ์ชี้แจงเกี่ยวกับความจำเป็นและขั้นตอนรวมถึงวิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมให้ประชาชน และผู้ประกอบการได้รับทราบแต่อย่างใด ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน จากการเสียค่าธรรมเนียมการใช้น้ำประปาตามปกติ
เรื่องนี้แท้ที่จริงแล้วถือเป็นภาระที่ประชาชนชาวเมืองพัทยาทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อไม่อธิบายถึงความจำเป็นให้ทราบ และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอย่างปัจจุบันทันด่วน จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น
ด้าน นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า กรณีดังกล่าวต้องยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ และสื่อสารให้ประชาชนและผู้ประกอบการรับทราบถึงความจำเป็น ในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งหากทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบก็คงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม สำหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เป็นการเรียกเก็บเงินจากค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งวัดจากปริมาณการใช้น้ำในระบบของการประปา ซึ่งมีอัตราการคิดค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันแล้วแต่ละประเภท
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้กำหนดไว้ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 1.ที่พักอาศัย ซึ่งจะคิดอัตรา 1 หน่วยหรือปริมาณน้ำ 1,000 ลิตรต่อค่าธรรมเนียม 3.5 บาท แต่หากมีการใช้น้ำไม่ถึงจำนวน 20 หน่วยหรือปริมาณน้ำ 20,000 ลิตร ก็จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ประเภทที่ 2 คืออุตสาหกรรมขนาดกลาง อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ บังกะโล หรือโรงแรมขนาดเล็ก จะคิดอัตราค่าธรรมเนียมในระดับ 1 หน่วยหรือปริมาณน้ำ 1,000 ลิตร ต่อค่าธรรมเนียมจำนวน 4 บาท และประเภทที่ 3 คืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะคิดอัตราค่าธรรมเนียมในระดับ 1 หน่วย หรือปริมาณน้ำ 1,000 ลิตร ต่อค่าธรรมเนียม 4.5 บาท
สำหรับค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้ ก็จะนำไปใช้ในการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายปีละหลายสิบล้านบาท และปัจจุบันก็กำลังส่งเอกสารไปยังบ้านเรือนประชาชนและสถานประกอบการ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเกือบ 100% แล้ว