เชียงใหม่ – เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษนำเครื่องตรวจวัดติดตั้งในชุมชนใกล้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ พบมีเสียงขึ้นลงของอากาศยานดังเกินกว่ามาตรฐานการบิน
ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากรมควบคุมมลพิษ นำเครื่องตรวจวัดความดังของเสียง มาติดตั้งไว้บริเวณ บ้านเลขที่ 111/243 หมู่บ้านนิมานนรดี ตำบลแม่เหียะ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ของนางสุภาพร กัสเซ่นชมิดส์ ซึ่งอยู่ในแนวร่อนลงจอดของเครื่องบินบริเวณสนามบินเชียงใหม่ ที่ได้รับความเสียหายจากลมหวน จนหลังคาบ้านพังเสียหาย และมลพิษทางเสียง ในการลงจอดของเครื่องบิน ซึ่งผลการตรวจวัดความดังของเครื่องบินในรอบ 1 วัน พบว่า บางเที่ยวบินที่เป็นเครื่องบินขนาดใหญ่จะมีความดังของเสียงสูงกว่า 80 เดซิเบล ซึ่งตามกฎหมายการบิน กำหนดไว้ไม่เกิน 70 เดซิเบล
นายสัญญา ทุมตะขบ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมด จะนำเข้าหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสนามบินเชียงใหม่ เพื่อนำผลไปทำแบบจำลองระดับเขตรบกวนทางเสียงเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป ซึ่งอาจมีทั้งการเวนคืนที่ดิน หรือกำหนดเที่ยวบินให้ขึ้นลงทางด้านทิศเหนือ ของสนามบินเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันขึ้นลงเพียง 10%
ขณะที่ทางด้านทิศใต้ หลังมีการขยายทางวิ่งของรันเวย์ แต่ละวันมีการขึ้นลงของเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ขณะที่หลังคาบ้านของ นางสุภาพร ที่ได้รับความเสียหาย จากการลงจอดของเครื่องบินเบื้องต้นในที่ประชุม ของคณะกรรมการกำกับการ ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการสนามบินเชียงใหม่ ให้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว แต่ทางนางสุภาพร ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางท่าอากาศยานเชียงใหม่แต่อย่างใด
ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมากรมควบคุมมลพิษ นำเครื่องตรวจวัดความดังของเสียง มาติดตั้งไว้บริเวณ บ้านเลขที่ 111/243 หมู่บ้านนิมานนรดี ตำบลแม่เหียะ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ของนางสุภาพร กัสเซ่นชมิดส์ ซึ่งอยู่ในแนวร่อนลงจอดของเครื่องบินบริเวณสนามบินเชียงใหม่ ที่ได้รับความเสียหายจากลมหวน จนหลังคาบ้านพังเสียหาย และมลพิษทางเสียง ในการลงจอดของเครื่องบิน ซึ่งผลการตรวจวัดความดังของเครื่องบินในรอบ 1 วัน พบว่า บางเที่ยวบินที่เป็นเครื่องบินขนาดใหญ่จะมีความดังของเสียงสูงกว่า 80 เดซิเบล ซึ่งตามกฎหมายการบิน กำหนดไว้ไม่เกิน 70 เดซิเบล
นายสัญญา ทุมตะขบ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมด จะนำเข้าหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการกำกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสนามบินเชียงใหม่ เพื่อนำผลไปทำแบบจำลองระดับเขตรบกวนทางเสียงเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป ซึ่งอาจมีทั้งการเวนคืนที่ดิน หรือกำหนดเที่ยวบินให้ขึ้นลงทางด้านทิศเหนือ ของสนามบินเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันขึ้นลงเพียง 10%
ขณะที่ทางด้านทิศใต้ หลังมีการขยายทางวิ่งของรันเวย์ แต่ละวันมีการขึ้นลงของเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ขณะที่หลังคาบ้านของ นางสุภาพร ที่ได้รับความเสียหาย จากการลงจอดของเครื่องบินเบื้องต้นในที่ประชุม ของคณะกรรมการกำกับการ ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการสนามบินเชียงใหม่ ให้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว แต่ทางนางสุภาพร ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางท่าอากาศยานเชียงใหม่แต่อย่างใด