xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อทำสัญญาเรนปันโจกันว่าจะไม่แต่งงาน แต่ดันแต่งงาน จะเกิดอะไรขึ้น!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว ว่ากันเรื่องด้วยเรื่องเพื่อน บางคนมีเพื่อนเยอะ บางคนมีเพื่อนน้อยก็ไม่เป็นไร เพราะคนเราสะดวกไม่เหมือนกัน แต่การต้องลาจากเพื่อนบางทีก็เกิดความโศกเศร้าอยู่เหมือนกันนะครับ

ผมเคยนั่งดื่มกับเพื่อนคนไทย สักพักคนในวงก็จะเริ่มมึนๆ และผมจะถูกยิงคำถามที่โดนถามอยู่บ่อยๆ คือ "ยากูซ่าเป็นอย่างไร? " → ผมก็จะตอบแค่ว่า “ถ้าเราใช้ชีวิตตามปกติ เราจะไม่มีโอกาสเข้าไปพัวพันกับเรื่องเหล่ายากูซ่าเลย" คือเราจะแทบจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครเป็นยากูซ่า และไม่มีโอกาสยุ่งเกี่ยวกันเลย


แล้วผมจะถูกถามว่า

"คุณ ไม่มีเพื่อนเลยเหรอ..? (´・ω・)" → ผมก็ยิ้มรับ แล้วตอบว่า "ไม่ถึงขนาดนั้นครับ! ผมมีเพื่อน ก็คือ ผม ผม และตัวผมเอง! ( ✧Д✧)”

อย่างไรก็ตาม บางครั้งผมก็รู้สึกว่าน่าอายที่มีเพื่อนไม่มากนัก คนญี่ปุ่นหลายคนก็น่าจะรู้สึกเช่นเดียวกัน ความรู้สึกอายที่มีเพื่อนไม่มากไม่ใช่แค่สำหรับเด็กเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่ก็รู้สึก

คนไทยมีเพื่อนเยอะ และเป็นเพื่อนกันยาวนานมาตั้งแต่สมัยเด็ก ตั้งแต่อายุยังน้อยก็ยังคงเป็นเพื่อนกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ผมยิ้มกับมิตรภาพดีๆ เหล่านี้ แต่ในส่วนของคนญี่ปุ่นจะขึ้นอยู่กับภูมิหลังของแต่ละบุคคลที่มีผลต่อมิตรภาพว่าจะยังคงเป็นเพื่อนกันเหนียวแน่น หรือเปลี่ยนไป

ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ


มีนักเขียนที่ผมชื่นชอบคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า...

ในแง่หนึ่ง มันคือเรื่องปกติที่จะมีคนหมุนเวียนผ่านเข้ามาในช่วงชีวิตเราและเดินจากไป!

การเป็นเพื่อนกันที่เรียกว่ามิตรแท้นั้นต้องเป็นที่พึ่งพาอาศัยกันได้ในทุกเมื่อ ช่วงเวลาที่เราย่ำแย่ ท้อแท้สิ้นหวัง เหมือนวันที่พายุโหมกระหน่ำ หรือวันที่เราสอบตก วันที่ผิดหวังมีเพียงเราคนเดียวในห้องที่ยังหางานไม่ได้ เป็นต้น แม้แต่ในเวลาเช่นนี้ คนที่เป็นเพื่อนกันก็จะไม่หนีหายไป พวกเขาจะรับฟังและช่วยเพื่อน และอาจให้ความช่วยเหลือที่พอจะทำได้ (แต่ว่ากันว่าเพื่อนจะจากไปแน่ๆ ถ้ามายืมเงินกัน ...)


และจะมีอีกเรื่องในสังคมญี่ปุ่นที่ทำให้มิตรภาพเปลี่ยนไป เช่น เมื่อมีการเลื่อนตำแหน่งเพียงคนเดียว หรือคนที่สัญญากันว่ากลุ่มเราจะไม่แต่งงาน แต่ตัดสินใจแต่งงานไป (ทำสัญญาเรนปันโจ)

การทำสัญญาเรนปันโจ หรือศัพท์ที่คนรุ่นหลังเรียกว่า เรนปันโจ 連判状 (renpanjō) คือคำมั่นสัญญาที่สหายสร้างขึ้น คล้ายๆ กับเป็นจดหมายให้คำมั่นของกลุ่ม หรือหนังสือต่อเนื่องก็ว่าได้

ซึ่งจะเป็นบันทึกลายเซ็นที่มีลักษณะเป็นวงกลมที่ทุกคนในกลุ่มมาร่วมลงนาม มีมาตั้งแต่ยุคจลาจลของชาวนา ใช้ตั้งแต่สมัยมูโรมาจิ จนถึงสมัยเอโดะ เมื่อหลายคนรวมตัวกันและสาบานต่อคำสัญญาของพวกเขาที่จะลงนามเป็นวงกลม เซ็นตราประทับเป็นรัศมีรอบๆ วง และเขียนตราประทับลงไป เรียกว่าเป็นคำร้องร่วมเพื่อแสดงอย่างชัดเจนว่าผู้ลงนามจะปกป้องสัญญาที่ให้ไว้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น และทุกคนอยู่ในตำแหน่งที่เท่าเทียมกัน


ครั้งแรกๆ เรนปันโจเป็นซามูไรในยุคกลางที่ใช้รูปแบบลายเซ็นนี้ และหากซามูไรคนใดคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มพันธมิตร หรือความสัมพันธ์ในบันทึกลงนามและคนอื่นๆ ลงนามไปเรื่อยๆ เป็นวงกลม จากสถานการณ์เช่นนี้ทำให้รูปแบบของลายเซ็นออกมาเหมือนจะกลายเป็นวงกลม และไม่รู้ว่าใครคือหัวหน้า ซึ่งถูกใช้ในการจลาจลที่เกิดขึ้นในสมัยเอโดะ

ยุคต้น-โมเดิร์น สิ่งนี้กลายเป็นกลวิธีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการซ่อนหัวหน้าแก๊งในช่วงเวลาที่ชาวนาลุกฮือ (ทำให้ไม่ทราบว่าใครคือคนแรกที่ลงนาม) ในยุคแรกๆ ไม่เพียงแต่เขียนลายเซ็นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตราประทับและปีแห่งการจลาจลด้วย และมีบันทึกว่าสิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นในหมู่เกษตรกรชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นด้วยวิธีการที่เรียกว่า round robin


ในยุคปัจจุบัน วิธีการลงนามดังกล่าวอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีสำเร็จการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษา นักเรียนมัธยมต้น และนักเรียนมัธยมปลาย นอกจากนี้ ยังมีบางกรณีที่ครูประจำชั้นลงนามตรงกลางกระดาษสี นอกจากนี้ แบบฟอร์มนี้อาจใช้เมื่อทีมงานมืออาชีพและองค์กรกีฬาส่วนรวม เช่น เบสบอล ฟุตบอล ลงนามเป็นอนุสรณ์สถานบางประเภทก็ได้

เมื่อมีกลุ่มสหายมาลงนามในสัญญาเรนปันโจ ที่ให้คำมั่นกันว่าจะไม่แต่งงาน แต่มีคนใดคนหนึ่งในกลุ่มผิดคำสัญญา ตัดสินใจแต่งงานในภายหลัง คนนั้นก็จะถูกคนในกลุ่มเดียวกันมองด้วยสายตาผลักไล่ไสส่ง และจะกลายเป็นอื่นไป ความเป็นเพื่อนก็จบลงและเปลี่ยนแปลงไป วันนี้เล่าสู่กันฟังครับ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น