มหาสารคาม- พบชาวบ้านหลายหมู่บ้านในมหาสารคาม ยังคงใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในช่วงฤดูแล้ง โดยอาศัยป่าและทุ่งนาเป็นแหล่งอาหารหากมีมาก ส่วนที่เหลือก็จะนำไปจำหน่าย แม้รายได้ไม่มากแต่ก็อยู่อย่างพอเพียง
ที่บ้านหนองคู-ศรีวิไล ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พอย่างเข้าสู่ฤดูแล้งของทุกปีชาวบ้านแห่งนี้จะใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งถือได้ว่าไม่ได้เป็นผลกระทบจากภัยแล้ง แต่เป็นการปรับสภาพชีวิต ให้เข้ากับฤดูกาลของคนอีสาน ด้วยการอาศัยธรรมชาติในส่วนที่เป็นป่าชุมชน สำหรับเป็นแหล่งอาหาร
ในแต่ละวันชาวบ้านจะเดินทางไปยังป่า พร้อมไม้สอย มัดติดตะกร้าปากกว้างไว้ที่ปลายไม้ พร้อมหิ้วถังใสน้ำ ออกไปหาไข่มดแดงที่ทำรังบนปลายไม้ การสอยก็ต้องมีจังหวะเพื่อแหย่รังให้ไข่ร่วงลงใส่ตระกร้า ไม่ให้ไข่มดแดงหลุดร่วงลงดิน ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ ก่อนนำไปเทลงในถังใส่น้ำที่เตรียมไว้ เพื่อไม่ให้ตัวมดแดงคาบไข่ไต่หนีออกจากถัง อย่างไรก็ตามต้องรีบแยกไข่แยกตัวออกก่อนแช่น้ำ เพื่อไม่ให้ไข่มดแดงเน่าเสียได้ง่าย
แต่ละวันชาวบ้านจะใช้เวลาจากเช้าไปจนถึงเที่ยงก็จะกลับบ้าน เพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารเที่ยง ส่วนที่เหลือก็จะนำปจำหน่ายเป็นรายได้ วันละ 100-200 บาท
พอถึงช่วงหัวค่ำ ชาวบ้านก็จะจับกลุ่ม 5-10 คน ออกไปยังกลางทุ่งนา ใกล้หมู่บ้าน ใช้กิ่งไม้แห้งหรือลำปอ รวมถึงไฟฉายสุดแต่จะหาได้ เพื่อส่องสว่างออกจับกบ เขียด รวมถึงแมลงและสัตว์อื่นๆกลางทุ่นา เพื่อเป็นอาหารในช่วงยามเช้าของวันถัดไป โดยจะใช้เวลาไม่เกินเที่ยงคืน ทั้งนี้นักล่าทั้งหลายจะต้องรู้จักสังเกต และระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ไปจับหรือสัมผัสกับสัตว์มีพิษ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
บางรายจับได้มากก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ วันละ 100-200 บาท แม้รายได้ไม่มาก แต่ชาวบ้านก็พอใจกับความเป็นอยู่ของชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งเป็นรายได้จากธรรมชาติ ไม่ต้องคิดต้นทุน แต่อาศัยความขยันขันแข็งเป็นทุนเดิม ก็สามารถใช้ชีวิตให้มีความสุขได้เป็นอย่างดี
ที่บ้านหนองคู-ศรีวิไล ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พอย่างเข้าสู่ฤดูแล้งของทุกปีชาวบ้านแห่งนี้จะใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งถือได้ว่าไม่ได้เป็นผลกระทบจากภัยแล้ง แต่เป็นการปรับสภาพชีวิต ให้เข้ากับฤดูกาลของคนอีสาน ด้วยการอาศัยธรรมชาติในส่วนที่เป็นป่าชุมชน สำหรับเป็นแหล่งอาหาร
ในแต่ละวันชาวบ้านจะเดินทางไปยังป่า พร้อมไม้สอย มัดติดตะกร้าปากกว้างไว้ที่ปลายไม้ พร้อมหิ้วถังใสน้ำ ออกไปหาไข่มดแดงที่ทำรังบนปลายไม้ การสอยก็ต้องมีจังหวะเพื่อแหย่รังให้ไข่ร่วงลงใส่ตระกร้า ไม่ให้ไข่มดแดงหลุดร่วงลงดิน ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ ก่อนนำไปเทลงในถังใส่น้ำที่เตรียมไว้ เพื่อไม่ให้ตัวมดแดงคาบไข่ไต่หนีออกจากถัง อย่างไรก็ตามต้องรีบแยกไข่แยกตัวออกก่อนแช่น้ำ เพื่อไม่ให้ไข่มดแดงเน่าเสียได้ง่าย
แต่ละวันชาวบ้านจะใช้เวลาจากเช้าไปจนถึงเที่ยงก็จะกลับบ้าน เพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารเที่ยง ส่วนที่เหลือก็จะนำปจำหน่ายเป็นรายได้ วันละ 100-200 บาท
พอถึงช่วงหัวค่ำ ชาวบ้านก็จะจับกลุ่ม 5-10 คน ออกไปยังกลางทุ่งนา ใกล้หมู่บ้าน ใช้กิ่งไม้แห้งหรือลำปอ รวมถึงไฟฉายสุดแต่จะหาได้ เพื่อส่องสว่างออกจับกบ เขียด รวมถึงแมลงและสัตว์อื่นๆกลางทุ่นา เพื่อเป็นอาหารในช่วงยามเช้าของวันถัดไป โดยจะใช้เวลาไม่เกินเที่ยงคืน ทั้งนี้นักล่าทั้งหลายจะต้องรู้จักสังเกต และระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ไปจับหรือสัมผัสกับสัตว์มีพิษ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
บางรายจับได้มากก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ วันละ 100-200 บาท แม้รายได้ไม่มาก แต่ชาวบ้านก็พอใจกับความเป็นอยู่ของชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งเป็นรายได้จากธรรมชาติ ไม่ต้องคิดต้นทุน แต่อาศัยความขยันขันแข็งเป็นทุนเดิม ก็สามารถใช้ชีวิตให้มีความสุขได้เป็นอย่างดี