เหล่าแพทย์แผนไทยร่วมหาบทสรุป อุบัติเหตุไฟคลอกจากหัตถการ “เผายา” เป็นวิธีการรักษาที่อันตราย หรือคนใช้ “ขาดประสบการณ์” ถอดบทเรียนเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้ “หัตถการแพทย์แผนไทย”
ความผิดพลาดที่ “ขาดสติ-ประสบการณ์”
จากประเด็นดังในรายการ “โหนกระแส” ที่เน็ตไอดอลสาว “หมวย” ผู้เสียหายที่ถูกไฟคลอก จากการรักษาของ “คลินิกดังย่านรามอินทรา” ผู้เสนอบัตรกำนัลรักษาฟรีด้วยวิธี “เผายาหน้าท้อง” อ้างทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
แต่ก็เกิดอุบัติเหตุทำให้ไฟลุกท่วมหน้าท้อง ล่ามไปถึงแผ่นหลังจนเกิดแผลฉกรรจ์ ต้องไปเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล แต่หลังจากออกจากโรงพยาบาล เธอยังต้องจ่ายค่ารักษาเองกว่า 3 แสนบาท โดยคลินิกและหมอไม่รับผิดชอบ
จากเหตุการณ์นี้เองทำให้เกิดการแถลงข่าวเรื่อง “ถอดบทเรียนกรณีศึกษาอุบัติเหตุการเผายา กับภูมิปัญญาการแพทย์แผนตะวันออก” ของ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต นำโดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
กล่าวว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น มาจากแพทย์แผนไทยและคลินิกดังกล่าวนั้น ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง “การเผายา” ประมาทเลินเล่อ “จนทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย”
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงขอออกมา “แสดงจุยืน” ในฐานะองค์กรที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน มากว่า 20 ปี และมีประสบการณ์ให้บริการ “การเผายา”มานานกว่า 10 ปี ว่า..
{ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์}
“เราขอแสดงความเสียใจและขอให้กำลังใจต่อผู้เสียหายให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายให้สำเร็จต่อไปโดยเร็ว”
ทั้งนี้ “ความผิดพลาดส่วนบุคคล” เกิดขึ้นได้ทุกอาชีพ ถ้าคนคนนั้น “ขาดสติ ขาดประสบการณ์” และเรียกร้องให้ แพทย์แผนไทยและสถานพยาบาลดังกล่าวออกมา เยียวยาและรับผิดชอบอย่างเต็มที่
โดย “ทางสภาการแพทย์แผนไทย” และ “กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)” ต้องรีบสืบสวนหาข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้ เหล่าผู้ประกอบวิชาชีพ “แพทย์แผนไทย” ตระหนักถึงความปลอดภัยและระมัดระวังเรื่อง “การใช้ไฟหรือความร้อน” ในการรักษาผู้ป่วย
หัตถการ “นั้นดี” แต่อยู่ที่ “คนทำ”
อาจารย์ปานเทพยืนยันว่า “การเผายา” เป็นหัตถการที่ได้รับการรับรองจาก “สภาการแพทย์แผนไทย” เป็นภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน โดยใช้การจุดไฟให้ความร้อนบนยาสมุนไพรรสร้อน ที่วางลงผิวหนังเฉพาะจุดของผู้ป่วย ใช้รักษาอาการ ท้องอืดท้องเฟ้อ ภูมิแพ้อากาศ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต คล้ายเส้น
"แต่ก็ไม่เหมาะสำหรับทุกคน" โดยเฉพาะคนที่อยู่ภาวะร้อนเกิน เช่น มีไข้ เพลียจากแดด ร้อนใน มีภาวการณ์อักเสบ และ “การเผายา”ต้องควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด เพื่อลดความเสี่ยง
“ดังนั้นหากแพทย์แผนไทย คนใดไม่เคยเรียนรู้การเผายา ภาคปฏิบัติจากครูบาอาจารย์โดยตรงอย่างถูกต้อง ไม่ควรใช้กรรมวิธีเผายากับผู้ป่วยโดยเด็ดขาด และผู้ที่จะทำหัตถการเผายากับผู้ป่วยต้องผ่านการฝึกฝนจนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น”
ด้าน พท.คมสัน ทินกร ณ อยุธยารองคณบดีฝ่ายแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ได้แสดงความเสียใจและขอโทษแทนแพทย์แผนไทยทั่วประเทศ
{ พท.คมสัน ทินกร ณ อยุธยา}
โดยหลังพูดคุยรายละเอียดกับผู้เสียหายแล้วพบว่า ขั้นตอนในการเผายาที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น เป็นการทำที่ผิดวิธี คร่าวๆ คือผิดตั้งแต่ขั้นแรก “ตำแหน่งของผ้าที่ใช้รอง” ระหว่างผิวหนังและตัวยา กับสมุนไพรที่หั่นไม่ละเอียด ทำให้แอลกอฮอล์ซึมลงถึงผิวหนังได้ง่าย และสุดท้ายคือ “การใส่แอลกอฮอล์ที่มากเกินไป”
ย้ำว่าการเผายาเป็นวิธีรักษาที่ดี แต่อยู่ที่ “คนทำ” และทราบข้อมูลมาว่า ตอนนี้มีการสอบหัตถการแบบนี้ในสื่อออนไลน์ คนที่ทำไม่ได้เรียนอย่างถูกต้อง จึง “ทำไม่เป็น” และ “ขาดทักษะ”
สาธิตวิธีปลอดภัย เผาได้โดย “ใช้-ไม่ใช้แอลกอฮอล์”
เพื่อตอกย้ำความเชื่อหมั่นและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในงานยังมีการแสดงวิธีการ “เผายา” ที่ถูกต้องและปลอดภัย อีกด้วย โดยก่อนเริ่มต้อง ตรวจร่างกาย วัดไข้ ความดัน ว่าปกติ จากนั้นต้องแจ้งขั้นตอนในการทำให้คนไข้ทราบ
เริ่มจาก ใช้น้ำมันนวดบริเวณที่จะ รักษา 5-10 นาที ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาด ทำเป็นวงรอบบริเวณที่จะ ทำการเผายา จากใช้เกลือแกง โรยในบริเวณวงรอบนั้น เพื่อตัวยาซึมลงไปบนผิวหนัง หลังจากนั้นจึงค่อย นำตัวยาใส่ตามลงไป
แล้วค่อยนำผ้าชุบน้ำที่บิดให้หมาด คลุมลงไป และต้องเตรียมผ้าอีกเอาไว้คอยดับไฟด้วย หลังจากนั้นจึง พ่นแอลกอฮอล์ โดยการใช้ “สเปรย์” เพื่อที่สามารถควบคุม ปริมาณและพื้นที่ของแอลกอฮอล์
แล้วจึงจุดไฟโดยต้องมีผู้ช่วยค่อยถือผ้าเตรียมไว้เพื่อดับไฟตลอด และต้องมีการสอบถามคนไข้เสมอว่า ร้อนเกินไปหรือไม่ ตรวจระดับไฟและความร้อนทุกรอบในการทำ
{วิธี "การเผายา" ที่ปลอดภัย}
ทั้งยังมีการ สาธิต การเผายา โดย “ไม่ใช่แอลกอฮอล์” แต่จะใช้การบูรในการเผาแทน ซึ่งวิธีนั้นก็คล้ายกัน แต่จะไม่มีการลุกโชนของไฟ ซึ่งก็เป็นวิธีที่เสี่ยงน้อยกว่า
ไม่ใช้แค่การเผายาเท่านั้น แต่ยังมีการสาธิตวิธีรักษาโดยใช้ไฟและความร้อนแบบอื่นๆ อย่าง การประคบร้อน ที่เป็นการนำตัวยาใน ลูกประคบไปนึ่ง จากนั้นจึงนำไปประคบให้ผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้เป็น วิธีที่ “ง่ายและปลอดภัยที่สุด”
และยังมีการสาธิต หัตถการที่หาดูได้ยากอย่าง “การรมยามังกรไฟ” คือการนำเอา ขิงสดที่บดละเอียด วางตามแนวกระดูกสันหลัง บนผ้ากอซชุบน้ำ จากนั้นนำสมุนไหรอย่าง “โกศจุฬาลัมพา” วางลงไปบนขิงบด จากนั้นค่อยจุดไฟตัว โกฐจุฬาลัมพา รอให้ดับสนิททั้งแทง แล้วค่อยนำสมุนไพรออก
{การรมยามังกรไฟ}
หรือจะเป็น “การกักน้ำมัน”วิธีที่ใช้ “แป้งปั้น” วางบนแผ่นหลังทำเป็นวงคล้ายอ่างเก็บน้ำ จากนั้นนำ “น้ำมันยา” ที่ถูกอุ่น เทลงไปในวงแป้น การสาธิตเหล่านี้ เพื่อแสดงให้ถึง วิธีการ การใช้ไฟและความร้อน ในการรักษาแบบต่างๆ
{การกักน้ำมัน}
เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดย อ.ปานเทพ ย้ำว่า การเลือกใช้ หัตถการแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกายของคนไข้ สถานการณ์ สภาพแวดล้อม และความชำนาญของแพทย์คนนั้นๆ
ทั้งนี้ การสาธิตครั้งนี้เพื่ออยากจะแสดงให้เห็นว่า แพทย์ที่จะใช้หัตถการในการรักษา จะต้องเรียนและฝึกฝน ต้องเลือกวิธีการให้ถูกว่า “อันไหนปลอดภัยในสถานการณ์นั้น”
“สิ่งที่เราอยากจะส่งสัญญาว่า ใครไม่เคยเรียน หรือสถาบันการศึกษาไหนไม่เคยสอน ต้องย้ำผู้ได้ใบประกอบวิชาชีพว่า อย่าทำ”
สะท้อน “บทเรียน-มาตรฐาน” จากเหล่าแพทย์
นพ.วิชาญ เกิดวิชัย คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ยังให้ความเห็น ในการแถลงข่าวนี้ว่า หลักการของการรักษาโรค คือ การยับยั้งความเสียหายหรือความเจ็บปวด จากโรคนั้นๆ โดยใช้วิธีการต่างๆ ไม่ว่า จะกินยา หรือการทำหัตถการ
แต่กระบวนการรักษา ก็มีสิ่งที่เราเรียกว่า“ความเสี่ยง”ดังนั้นการเลือก วิธีรักษาต้อง นึกถึง “ผลดี-ผลเสีย” ที่จะตามมาของผู้ป่วย สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ “มาตรฐาน”
ซึ่งปัจจุบันก็มี “แพทยสภา”และ “สภาการการแพทย์แผนไทย” ที่ติดตามดูแล ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เป็นสมาชิกว่า ปฏิบัติตามมาตรฐาน อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องถูกลงโทษ จึงอยากย้ำให้ ประชาชนหมั่นใจ ว่า มีการดูแลเรื่องนี้กันอย่างเข้มข้น
{นพ.วิชาญ เกิดวิชัย}
“แม้ว่าเราจะ กลั่นกรอง ผู้ประกอบวิชาชีพ มาหลายขั้นตอน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันนแต่ละบุลคล บางครั้งนอกจากขาดความชำนานแล้ว ก็มีเรื่องของความประมาท ซึ่งเราจะมีการดูแลและกำกับแก้ไข้ ก็ขอให้มั่นใจว่า ในภาพใหญ่เราดูแลมาตรฐานเป็นอย่างดี”
ศาสตราจารย์คลินิกแพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล หัวหน้าหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต แสดงความคิดเห็นว่า วิธีการรักษาโรค ปัจจุบันมีหลากหลายวิธี แต่ปัญหาคือ ผู้ใช้เข้าใจมากน้อยแค่ไหน
{นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล}
“ข้อคิดจากอุบัติเหตุครั้งนี้ สิ่งต้องปรับอย่างหนึ่งคือว่า เราไม่ได้เรียนรู้แค่วิธีการ แต่จะต้องเรียนรู้ว่า วิธีการนั้นๆ เหมาะจะใช้กับใคร เมื่อไหร่ อย่างไร”
ด้าน อ.สันติสุข โสภณศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยมูนิธิสุขภาพไทยและเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ก็ย้ำเช่นกันว่า “ความเข้าใจ ในวิธีการรักษา” เป็นเรื่องสำคัญ
จึงมีการเสนอว่า นอกจากใบประกอบวิชาชีพแล้ว อาจจะต้องมีการบอกให้ชัดว่า การรักษาด้วย หัตถการนั้นๆ ต้องระบุว่า แพทย์คนนั้นต้องฝึกฝนเป็นเวลาเท่าไหร่ ฝึกจากที่ไหน ตรงนี้จะช่วยสร้างมาตรฐาน
{อ.สันติสุข โสภณศิริ}
“ความรับผิดชอบ อยู่ที่สถาบันครูอาจารย์ ที่ต้องรับลอง ฉะนั้นคนที่ทำมาโดยที่ ไม่เรียน ไม่มีความเชียวชาญ ถือว่าเป็นความผิดเฉพาะตัว แต่ถ้ามาจากสถาบัน แล้วเกิดความผิดพลาด ก็ต้องว่าไปเป็นขั้นตอน”
ส่วน อ.ปานเทพ พูดคุยกับทีมข่าวว่า จริงๆ ผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เขาสามารถใช้วิธีการรักษาตามที่สภาการณ์แพทย์แผนไทยประกาศไว้ได้ทั้งหมด
แต่หลังเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เราควรต้องถามแพทย์ว่า เขาเรียนมาจากที่ไหน ได้เรียนวิธีการนั้นมาหรือเปล่า และมองว่า “หัตถการ”ไหนที่มีความเสี่ยงควรออกเป็น “ใบประกาศนียบัตร” ให้กับคนที่เรียน กรรมวิธีนั้นๆ
ตรงนี้ก็จะสร้างมาตรฐานในหัตถการแพทย์แผนไทย สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และอยากให้สภาการแพทย์แผนไทยหรือมหาวิทยาลัย นำหัตถการต่างๆ ที่ไม่เคยมีการเรียนการสอน กลับมาเปิดให้เรียนอีกครั้ง ทั้งหมดนี้ก็เป็น ทางเลือกที่เป็นไปได้
สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **