คอลัมน์ Health Insight โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช
ผมเคยทำงานเป็น “ล่ามแปลทันที” เมื่อครั้งไปกรุงไคโรกับคุณดำรง พุฒตาล และทำงานแปลสารคดีดิสคัฟเวอรี่เป็นงานอดิเรกอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งเวลาก้มลงอ่านข้อมูลนานๆ ในหน้ากระดาษนี้ก็ไม่ต่างกับเวลาเราก้มลงอ่านเฟซหรือเล่นไลน์ยุคนี้เลยแม้แต่น้อย
ต้องก้มนานจนก้านคอแข็งเป๊ก
พอมาอยู่ในยุคก้มกดเลยไม่ขัดเขินนัก (แฮ่)
ก็ดีใจที่ปรับตัวได้ดีด้วยยุคนี้มีข่าวฉับไวอยู่ในมือถือแล้วมีผู้หยิบยกมาสัมภาษณ์อยู่เนืองๆ เลยต้องเช็คข่าวเตรียมเรื่องจากมือถือไว้ด้วยด้วยอย่างน้อยก่อนตอบต้องมีข้อมูลครบและรู้ “แหล่งข่าว” จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามือถือเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ช่วยเราได้มาก
แต่หากท่านต้องอยู่กับมันวันละนานๆ ต้องมีวิธีดูแลสุขภาพตัวเองครับ
เพราะข้อเสียของการก้มกด, ก้มอ่านหน้าจอหรือก้มเล่นเกมนานๆ จนเพลินลืมตัวนั้นอาจส่งผลกระทบสุขภาพที่เคยเล่าไว้แล้วในเรื่อง “โรคก้มกด(Text neck)” ซึ่งก็จะขอสรุปให้ฟังอีกครั้งง่ายๆ คือ
- กระทบกระดูกต้นคอ มีน้ำหนักที่กดลงบนมันมากทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อต้นคอทำงานขึ้นอย่างทวีคูณ
- ปวดล้าตา เกิดภาวะ “ตาล้าจากหน้าจอ(Computer vision syndrome)” ที่อาจมีสัญญาณคือปวดหัว, ตาพร่า, แสบตา, ตาแห้งแดง,โฟกัสภาพไม่ได้ ฯลฯ รวมความแล้วทำให้ศักยภาพทำงานลดลง
- ปวดนิ้ว เกิดอาการเอ็นข้อนิ้วอักเสบ, นิ้วล็อค หรืออาการพังผืดรัดเส้นประสาทมือ จนเกิดอาการชามีปัญหาตามมาได้
- รบกวนนอน ทำให้การนอนไม่ปกติไปหรือนอนไม่หลับสนิทจาก “แสงหน้าจอ” รบกวนฮอร์โมนเมลาโทนิน
จะเห็นว่าที่เล่ามามีทั้งเรื่องเจ็บๆ ปวดๆ แถมยังชาซ้ำยังทำลายความสุขของชีวิตยามนิทราเสียอีก ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าเราจะอยู่ในยุคสังคมกดดูข่าวสารให้สบายตัวและสบายใจนั้น ควรต้องมีหลักอายุรวัฒน์ที่เป็นเรื่องการดูแลสุขภาพใกล้ตัวไว้สักหน่อย
เหมาะกับทุกท่านทั้งที่กดน้อยและกดบ่อยครับ
1) บิดขี้เกียจ เป็นท่า “ยืด-เหยียด” ที่อยากฝากไว้อย่างแรกเพราะทำง่ายและจำง่ายดีครับ มาจากหลักการยืดเหยียดคอ, แขน และขา แต่ว่าถ้ายกทฤษฏีมาทุกตัวอักษรจะดูยาก
เลยขอฝากเป็นท่าให้เห็นภาพชัดว่าเวลาท่านละสายตาจากหน้าจอและการก้มกดแล้วขอให้บิดขี้เกียจแบบ “ยืดแขนขึ้นฟ้า” ประสานมือกัน ส่วนขาทั้ง 2 ก็เหยียดไปสบายๆ ใต้โต๊ะให้ยืดเหยียดไปจนถึงปลายเท้า แล้วคอก็บิดซ้ายและขวาเบาๆ สลับกับเอาหูไปแนบกับไหล่บ้างซ้ายที-ขวาที ทำเป็นระยะสำหรับคนที่นั่งติดโต๊ะด้วยนะครับ
2) จัดมินิ-เบรก คือการ “พักเล็กๆ” ที่จะช่วยคนอยู่หน้าจอนานหรือทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันได้ เพราะโรคปวดคอจากมือถือนี้มาจากการใช้คอมากไป(Overuse syndrome)
ขอให้จัดเวลาพักเป็นช่วงสั้นแค่ 1-2 นาทีทุกชั่วโมง แล้วใช้เทคนิคออกกำลังที่เรียกว่า “บรุกเกอร์ เอ็กเซอร์ไซส์(Bruegger’s exercise)” ที่เริ่มจากเขยิบตัวมานั่งปลายเก้าอี้ ขาทั้งสองข้างวางบนพื้นปลายเท้าเฉียง 45 องศาสบายๆ ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างห้อยลงตามธรรมชาติหันฝ่ามือออก นั่งตัวตรงในท่ากลางๆ(neutral position) โดยไม่แอ่นหรือก้มมากไปแล้วจากนั้นค่อยๆ แหงนคอไปข้างหลังจนอยู่เหนือบ่าก่อนจะสูดหายใจเข้าออกยาวๆ 5-10 ครั้ง---แค่นี้เองครับ แล้วก็เลือกทำซ้ำได้ตามสะดวก
3) เช็คขนาดตัวอักษร เลือกโปรแกรมขยายไซส์ตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นมองเห็นได้ง่ายเพื่อเลี่ยงการ “ก้มมาก” โดยไม่จำเป็นครับ เพราะยิ่งก้มกดต่ำลงไปมากก็เท่ากับหาน้ำหนักแบกลงบนคอของเรามากขึ้นเป็นทวีคูณจนพอๆ กับแบกถุงข้าวสารหรือเด็กเจ็ดขวบไว้โดยไม่รู้ตัว
เพราะดังที่เล่าไปว่าปัญหาปวดคอจากการใช้มือถือมาจากการใช้คอซ้ำๆ จนช้ำหรือการก้มเป็นเวลานาน ดังนั้นการได้ให้เวลาเขา “พัก” บ้างจึงเป็นสิ่งช่วยได้ อีกประการคือหาที่ตั้งมาช่วยวางหน้าจอไว้แทนจะได้ไม่ต้องก้มบ่อยครับ
4) ไม่ใช้แต่สื่อกด ถ้ามีแอ๊พพลิเคชั่นที่พูดออกมาแล้วเป็นตัวหนังสือได้จะช่วยได้มากหรือการใช้โปรแกรมช่วยแก้เสริมคำก็ทำให้เราไม่ต้องกดมือถือยาวจนเกินไป ขอให้สื่อสารกันแบบเดินไปเจอหน้าบ้างอย่างออฟฟิศเดียวกัน อาจเดินไปพบกันเป็นการออกกำลังกายไปด้วย
จะยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาคุยให้เป็นกิจลักษณะไปก็ยังได้ครับ ส่วนท่านที่ชอบอ่านบทความบนหน้าจอก็ลองลุกไปนั่งอ่านสบายๆ กับจอแบบตั้งโต๊ะบ้างก็ได้ครับ
5) ขยับมือเป็นระยะ การเกร็งข้อนิ้วและข้อมืออยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลาานานต้องระวัง “นิ้วโป้งสมาร์ทโฟน (Smartphone thumb)” และอาการอื่นๆ ทางกระดูก, ข้อ, เส้นเอ็น และเส้นประสาทครับ เพราะมือของคนเรามีโครงสร้างเล็กละเอียดอ่อนอยู่มาก หากใช้ผิดวิธีจึงมีสิทธิ์เกิด “ชำรุด” ขึ้นมาได้
ดังนั้นในท่านที่ใช้ข้อมือมากจากทั้งกดจอ,ใช้เม้าส์หรืองานบ้านอื่นๆ แล้วห่วงการเกิด “พังผืดรัดข้อมืด(Carpal tunnel syndrome)” ก็มีท่าขยับง่ายๆ ด้วยการประสานมือยืดเหยียดไปข้างหน้าและหาเวลาพักข้อมือบ้าง
6) ละสายตาจากจอ เผื่อท่านที่ทำงานหน้าจอนานๆ ทั้งมือถือและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะด้วย การสร้างสุขภาพข้อแรกง่ายๆ คือ “ท่านั่ง” ครับ ขอให้จัดศีรษะกับลำตัวให้นั่งในท่าเหมาะสม (neutral)ไม่เอนหลังหรือก้มหน้าชิดจอมากเกินไป ให้ระดับสายตาอยู่กับหน้าจออย่างเหมาะสมเพื่อกันไม่ให้ล้าตา แล้วคอยหาจังหวะละสายตาออกไปมองไกลบ้าง
7) โยคะคอและหน้า การออกกำลังต้นคอและบ่าต้องรอบคอบถี่ถ้วนเป็นอย่างดี เพราะเป็นจุดที่เปราะบางพอสมควร ขอให้เลี่ยงการสะบัดคอแรงๆ หรือกดนวดตรงกระดูกคอในขณะที่มีอาการปวดและชาไปที่แขนเพราะอาจยิ่งไปกดเส้นประสาทต้นคอให้แย่ลง อาจออกกำลังแบบผ่อนคลายด้วยโยคะท่าสบายและช่วยให้กล้ามเนื้อที่ออกแรงก้มบ่อยๆ ไม่หดเกร็งอักเสบครับ
8) หาเวลาก่อนนอน เมื่อขยับช่วยสุขภาพคนเล่นมือถือไปแล้วทาง “พัก” ที่ดีที่สุดคือการนอนแบบ “ไร้แสงรบกวน” จึงอยากชวนท่านที่รักให้จัดเวลา “ปลอดมือถือและหน้าจอก่อนนอน” กันครับ
ขออย่างน้อยสัก 1 ชั่วโมงก่อนนิทราให้ท่านหยุดดวงตาไม่ให้สัมผัสกับแสงจากหน้าจอเพื่อไม่ให้มีผลถึงต่อมสร้างเมลาโทนินในสมองและในเวลานอนขอให้ปิดไฟจากทุกแหล่งมืดสนิทแล้วจะช่วยชีวิตคนใกล้จอได้ครับ
9) สอนเด็กแบ่งเวลา เป็นธรรมดาของศาสตร์อายุรวัฒน์ที่ครอบคลุมกับทุกวัย ในเด็กที่ “ติดเกม” หรือคุณพ่อคุณแม่ให้เล่นหน้าจอจนชินแล้ว ต้องค่อยๆปรับนิสัยมาให้ไม่อยู่กับมือถือและหน้าจอแทบเล็ตนานเกินไปครับ โดยคุณพ่อคุณแม่และคุณครูเป็นแกนหลักที่จะช่วยลูกน้อยได้ ขอให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อนที่ทำให้เห็นว่าเวลาหลักของชีวิตไม่ได้อยู่กับมือถือแต่คือการได้อยู่กับคนเป็นๆที่อยู่ตรงหน้าครับ
ท่านที่มีอาการปวดตึงต้นคอ, ท้ายทอย, บ่า,ไหล่ไปถึงแผ่นหลังบ่อยๆ ขอให้อย่าปล่อยตัวต้อง “ทน” เสมอไปครับ เพราะที่จริงท่านอาจไม่ต้อง “รับสภาพ” ที่ว่าโดยไม่จำเป็น ขอแค่เพียงปรับท่า “เวลาอยู่หน้าจอ” ทั้งมือถือและจอตั้งโต๊ะสำหรับคนทำงานออฟฟิศ ขอให้เว้นวรรคชีวิตเงยหน้าขึ้นมาดูท้องฟ้าสวยๆ เบื้องหน้าบ้างเวลาไปทำงานหรือเหลือบดูฟ้าสีแสดของอาทิตย์อัสดงยามเลิกงานแล้วก็จะทำให้ท่านได้ตระหนักว่าทั้ง “คอ” และ “มือ” ที่ชิดจออยู่นั้นมันจดจ่อมานานแค่ไหนแล้ว
ใช้ “โลกภายนอก” บำบัดโรคภายในบ้างได้นะครับ
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754
ผมเคยทำงานเป็น “ล่ามแปลทันที” เมื่อครั้งไปกรุงไคโรกับคุณดำรง พุฒตาล และทำงานแปลสารคดีดิสคัฟเวอรี่เป็นงานอดิเรกอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งเวลาก้มลงอ่านข้อมูลนานๆ ในหน้ากระดาษนี้ก็ไม่ต่างกับเวลาเราก้มลงอ่านเฟซหรือเล่นไลน์ยุคนี้เลยแม้แต่น้อย
ต้องก้มนานจนก้านคอแข็งเป๊ก
พอมาอยู่ในยุคก้มกดเลยไม่ขัดเขินนัก (แฮ่)
ก็ดีใจที่ปรับตัวได้ดีด้วยยุคนี้มีข่าวฉับไวอยู่ในมือถือแล้วมีผู้หยิบยกมาสัมภาษณ์อยู่เนืองๆ เลยต้องเช็คข่าวเตรียมเรื่องจากมือถือไว้ด้วยด้วยอย่างน้อยก่อนตอบต้องมีข้อมูลครบและรู้ “แหล่งข่าว” จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามือถือเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ช่วยเราได้มาก
แต่หากท่านต้องอยู่กับมันวันละนานๆ ต้องมีวิธีดูแลสุขภาพตัวเองครับ
เพราะข้อเสียของการก้มกด, ก้มอ่านหน้าจอหรือก้มเล่นเกมนานๆ จนเพลินลืมตัวนั้นอาจส่งผลกระทบสุขภาพที่เคยเล่าไว้แล้วในเรื่อง “โรคก้มกด(Text neck)” ซึ่งก็จะขอสรุปให้ฟังอีกครั้งง่ายๆ คือ
- กระทบกระดูกต้นคอ มีน้ำหนักที่กดลงบนมันมากทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อต้นคอทำงานขึ้นอย่างทวีคูณ
- ปวดล้าตา เกิดภาวะ “ตาล้าจากหน้าจอ(Computer vision syndrome)” ที่อาจมีสัญญาณคือปวดหัว, ตาพร่า, แสบตา, ตาแห้งแดง,โฟกัสภาพไม่ได้ ฯลฯ รวมความแล้วทำให้ศักยภาพทำงานลดลง
- ปวดนิ้ว เกิดอาการเอ็นข้อนิ้วอักเสบ, นิ้วล็อค หรืออาการพังผืดรัดเส้นประสาทมือ จนเกิดอาการชามีปัญหาตามมาได้
- รบกวนนอน ทำให้การนอนไม่ปกติไปหรือนอนไม่หลับสนิทจาก “แสงหน้าจอ” รบกวนฮอร์โมนเมลาโทนิน
จะเห็นว่าที่เล่ามามีทั้งเรื่องเจ็บๆ ปวดๆ แถมยังชาซ้ำยังทำลายความสุขของชีวิตยามนิทราเสียอีก ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าเราจะอยู่ในยุคสังคมกดดูข่าวสารให้สบายตัวและสบายใจนั้น ควรต้องมีหลักอายุรวัฒน์ที่เป็นเรื่องการดูแลสุขภาพใกล้ตัวไว้สักหน่อย
เหมาะกับทุกท่านทั้งที่กดน้อยและกดบ่อยครับ
1) บิดขี้เกียจ เป็นท่า “ยืด-เหยียด” ที่อยากฝากไว้อย่างแรกเพราะทำง่ายและจำง่ายดีครับ มาจากหลักการยืดเหยียดคอ, แขน และขา แต่ว่าถ้ายกทฤษฏีมาทุกตัวอักษรจะดูยาก
เลยขอฝากเป็นท่าให้เห็นภาพชัดว่าเวลาท่านละสายตาจากหน้าจอและการก้มกดแล้วขอให้บิดขี้เกียจแบบ “ยืดแขนขึ้นฟ้า” ประสานมือกัน ส่วนขาทั้ง 2 ก็เหยียดไปสบายๆ ใต้โต๊ะให้ยืดเหยียดไปจนถึงปลายเท้า แล้วคอก็บิดซ้ายและขวาเบาๆ สลับกับเอาหูไปแนบกับไหล่บ้างซ้ายที-ขวาที ทำเป็นระยะสำหรับคนที่นั่งติดโต๊ะด้วยนะครับ
2) จัดมินิ-เบรก คือการ “พักเล็กๆ” ที่จะช่วยคนอยู่หน้าจอนานหรือทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันได้ เพราะโรคปวดคอจากมือถือนี้มาจากการใช้คอมากไป(Overuse syndrome)
ขอให้จัดเวลาพักเป็นช่วงสั้นแค่ 1-2 นาทีทุกชั่วโมง แล้วใช้เทคนิคออกกำลังที่เรียกว่า “บรุกเกอร์ เอ็กเซอร์ไซส์(Bruegger’s exercise)” ที่เริ่มจากเขยิบตัวมานั่งปลายเก้าอี้ ขาทั้งสองข้างวางบนพื้นปลายเท้าเฉียง 45 องศาสบายๆ ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างห้อยลงตามธรรมชาติหันฝ่ามือออก นั่งตัวตรงในท่ากลางๆ(neutral position) โดยไม่แอ่นหรือก้มมากไปแล้วจากนั้นค่อยๆ แหงนคอไปข้างหลังจนอยู่เหนือบ่าก่อนจะสูดหายใจเข้าออกยาวๆ 5-10 ครั้ง---แค่นี้เองครับ แล้วก็เลือกทำซ้ำได้ตามสะดวก
3) เช็คขนาดตัวอักษร เลือกโปรแกรมขยายไซส์ตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นมองเห็นได้ง่ายเพื่อเลี่ยงการ “ก้มมาก” โดยไม่จำเป็นครับ เพราะยิ่งก้มกดต่ำลงไปมากก็เท่ากับหาน้ำหนักแบกลงบนคอของเรามากขึ้นเป็นทวีคูณจนพอๆ กับแบกถุงข้าวสารหรือเด็กเจ็ดขวบไว้โดยไม่รู้ตัว
เพราะดังที่เล่าไปว่าปัญหาปวดคอจากการใช้มือถือมาจากการใช้คอซ้ำๆ จนช้ำหรือการก้มเป็นเวลานาน ดังนั้นการได้ให้เวลาเขา “พัก” บ้างจึงเป็นสิ่งช่วยได้ อีกประการคือหาที่ตั้งมาช่วยวางหน้าจอไว้แทนจะได้ไม่ต้องก้มบ่อยครับ
4) ไม่ใช้แต่สื่อกด ถ้ามีแอ๊พพลิเคชั่นที่พูดออกมาแล้วเป็นตัวหนังสือได้จะช่วยได้มากหรือการใช้โปรแกรมช่วยแก้เสริมคำก็ทำให้เราไม่ต้องกดมือถือยาวจนเกินไป ขอให้สื่อสารกันแบบเดินไปเจอหน้าบ้างอย่างออฟฟิศเดียวกัน อาจเดินไปพบกันเป็นการออกกำลังกายไปด้วย
จะยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาคุยให้เป็นกิจลักษณะไปก็ยังได้ครับ ส่วนท่านที่ชอบอ่านบทความบนหน้าจอก็ลองลุกไปนั่งอ่านสบายๆ กับจอแบบตั้งโต๊ะบ้างก็ได้ครับ
5) ขยับมือเป็นระยะ การเกร็งข้อนิ้วและข้อมืออยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลาานานต้องระวัง “นิ้วโป้งสมาร์ทโฟน (Smartphone thumb)” และอาการอื่นๆ ทางกระดูก, ข้อ, เส้นเอ็น และเส้นประสาทครับ เพราะมือของคนเรามีโครงสร้างเล็กละเอียดอ่อนอยู่มาก หากใช้ผิดวิธีจึงมีสิทธิ์เกิด “ชำรุด” ขึ้นมาได้
ดังนั้นในท่านที่ใช้ข้อมือมากจากทั้งกดจอ,ใช้เม้าส์หรืองานบ้านอื่นๆ แล้วห่วงการเกิด “พังผืดรัดข้อมืด(Carpal tunnel syndrome)” ก็มีท่าขยับง่ายๆ ด้วยการประสานมือยืดเหยียดไปข้างหน้าและหาเวลาพักข้อมือบ้าง
6) ละสายตาจากจอ เผื่อท่านที่ทำงานหน้าจอนานๆ ทั้งมือถือและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะด้วย การสร้างสุขภาพข้อแรกง่ายๆ คือ “ท่านั่ง” ครับ ขอให้จัดศีรษะกับลำตัวให้นั่งในท่าเหมาะสม (neutral)ไม่เอนหลังหรือก้มหน้าชิดจอมากเกินไป ให้ระดับสายตาอยู่กับหน้าจออย่างเหมาะสมเพื่อกันไม่ให้ล้าตา แล้วคอยหาจังหวะละสายตาออกไปมองไกลบ้าง
7) โยคะคอและหน้า การออกกำลังต้นคอและบ่าต้องรอบคอบถี่ถ้วนเป็นอย่างดี เพราะเป็นจุดที่เปราะบางพอสมควร ขอให้เลี่ยงการสะบัดคอแรงๆ หรือกดนวดตรงกระดูกคอในขณะที่มีอาการปวดและชาไปที่แขนเพราะอาจยิ่งไปกดเส้นประสาทต้นคอให้แย่ลง อาจออกกำลังแบบผ่อนคลายด้วยโยคะท่าสบายและช่วยให้กล้ามเนื้อที่ออกแรงก้มบ่อยๆ ไม่หดเกร็งอักเสบครับ
8) หาเวลาก่อนนอน เมื่อขยับช่วยสุขภาพคนเล่นมือถือไปแล้วทาง “พัก” ที่ดีที่สุดคือการนอนแบบ “ไร้แสงรบกวน” จึงอยากชวนท่านที่รักให้จัดเวลา “ปลอดมือถือและหน้าจอก่อนนอน” กันครับ
ขออย่างน้อยสัก 1 ชั่วโมงก่อนนิทราให้ท่านหยุดดวงตาไม่ให้สัมผัสกับแสงจากหน้าจอเพื่อไม่ให้มีผลถึงต่อมสร้างเมลาโทนินในสมองและในเวลานอนขอให้ปิดไฟจากทุกแหล่งมืดสนิทแล้วจะช่วยชีวิตคนใกล้จอได้ครับ
9) สอนเด็กแบ่งเวลา เป็นธรรมดาของศาสตร์อายุรวัฒน์ที่ครอบคลุมกับทุกวัย ในเด็กที่ “ติดเกม” หรือคุณพ่อคุณแม่ให้เล่นหน้าจอจนชินแล้ว ต้องค่อยๆปรับนิสัยมาให้ไม่อยู่กับมือถือและหน้าจอแทบเล็ตนานเกินไปครับ โดยคุณพ่อคุณแม่และคุณครูเป็นแกนหลักที่จะช่วยลูกน้อยได้ ขอให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อนที่ทำให้เห็นว่าเวลาหลักของชีวิตไม่ได้อยู่กับมือถือแต่คือการได้อยู่กับคนเป็นๆที่อยู่ตรงหน้าครับ
ท่านที่มีอาการปวดตึงต้นคอ, ท้ายทอย, บ่า,ไหล่ไปถึงแผ่นหลังบ่อยๆ ขอให้อย่าปล่อยตัวต้อง “ทน” เสมอไปครับ เพราะที่จริงท่านอาจไม่ต้อง “รับสภาพ” ที่ว่าโดยไม่จำเป็น ขอแค่เพียงปรับท่า “เวลาอยู่หน้าจอ” ทั้งมือถือและจอตั้งโต๊ะสำหรับคนทำงานออฟฟิศ ขอให้เว้นวรรคชีวิตเงยหน้าขึ้นมาดูท้องฟ้าสวยๆ เบื้องหน้าบ้างเวลาไปทำงานหรือเหลือบดูฟ้าสีแสดของอาทิตย์อัสดงยามเลิกงานแล้วก็จะทำให้ท่านได้ตระหนักว่าทั้ง “คอ” และ “มือ” ที่ชิดจออยู่นั้นมันจดจ่อมานานแค่ไหนแล้ว
ใช้ “โลกภายนอก” บำบัดโรคภายในบ้างได้นะครับ
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754