เกียวโดนิวส์รายงาน (31 ก.ค.) เกือบร้อยละ 30 ของโรงพยาบาลในญี่ปุ่น รวมถึงโรงพยาบาลที่กำหนดเป็นพิเศษสำหรับเหตุฉุกเฉิน ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจากแม่น้ำ
ผลสำรวจของรัฐบาลเผยเมื่อวันอาทิตย์ โดยคณะวิจัยของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการพบความเสี่ยงในสถานพยาบาล 221 แห่งจากโรงพยาบาลพิเศษภัยพิบัติ 765 แห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2565 ซึ่งโรงพยาบาลเหล่านี้พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยตลอดเวลาในภัยธรรมชาติและนอกจากนี้ยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ
คณะผู้พิจารณายังพบว่าในบรรดาโรงพยาบาลอื่นๆ 7,406 แห่งที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลฐานภัยพิบัติ มี 2,044 แห่งตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
กระทรวงกล่าวว่า โรงพยาบาลฐานภัยพิบัติทุกแห่งได้จัดทำคู่มือที่มีรายละเอียดมาตรการในการปฏิบัติงานในกรณีเกิดภัยพิบัติแล้ว
แต่ฮิโรยูกิ ซาซากิ รองศาสตราจารย์แห่งสถาบันวิจัยวิทยาการภัยพิบัติระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยโทโฮคุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจนี้ กล่าวว่า การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของโรงพยาบาลในญี่ปุ่นนั้นมุ่งเน้นไปที่มาตรการบรรเทาแผ่นดินไหวแทน
“ขั้นตอนต่างๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา” ซาซากิ กล่าว