เกียวโดนิวส์รายงาน (19 มี.ค.) การใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง หรือมากกว่านั้นอยู่หน้าอุปกรณ์ดิจิทัลในแต่ละวัน มีผลจำกัดต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กอายุ 2 ขวบมากกว่าที่คิดไว้
การศึกษาล่าสุดโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นได้แสดงข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลในเด็กเล็กวัยเตาะแตะ
อ้างจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซากา และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮามามัตสึ เวลาหน้าจอตลอดวันต่อเด็กเล็กสามารถลดผลกระทบได้ด้วยการให้พวกเขาเล่นข้างนอกนานกว่า 30 นาที
การค้นพบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลเสียจากการใช้สมาร์ทโฟนของเด็ก โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กวัย 2 ขวบอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งรวมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การดูทีวีและเล่นคอมพิวเตอร์ เกมมากกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อวัน
เคนจิ สึจิยะ ศาสตราจารย์ด้านพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยโอซากา ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยกล่าวว่า “ในยุคปัจจุบัน เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอและเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นเราควรหาวิธีในการบรรเทาผลกระทบด้านลบ”
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตที่รวบรวมจากเด็ก 885 คน ที่เกิดระหว่างเดือนธันวาคม 2550 ถึงมีนาคม 2555 และเฝ้าติดตามพวกเขาจนกระทั่งพวกเขามีอายุระหว่าง 18 เดือนถึง 4 ปี เวลาหน้าจอเฉลี่ยสำหรับเด็กเล็กที่เข้าร่วมการวิจัยคือ 2.6 ชั่วโมงต่อวัน
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันเมื่ออายุ 2 ขวบไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าสังคมเมื่ออายุ 4 ขวบ รวมถึงการทักทายและขอโทษ แต่ทักษะการสื่อสารอื่นๆ (ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นและเข้าใจคำพูดของผู้อื่น) และ "ทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน" บางเรื่อง (ความสามารถในการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและช่วยทำงานบ้าน) จะมีต่ำกว่าเด็กที่ใช้เวลากับหน้าจอในแต่ละวันน้อย
แต่เมื่อแบ่งเวลาให้เด็กเล่นนอกบ้านมากกว่า 30 นาทีต่อวันเป็นเวลา 6 วัน (หรือมากกว่าต่อสัปดาห์) เมื่ออายุ 2 ปี 8 เดือน ผลกระทบด้านลบต่อทักษะการใช้ชีวิตประจำวันในวัย 4 ขวบจะลดลงอย่างมาก แม้ว่าผลกระทบต่อทักษะการสื่อสารยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบด้านลบดังกล่าวมีจำกัดและสามารถลดลงได้อีก หากเด็กใช้เวลาหน้าจอร่วมกับผู้ปกครอง การศึกษาระบุ
ทั้งนี้ การศึกษานี้ได้รับการเผยแพร่ในเดือนมกราคมบนเว็บไซต์ของ JAMA Pediatrics ซึ่งเป็นวารสารรายเดือนของ American Medical Association