นวนิยายอิงประวัติศาสตร์
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
-แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
1
“อูย หนาวจัง”
“ใช่ ลมเย็นเฉียบเลยอ่ะ”
“จมูกแทบจะหลุดอยู่แล้วเนี่ย”
“คืนนี้ สงสัยจะได้เห็นอะไรสวย ๆ โปรยปรายจากฟากฟ้า”
“ในฤดูใบไม้ผลิอย่างนี้น่ะรึเพื่อน”
เสียงคนหามกระเช้าตะโกนโต้ตอบกันไปมาฝ่าลมหนาวมาได้แค่มาถึงทุ่งเลี้ยงม้าที่ยานางิ ลมหายใจที่หอบเป็นจังหวะของทั้งสองก็เป็นไอขาวแทบจะหยาดลงมาเป็นเกล็ดน้ำแข็ง โคมไฟสามดวงแกว่งไปมาวูบวาบตามแรงลม ท้องฟ้าเหนือย่านชานเมืองนครหลวงมืดทมึนน่ากลัว เมื่อกลุ่มเมฆที่เห็นก่อตัวอยู่บนยอดเขาฮิเออิเหมือนหมวกฟางใบใหญ่ตอนพลบค่ำเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุม เป็นลางว่าอากาศในค่ำคืนนี้คงจะปรวนแปรเป็นแน่
ทว่าไกลออกไปทางอีกฟากหนึ่งทุ่งเลี้ยงม้าอันกว้างใหญ่ แสงสีจากนครหลวงจับท้องฟ้างดงามราวกับอยู่กันคนละโลก ยิ่งฟ้ามืดไร้ดาวแสงสว่างจากดวงไฟในเมืองก็ยิ่งฉาบฉายฟ้าให้แจ่มจรัส
“ท่านมูซาชิ”
เจ้าหนุ่มนักดาบตื่นจากภวังค์อันเพริดแพร้วราวกับอยู่ท่ามกลางแสงวิบวับของฝูงหิ่งห้อย เมื่อโคเอ็ตสึหันหน้ามาส่งเสียงเรียกจากกระเช้าหามคันหน้า
“นั่นไง ยานางิมาจิที่รคคุโจ ระยะนี้มีคนมาตั้งบ้านเรือนกันหนาแน่นขึ้นมากก็เลยแยกออกไปเป็นหลายตรอกซอย เลยมีอีกชื่อหนึ่งว่ามิซูจิมาจิ”
“อ๋อ อยู่ตรงนั้นเอง”
“เวลามาจากนอกเมือง แล้วมองเข้าไปในเมืองจากทุ่งกว้างอย่างทุ่งเลี้ยงม้าอย่างนี้ จะเห็นแสงสีตระการตาน่าสนุกมากเลย ท่านว่าไหม”
“งามเกินคาด”
“สำนักนางโลมแต่ก่อนเคยอยู่ที่นิโจ ใกล้กับเขตพระราชฐาน พอกลางดึกเสียงเพลงพื้นบ้านและดนตรีดังแว่วเข้ามาที่ราชอุทยานเป็นที่ระคายหู ขุนนางชื่ออิตากูระ คัตสึชิเงะจึงได้จัดการย้ายมาที่นี่เมื่อสามปีแล้ว แถวนี้จึงกลายเป็นย่านเริงรมณ์ที่คึกคักครึกครื้น และขยายอาณาเขตกว้างขวางออกไปเรื่อย ๆ ”
“ก่อนหน้านั้น ย่านนี้เคยเป็นอะไรรึ”
“ก่อนที่สำนักนางโลมที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายจะย้ายเข้ามา แถวนี้เป็นทุ่งรกร้างเปล่าเปลี่ยวเต็มไปด้วยซากหักพังที่หลงเหลือจากไฟสงคราม แต่ตอนนี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมของความทันสมัย ท่ามกลางแสงไฟสว่างไสว จะเรียกว่าเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมยุคใหม่ก็คงได้”
โคเอ็ตสึหยุดพูดและทำท่าเงี่ยหูฟัง
“แว่วเสียงเพลงจากสำนักนางโลมแล้วใช่ไหม
“จริงด้วย”
“ที่ได้ยินคือเสียงจากเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากซอสามสายหรือชามิเซ็ง ซึ่งเป็นของใหม่ที่มีคนนำมาจากอาณาจักร ริวกิวไกลโพ้นลงไปทางใต้ จากนั้นพวกศิลปินก็ได้แต่งทำนองและเนื้อเพลงร่วมสมัยสำหรับชามิเซ็งขึ้นมามากมาย หลายเพลงเป็นที่นิยมร้องเล่นกันอย่างแพร่หลายภายในละแวกนั้น จะเรียกได้ว่าที่นั่นคือมารดาผู้ให้กำเนิดเพลงชามิเซ็งก็คงได้
ต่อมาเพลงชามิเซ็งในย่านสำนักนางโลมก็ได้แพร่ออกมาในชุมชนชาวเมือง จึงเห็นได้ว่าสำนักนางโลมมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งกับชาวกรุงในแง่ของวัฒนธรรมการบันเทิง และมีความสำคัญควรแก่การบำรุง รักษาให้ย่านนี้คงอยู่ต่อไปในลักษณะที่เป็นอยู่ แม้ว่าจะได้ชื่อว่าเป็นสำนักนางโลมและอยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง”
การสนทนาระหว่างโคเอ็ตสึกับมูซาชิชะงักไปเมื่อคนหามกระเช้าหักเลี้ยวเป็นข้อศอกเข้าไปในทางข้าง ๆ นั้น แสงสว่างจ้าจากโคมไฟที่แขวนอยู่กับต้นหลิวสองฟากทางทำเอามูซาชิ เจ้าหนุ่มนักดาบพเนจรต้องยกมือขึ้นบังดวงตาคมวาวคู่นั้นไว้โดยไม่รู้ตัว
ที่นี่คือสำนักนางโลมที่ได้ชื่อว่ายานางิมาจิ เมืองแห่งต้นหลิวเมื่อครั้งอยู่ที่นิโจ และไม่มีใครบอกได้ว่าต้นหลิวกับสำนักนางโลมเป็นของคู่กันมาตั้งแต่เมื่อไร
2
โคเอ็ตสึกับไฮยะ โชยู ลงจากกระเช้าหามที่หน้าประตูบ้านหลังหนึ่งด้วยท่วงท่าที่คุ้นเคยกันดี
“ท่านฟูนาบาชิ”
“ท่านมิซูโอจิก็มา”
สาว ๆ ที่สำนักขแงฮายาชิยะ โยจิเบออกมาต้อนรับกันเซ็งแซ่ เรียกแขกผู้มาเยือนด้วยนามแฝงที่รู้กันเฉพาะในบ้านนี้ ท่านฟูนาบาชิ คือไฮยะ โชยูที่บ้านอยู่ตรงสะพานฟูนาบาชิที่ทอดข้ามแม่น้ำโฮริกาวะ ส่วนท่านมิซูโอจิก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากโคเอ็ตสึที่อาศัยอยู่ช่วงที่ลำน้ำไหลผ่านลงมา มูซาชิคนเดียวเท่านั้นที่เป็นแขกหน้าใหม่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งสาว ๆ จึงตั้งชื่อเรียกเล่นให้ไม่ได้
ชื่อจริงของเจ้าของกิจการคือฮายาชิยะ โยจิเบ แต่คนส่วนใหญ่เรียกเขาว่าโองิยะตามชื่อร้าน
เมื่อพูดถึงโองิยะแล้วใคร ๆ จะต้องนึกถึงโยชิโนะ ดายูเจ้าของกิจการรุ่นที่หนึ่งผู้มีชื่อเสียง และมูโรกิมิ ดายูเจ้าของกิจการคิเคียวยะที่เป็นคู่แข่งกัน
บ้านนางโลมที่ติดอันดับหนึ่งในละแวกนี้มีเพียงสองบ้านนี้เท่านั้น และที่โคเอ็ตสึ โชยู และมูซาชิเข้าไปรับบริการก็คือโองิยะซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
การตกแต่งช่างตระการตาราวกับปราสาทราชวัง
มูซาชิตื่นตาตื่นใจกับเครื่องประดับประดาที่งดงามอลังการภายในห้องเหลือจะกล่าว แม้จะพยายามบังคับสายตาเต็มที่ไม่ให้ส่ายไปมาวอกแวก แต่ก็รู้สึกว่ายามลุกเดินไปไหน ภาพสวนอันงดงามและราวสะพานข้ามสระน้ำ และฝีมือแกะสลักไม้เหนือบานประตูเลื่อนในห้องช่างตามมาเย้ายวนชวนมองยิ่งนัก
“อ้าว หายไปไหนกันหมดล่ะนี่”
มูซาชิหลงกับโคเอ็ตสึและไฮยะ โชยูยืนเคว้งอยู่กลางระเบียงทางเดิน หลังจากเผลอหยุดชมภาพบนบานประตูไม้ซูงิ
“เราอยู่ทางนี้”
โคเอ็ตสึเดินกลับมาเรียก
ประตูเลื่อนสีเงินบานใหญ่สะท้อนแสงตะเกียงวอมแวม บานหนึ่งเปิดออกให้เห็นสวนหินตำรับเอ็นชู ซึ่งช่างจัดสวนถ่ายทอดจิตวิญญาณลงในหินคู่หนึ่งที่วางอยู่บนพื้นทรายขาวที่คราดเป็นลายงดงามมีกำแพงสีแดงเป็นฉากหลัง
“หนาวชะมัด”
ไฮยะ โชยูบ่นพร้อมกับทรุดตัวลงนั่งงอตัวบนเบาะรองนั่ง
“ท่านมูซาชิ มานั่งตรงนี้”
โคเอ็ตสึนั่งลงก่อนเรียกให้นั่งบนเบาะตรงกลางที่ว่างอยู่
“อย่าดีกว่า”
มูซาชินั่งตัวแข็งอยู่ดังเดิม เพราะที่นั่งซึ่งคนทั้งสองเชิญให้ไปนั่งนั้นอยู่หน้าโทโกโนะมะ ยกพื้นที่ประดับศิลปะวัตถุซึ่งเป็นที่สำหรับแขกคนสำคัญ ที่เจ้าหนุ่มนักดาบแข็งขืนไม่ยอมทำตามนั้นไม่ใช่ว่าเกรงใจแต่เกลียดการที่จะต้องไปนั่งตรงที่ที่ควรเป็นของบุคคลสำคัญระดับผู้ครองแคว้นท่ามกลางบรรยากาศที่สุดแสนอลังการของสิ่งก่อสร้างหลังนี้ ไฮยะ โชยูคิดเอาเองว่าคงเกรงใจจึงคะยั้นคะยอ
“มาเถอะ เพราะวันนี้ท่านเป็นแขกคนสำคัญ ข้ากับท่านโคเอ็ตสึมาที่นี่บ่อยมากจนสนิทกันเหมือนเพื่อเก่า ไม่เบื่อกันทั้งคนมาทั้งคนต้อนรับ แต่ท่านเพิ่งมาครั้งแรก ก่อนอื่นต้องฉลองกัน”
ถึงกระนั้นมูซาชิก็ยังไม่ยอม
“อย่าดีกว่าท่าน ข้ายังเด็กอยู่ มันไม่เหมาะ”
“อะไรกัน ที่สำนักนางโลมไม่มีใครเขาพูดถึงอายุกันหรอก”
ไฮยะ โชยูแย้งขัน ๆ แล้วหัวเราะชอบใจ
พวกสาว ๆ นำน้ำชากับขนมเข้ามานั่งอยู่ข้างหลังรอให้แขกของนางจัดที่นั่งกันให้ลงตัว
“งั้นข้านั่งเอง”
โคเอ็ตสึเข้าใจความรู้สึกของมูซาชิและหวังช่วย จึงขยับเข้าไปนั่งหน้าโทโกโนะมะเสียเอง
มูซาชิจึงเลื่อนตัวเข้าไปนั่งแทนที่ รู้สึกสบายใจขึ้นนิดหนึ่งแต่ก็ยังอดเสียดายไม่ได้ที่ต้องเอาเวลาอันมีค่ามาทิ้งไว้กับอะไรที่ไร้สาระเช่นนี้
3
ในห้องข้าง ๆ นั้น เด็กหญิงสองคนนั่งเคียงกันอยู่ข้างเตาผิง
“นี่อะไร”
“นก”
“งั้นนี่ล่ะ”
“กระต่าย”
“แลัวนี่อะไร”
“คนสวมหมวกฟาง”
ทั้งสองเพลิดเพลินอยู่กับการประสานนิ้วส่องกับแสงตะเกียงสะท้อนเป็นเงาฉายบนประตูบานเลื่อน แล้วทายกันว่าเป็นรูปอะไร
เตาผิงเป็นแบบที่ใช้สำหรับชงชา ไอน้ำที่ระเหยขึ้นมาจากหม้อต้มน้ำช่วยให้ห้องอุ่นขึ้นทุกที รู้สึกว่าคนในห้องข้าง ๆ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย กลิ่นสาเกและความอุ่นจากผิวกายทำให้ลืมความหนาวเย็นภายนอกไปได้ และคิดว่าที่ห้องอบอุ่นขึ้นนั้นก็เพราะเหล้าสาเกที่เวียนอยู่ในเส้นเลือดทั่วตัวของทุกคนนั่นเอง
“ข้าอ่ะนะ ถึงจะบอกลูกชายไม่ได้ แต่ก็ขอบอกทุกท่านตรงนี้เลยว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรจะวิเศษไปกว่าเหล้าอีกแล้ว คนที่มีธรรมะธรรมโมหาว่าเหล้าไม่ดี เหล้าเหมือนยาพิษในกระทะทองแดง แต่จะไปโทษเหล้าได้ยังไง เหล้าดีแต่คนดื่มต่างหากที่ไม่ดี มนุษย์เราดีแต่โทษคนอื่นจนเป็นนิสัยอยู่แล้ว ยังมาโทษเหล้าอีก เหล้าไม่บ้าแต่คนที่กินเหล้าจนเมาหยำเปนั่นแหละที่บ้า”
เจ้าของเสียงดังที่สุดก็คือไฮยะ โชยูคนตัวผอมที่สุดนั่นเอง
มูซาชิดื่มตามมารยาทไปจอกสองจอกเท่านั้นก็หยุด ก่อนที่ไฮยะ โชยูจะเริ่มปาฐกถาเรื่องความดีงามของเหล้าเสียอีก ฟัง ๆ ดูไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ สังเกตจากสีหน้าของสาว ๆ ที่รุมล้อมคอยชักชวนกินนั่นกินนี่และรินเหล้าสาเกทั้งยะงนักร้องนักรำรำและเล่นดนตรีแล้ว เห็นชัดว่าคงพูดซ้ำซากจนแทบจะจำขึ้นใจกันแล้ว สาวหนึ่งปากไวเย้าว่า
“ท่านฟูนาบาชิ เริ่มอีกแล้ว”
เรียกเสียงหัวเราะคิกคักขึ้นในกลุ่มเพื่อน ขณะที่ท่านฟูนาบาชิเองไม่ได้รู้ตัวแม้แต่น้อย
“ถ้าเหล้าไม่ดีจริง เทพเจ้าทั้งหลายก็จะต้องเกลียดมันจริงไหม ถ้าเทียบกับพวกปีศาจแล้วเทพเจ้าเป็นพวกที่ชอบเหล้ามากกว่า แสดงว่าไม่มีอะไรจะสะอาดบริสุทธิ์เท่าเหล้าอีกแล้ว ตำนวนเล่าว่าเวลาที่เทพเจ้าจะทำเหล้าสาเก ท่านจะให้สาวพรหมจรรย์แสนบริสุทธ์ที่ฟันขาวราวไข่มุกเคี้ยวข้าวจนละเอียดแล้วเอามาหมัก เห็นไหมว่าสะอาดแค่ไหน”
สาว ๆ หัวเราะกันคิดคักอีก คนปากไวอุทาน
“ว้าย สกปรกจัง”
“สกปรกตรงไหนฮึ”
“แล้วเหล้าสาเกที่เอาข้าวที่คนเคี้ยวแล้วมาหมัก มันสะอาดตรงไหนล่ะเจ้าคะ”
“เอ๊ะ หล่อนนี่ยังไง ถ้าเป็นข้าวที่เคี้ยวด้วยฟันพวกหล่อนละก็สกปรกแน่ไม่มีใครกล้าดื่มหรอก แต่เหล้าที่สะอาดบริสุทธิ์นั้นต้องหมักด้วยข้าวที่สาวพรหมจรรย์แรกรุ่นไร้ราคีเป็นคนเคี้ยว เคี้ยวจนหวานราวน้ำหวานของเกสรดอกไว้แล้วจึงเอาลงไปหมักในถังจนได้ที่เป็นเหล้าสาเกแสนวิเศษ อา...ข้าอยากเมาเหล้าสาเกวิเสษนี้สักครั้งเหลือเกิน”
ท่านฟูนาบาชิเมาได้ที่ จู่ ๆ ก็โอบคอสาวน้อยอายุสิบสามสิบสี่ที่อยู่ข้าง ๆ เข้ามาแล้วเอียงก้มผอม ๆ ของตนไปจรดริมฝีปากของเจ้าหล่อน
“ว๊าย ไม่เอ๊า ไม่เอา”
สาวน้อยกรีดร้องเสียงแหลม และสะบัดเนื้อสะบัดตัวลุกขึ้นยืน
ท่านฟูนาบาชิหัวเราะลั่นก่อนเบนสายตาไปทางขวา
“ฮะ ฮะ ฮะ อย่าโกรธนะ เมียของข้า”
ว่าแล้วก็ดึงมือนางที่ชื่อซูมิกิคุมาวางไว้บนตัก เท่านั้นไม่พอยังยื่นหน้าเข้าไปชนกันและแบ่งสาเกในจอกดื่มคนละครึ่ง แล้วเอนอิงพิงกันราวกับอยู่กันลำพังเพียงสองคนในห้อง ไม่ได้สนใจใครเลย
โคเอ็ตสึสนุกอยู่กับการดื่มเหล้าสาเก พูดหยอกล้อหัวเราะกันครื้นเครงกับพวกสาว ๆ และไฮยะ โชยู อย่างคุ้นเคยกับการบันเทิงยามราตรี มีแต่มูซาชิคนเดียวที่นั่งนิ่งเฉยห่างออกมาจากกลุ่มที่กำลังครื้นเครงกันเต็มที่ จริง ๆ แล้วเจ้าหนุ่มก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะเคร่งครัดอะไรกับตัวเอง จะให้สนุกด้วยก็ยังได้ แต่ที่นิ่งอยู่ก็เพราะไม่มีสาวคนไหนเข้ามาใกล้ หรือว่าจะกลัวก็ไม่รู้
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
-แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
1
“อูย หนาวจัง”
“ใช่ ลมเย็นเฉียบเลยอ่ะ”
“จมูกแทบจะหลุดอยู่แล้วเนี่ย”
“คืนนี้ สงสัยจะได้เห็นอะไรสวย ๆ โปรยปรายจากฟากฟ้า”
“ในฤดูใบไม้ผลิอย่างนี้น่ะรึเพื่อน”
เสียงคนหามกระเช้าตะโกนโต้ตอบกันไปมาฝ่าลมหนาวมาได้แค่มาถึงทุ่งเลี้ยงม้าที่ยานางิ ลมหายใจที่หอบเป็นจังหวะของทั้งสองก็เป็นไอขาวแทบจะหยาดลงมาเป็นเกล็ดน้ำแข็ง โคมไฟสามดวงแกว่งไปมาวูบวาบตามแรงลม ท้องฟ้าเหนือย่านชานเมืองนครหลวงมืดทมึนน่ากลัว เมื่อกลุ่มเมฆที่เห็นก่อตัวอยู่บนยอดเขาฮิเออิเหมือนหมวกฟางใบใหญ่ตอนพลบค่ำเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุม เป็นลางว่าอากาศในค่ำคืนนี้คงจะปรวนแปรเป็นแน่
ทว่าไกลออกไปทางอีกฟากหนึ่งทุ่งเลี้ยงม้าอันกว้างใหญ่ แสงสีจากนครหลวงจับท้องฟ้างดงามราวกับอยู่กันคนละโลก ยิ่งฟ้ามืดไร้ดาวแสงสว่างจากดวงไฟในเมืองก็ยิ่งฉาบฉายฟ้าให้แจ่มจรัส
“ท่านมูซาชิ”
เจ้าหนุ่มนักดาบตื่นจากภวังค์อันเพริดแพร้วราวกับอยู่ท่ามกลางแสงวิบวับของฝูงหิ่งห้อย เมื่อโคเอ็ตสึหันหน้ามาส่งเสียงเรียกจากกระเช้าหามคันหน้า
“นั่นไง ยานางิมาจิที่รคคุโจ ระยะนี้มีคนมาตั้งบ้านเรือนกันหนาแน่นขึ้นมากก็เลยแยกออกไปเป็นหลายตรอกซอย เลยมีอีกชื่อหนึ่งว่ามิซูจิมาจิ”
“อ๋อ อยู่ตรงนั้นเอง”
“เวลามาจากนอกเมือง แล้วมองเข้าไปในเมืองจากทุ่งกว้างอย่างทุ่งเลี้ยงม้าอย่างนี้ จะเห็นแสงสีตระการตาน่าสนุกมากเลย ท่านว่าไหม”
“งามเกินคาด”
“สำนักนางโลมแต่ก่อนเคยอยู่ที่นิโจ ใกล้กับเขตพระราชฐาน พอกลางดึกเสียงเพลงพื้นบ้านและดนตรีดังแว่วเข้ามาที่ราชอุทยานเป็นที่ระคายหู ขุนนางชื่ออิตากูระ คัตสึชิเงะจึงได้จัดการย้ายมาที่นี่เมื่อสามปีแล้ว แถวนี้จึงกลายเป็นย่านเริงรมณ์ที่คึกคักครึกครื้น และขยายอาณาเขตกว้างขวางออกไปเรื่อย ๆ ”
“ก่อนหน้านั้น ย่านนี้เคยเป็นอะไรรึ”
“ก่อนที่สำนักนางโลมที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายจะย้ายเข้ามา แถวนี้เป็นทุ่งรกร้างเปล่าเปลี่ยวเต็มไปด้วยซากหักพังที่หลงเหลือจากไฟสงคราม แต่ตอนนี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมของความทันสมัย ท่ามกลางแสงไฟสว่างไสว จะเรียกว่าเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมยุคใหม่ก็คงได้”
โคเอ็ตสึหยุดพูดและทำท่าเงี่ยหูฟัง
“แว่วเสียงเพลงจากสำนักนางโลมแล้วใช่ไหม
“จริงด้วย”
“ที่ได้ยินคือเสียงจากเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากซอสามสายหรือชามิเซ็ง ซึ่งเป็นของใหม่ที่มีคนนำมาจากอาณาจักร ริวกิวไกลโพ้นลงไปทางใต้ จากนั้นพวกศิลปินก็ได้แต่งทำนองและเนื้อเพลงร่วมสมัยสำหรับชามิเซ็งขึ้นมามากมาย หลายเพลงเป็นที่นิยมร้องเล่นกันอย่างแพร่หลายภายในละแวกนั้น จะเรียกได้ว่าที่นั่นคือมารดาผู้ให้กำเนิดเพลงชามิเซ็งก็คงได้
ต่อมาเพลงชามิเซ็งในย่านสำนักนางโลมก็ได้แพร่ออกมาในชุมชนชาวเมือง จึงเห็นได้ว่าสำนักนางโลมมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งกับชาวกรุงในแง่ของวัฒนธรรมการบันเทิง และมีความสำคัญควรแก่การบำรุง รักษาให้ย่านนี้คงอยู่ต่อไปในลักษณะที่เป็นอยู่ แม้ว่าจะได้ชื่อว่าเป็นสำนักนางโลมและอยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง”
การสนทนาระหว่างโคเอ็ตสึกับมูซาชิชะงักไปเมื่อคนหามกระเช้าหักเลี้ยวเป็นข้อศอกเข้าไปในทางข้าง ๆ นั้น แสงสว่างจ้าจากโคมไฟที่แขวนอยู่กับต้นหลิวสองฟากทางทำเอามูซาชิ เจ้าหนุ่มนักดาบพเนจรต้องยกมือขึ้นบังดวงตาคมวาวคู่นั้นไว้โดยไม่รู้ตัว
ที่นี่คือสำนักนางโลมที่ได้ชื่อว่ายานางิมาจิ เมืองแห่งต้นหลิวเมื่อครั้งอยู่ที่นิโจ และไม่มีใครบอกได้ว่าต้นหลิวกับสำนักนางโลมเป็นของคู่กันมาตั้งแต่เมื่อไร
2
โคเอ็ตสึกับไฮยะ โชยู ลงจากกระเช้าหามที่หน้าประตูบ้านหลังหนึ่งด้วยท่วงท่าที่คุ้นเคยกันดี
“ท่านฟูนาบาชิ”
“ท่านมิซูโอจิก็มา”
สาว ๆ ที่สำนักขแงฮายาชิยะ โยจิเบออกมาต้อนรับกันเซ็งแซ่ เรียกแขกผู้มาเยือนด้วยนามแฝงที่รู้กันเฉพาะในบ้านนี้ ท่านฟูนาบาชิ คือไฮยะ โชยูที่บ้านอยู่ตรงสะพานฟูนาบาชิที่ทอดข้ามแม่น้ำโฮริกาวะ ส่วนท่านมิซูโอจิก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากโคเอ็ตสึที่อาศัยอยู่ช่วงที่ลำน้ำไหลผ่านลงมา มูซาชิคนเดียวเท่านั้นที่เป็นแขกหน้าใหม่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งสาว ๆ จึงตั้งชื่อเรียกเล่นให้ไม่ได้
ชื่อจริงของเจ้าของกิจการคือฮายาชิยะ โยจิเบ แต่คนส่วนใหญ่เรียกเขาว่าโองิยะตามชื่อร้าน
เมื่อพูดถึงโองิยะแล้วใคร ๆ จะต้องนึกถึงโยชิโนะ ดายูเจ้าของกิจการรุ่นที่หนึ่งผู้มีชื่อเสียง และมูโรกิมิ ดายูเจ้าของกิจการคิเคียวยะที่เป็นคู่แข่งกัน
บ้านนางโลมที่ติดอันดับหนึ่งในละแวกนี้มีเพียงสองบ้านนี้เท่านั้น และที่โคเอ็ตสึ โชยู และมูซาชิเข้าไปรับบริการก็คือโองิยะซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
การตกแต่งช่างตระการตาราวกับปราสาทราชวัง
มูซาชิตื่นตาตื่นใจกับเครื่องประดับประดาที่งดงามอลังการภายในห้องเหลือจะกล่าว แม้จะพยายามบังคับสายตาเต็มที่ไม่ให้ส่ายไปมาวอกแวก แต่ก็รู้สึกว่ายามลุกเดินไปไหน ภาพสวนอันงดงามและราวสะพานข้ามสระน้ำ และฝีมือแกะสลักไม้เหนือบานประตูเลื่อนในห้องช่างตามมาเย้ายวนชวนมองยิ่งนัก
“อ้าว หายไปไหนกันหมดล่ะนี่”
มูซาชิหลงกับโคเอ็ตสึและไฮยะ โชยูยืนเคว้งอยู่กลางระเบียงทางเดิน หลังจากเผลอหยุดชมภาพบนบานประตูไม้ซูงิ
“เราอยู่ทางนี้”
โคเอ็ตสึเดินกลับมาเรียก
ประตูเลื่อนสีเงินบานใหญ่สะท้อนแสงตะเกียงวอมแวม บานหนึ่งเปิดออกให้เห็นสวนหินตำรับเอ็นชู ซึ่งช่างจัดสวนถ่ายทอดจิตวิญญาณลงในหินคู่หนึ่งที่วางอยู่บนพื้นทรายขาวที่คราดเป็นลายงดงามมีกำแพงสีแดงเป็นฉากหลัง
“หนาวชะมัด”
ไฮยะ โชยูบ่นพร้อมกับทรุดตัวลงนั่งงอตัวบนเบาะรองนั่ง
“ท่านมูซาชิ มานั่งตรงนี้”
โคเอ็ตสึนั่งลงก่อนเรียกให้นั่งบนเบาะตรงกลางที่ว่างอยู่
“อย่าดีกว่า”
มูซาชินั่งตัวแข็งอยู่ดังเดิม เพราะที่นั่งซึ่งคนทั้งสองเชิญให้ไปนั่งนั้นอยู่หน้าโทโกโนะมะ ยกพื้นที่ประดับศิลปะวัตถุซึ่งเป็นที่สำหรับแขกคนสำคัญ ที่เจ้าหนุ่มนักดาบแข็งขืนไม่ยอมทำตามนั้นไม่ใช่ว่าเกรงใจแต่เกลียดการที่จะต้องไปนั่งตรงที่ที่ควรเป็นของบุคคลสำคัญระดับผู้ครองแคว้นท่ามกลางบรรยากาศที่สุดแสนอลังการของสิ่งก่อสร้างหลังนี้ ไฮยะ โชยูคิดเอาเองว่าคงเกรงใจจึงคะยั้นคะยอ
“มาเถอะ เพราะวันนี้ท่านเป็นแขกคนสำคัญ ข้ากับท่านโคเอ็ตสึมาที่นี่บ่อยมากจนสนิทกันเหมือนเพื่อเก่า ไม่เบื่อกันทั้งคนมาทั้งคนต้อนรับ แต่ท่านเพิ่งมาครั้งแรก ก่อนอื่นต้องฉลองกัน”
ถึงกระนั้นมูซาชิก็ยังไม่ยอม
“อย่าดีกว่าท่าน ข้ายังเด็กอยู่ มันไม่เหมาะ”
“อะไรกัน ที่สำนักนางโลมไม่มีใครเขาพูดถึงอายุกันหรอก”
ไฮยะ โชยูแย้งขัน ๆ แล้วหัวเราะชอบใจ
พวกสาว ๆ นำน้ำชากับขนมเข้ามานั่งอยู่ข้างหลังรอให้แขกของนางจัดที่นั่งกันให้ลงตัว
“งั้นข้านั่งเอง”
โคเอ็ตสึเข้าใจความรู้สึกของมูซาชิและหวังช่วย จึงขยับเข้าไปนั่งหน้าโทโกโนะมะเสียเอง
มูซาชิจึงเลื่อนตัวเข้าไปนั่งแทนที่ รู้สึกสบายใจขึ้นนิดหนึ่งแต่ก็ยังอดเสียดายไม่ได้ที่ต้องเอาเวลาอันมีค่ามาทิ้งไว้กับอะไรที่ไร้สาระเช่นนี้
3
ในห้องข้าง ๆ นั้น เด็กหญิงสองคนนั่งเคียงกันอยู่ข้างเตาผิง
“นี่อะไร”
“นก”
“งั้นนี่ล่ะ”
“กระต่าย”
“แลัวนี่อะไร”
“คนสวมหมวกฟาง”
ทั้งสองเพลิดเพลินอยู่กับการประสานนิ้วส่องกับแสงตะเกียงสะท้อนเป็นเงาฉายบนประตูบานเลื่อน แล้วทายกันว่าเป็นรูปอะไร
เตาผิงเป็นแบบที่ใช้สำหรับชงชา ไอน้ำที่ระเหยขึ้นมาจากหม้อต้มน้ำช่วยให้ห้องอุ่นขึ้นทุกที รู้สึกว่าคนในห้องข้าง ๆ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย กลิ่นสาเกและความอุ่นจากผิวกายทำให้ลืมความหนาวเย็นภายนอกไปได้ และคิดว่าที่ห้องอบอุ่นขึ้นนั้นก็เพราะเหล้าสาเกที่เวียนอยู่ในเส้นเลือดทั่วตัวของทุกคนนั่นเอง
“ข้าอ่ะนะ ถึงจะบอกลูกชายไม่ได้ แต่ก็ขอบอกทุกท่านตรงนี้เลยว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรจะวิเศษไปกว่าเหล้าอีกแล้ว คนที่มีธรรมะธรรมโมหาว่าเหล้าไม่ดี เหล้าเหมือนยาพิษในกระทะทองแดง แต่จะไปโทษเหล้าได้ยังไง เหล้าดีแต่คนดื่มต่างหากที่ไม่ดี มนุษย์เราดีแต่โทษคนอื่นจนเป็นนิสัยอยู่แล้ว ยังมาโทษเหล้าอีก เหล้าไม่บ้าแต่คนที่กินเหล้าจนเมาหยำเปนั่นแหละที่บ้า”
เจ้าของเสียงดังที่สุดก็คือไฮยะ โชยูคนตัวผอมที่สุดนั่นเอง
มูซาชิดื่มตามมารยาทไปจอกสองจอกเท่านั้นก็หยุด ก่อนที่ไฮยะ โชยูจะเริ่มปาฐกถาเรื่องความดีงามของเหล้าเสียอีก ฟัง ๆ ดูไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ สังเกตจากสีหน้าของสาว ๆ ที่รุมล้อมคอยชักชวนกินนั่นกินนี่และรินเหล้าสาเกทั้งยะงนักร้องนักรำรำและเล่นดนตรีแล้ว เห็นชัดว่าคงพูดซ้ำซากจนแทบจะจำขึ้นใจกันแล้ว สาวหนึ่งปากไวเย้าว่า
“ท่านฟูนาบาชิ เริ่มอีกแล้ว”
เรียกเสียงหัวเราะคิกคักขึ้นในกลุ่มเพื่อน ขณะที่ท่านฟูนาบาชิเองไม่ได้รู้ตัวแม้แต่น้อย
“ถ้าเหล้าไม่ดีจริง เทพเจ้าทั้งหลายก็จะต้องเกลียดมันจริงไหม ถ้าเทียบกับพวกปีศาจแล้วเทพเจ้าเป็นพวกที่ชอบเหล้ามากกว่า แสดงว่าไม่มีอะไรจะสะอาดบริสุทธิ์เท่าเหล้าอีกแล้ว ตำนวนเล่าว่าเวลาที่เทพเจ้าจะทำเหล้าสาเก ท่านจะให้สาวพรหมจรรย์แสนบริสุทธ์ที่ฟันขาวราวไข่มุกเคี้ยวข้าวจนละเอียดแล้วเอามาหมัก เห็นไหมว่าสะอาดแค่ไหน”
สาว ๆ หัวเราะกันคิดคักอีก คนปากไวอุทาน
“ว้าย สกปรกจัง”
“สกปรกตรงไหนฮึ”
“แล้วเหล้าสาเกที่เอาข้าวที่คนเคี้ยวแล้วมาหมัก มันสะอาดตรงไหนล่ะเจ้าคะ”
“เอ๊ะ หล่อนนี่ยังไง ถ้าเป็นข้าวที่เคี้ยวด้วยฟันพวกหล่อนละก็สกปรกแน่ไม่มีใครกล้าดื่มหรอก แต่เหล้าที่สะอาดบริสุทธิ์นั้นต้องหมักด้วยข้าวที่สาวพรหมจรรย์แรกรุ่นไร้ราคีเป็นคนเคี้ยว เคี้ยวจนหวานราวน้ำหวานของเกสรดอกไว้แล้วจึงเอาลงไปหมักในถังจนได้ที่เป็นเหล้าสาเกแสนวิเศษ อา...ข้าอยากเมาเหล้าสาเกวิเสษนี้สักครั้งเหลือเกิน”
ท่านฟูนาบาชิเมาได้ที่ จู่ ๆ ก็โอบคอสาวน้อยอายุสิบสามสิบสี่ที่อยู่ข้าง ๆ เข้ามาแล้วเอียงก้มผอม ๆ ของตนไปจรดริมฝีปากของเจ้าหล่อน
“ว๊าย ไม่เอ๊า ไม่เอา”
สาวน้อยกรีดร้องเสียงแหลม และสะบัดเนื้อสะบัดตัวลุกขึ้นยืน
ท่านฟูนาบาชิหัวเราะลั่นก่อนเบนสายตาไปทางขวา
“ฮะ ฮะ ฮะ อย่าโกรธนะ เมียของข้า”
ว่าแล้วก็ดึงมือนางที่ชื่อซูมิกิคุมาวางไว้บนตัก เท่านั้นไม่พอยังยื่นหน้าเข้าไปชนกันและแบ่งสาเกในจอกดื่มคนละครึ่ง แล้วเอนอิงพิงกันราวกับอยู่กันลำพังเพียงสองคนในห้อง ไม่ได้สนใจใครเลย
โคเอ็ตสึสนุกอยู่กับการดื่มเหล้าสาเก พูดหยอกล้อหัวเราะกันครื้นเครงกับพวกสาว ๆ และไฮยะ โชยู อย่างคุ้นเคยกับการบันเทิงยามราตรี มีแต่มูซาชิคนเดียวที่นั่งนิ่งเฉยห่างออกมาจากกลุ่มที่กำลังครื้นเครงกันเต็มที่ จริง ๆ แล้วเจ้าหนุ่มก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะเคร่งครัดอะไรกับตัวเอง จะให้สนุกด้วยก็ยังได้ แต่ที่นิ่งอยู่ก็เพราะไม่มีสาวคนไหนเข้ามาใกล้ หรือว่าจะกลัวก็ไม่รู้