xs
xsm
sm
md
lg

ครั้งแรกของโลก! นักวิจัยญี่ปุ่นเปลี่ยนเศษอาหารให้เป็น 'ซีเมนต์' สร้างบ้านที่กินได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แล้วบ้านขนมปังขิง ฮันเซลกับเกรเทล บ้านที่กินได้อาจไม่ได้มีแค่ในเทพนิยายอีกต่อไป!

เจแปนทูเดย์ (2 มิ.ย.) รายงานนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว โคตะ มาชิดะ (Kota Machida) และยูยะ ซาคาอิ (Yuya Sakai) ได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนเศษอาหารให้เป็น "ซีเมนต์ที่กินได้" สำหรับใช้ในการก่อสร้าง

"ซีเมนต์ที่กินได้" เป็นการผลิตซีเมนต์กระบวนการแรกของโลกที่ใช้จากเศษอาหารทั้งหมด

มาชิดะ และซาคาอิ กล่าวว่า พวกเขาหวังว่าจะช่วยลดภาวะโลกร้อน บรรเทาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศษอาหารซึ่งปล่อยก๊าซมีเทนเมื่อเน่าเสียขณะฝังในหลุมฝังกลบ

ซาคาอิ รองศาสตราจารย์ด้าน Industrial Science ได้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ในขณะที่ค้นคว้าเกี่ยวกับวัสดุที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถทดแทนคอนกรีตที่ใช้ซีเมนต์ได้

ตามข้อมูลของ Chatham House การผลิตปูนซีเมนต์คิดเป็น 8% ของกระบวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก

ซาไก และมาชิดะ กล่าวว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการผลิตซีเมนต์โดยใช้ใบชา เปลือกส้มและหัวหอม กากกาแฟ กะหล่ำปลีจีน และแม้แต่กล่องอาหารกลางวันที่เหลือ

พวกเขาได้ปรับรสชาติด้วยเครื่องเทศต่างๆ และพบว่าสี กลิ่น และรสชาติของซีเมนต์นั้นน่าดึงดูดใจทีเดียว

เศษอาหารเป็นปัญหาใหญ่ในญี่ปุ่นและทั่วโลก ญี่ปุ่นทิ้งเศษอาหารที่กินเหลือประมาณ 5.7 ล้านตันในปี 2019 และรัฐบาลตั้งเป้าที่จะลดจำนวนขยะดังกล่าวให้เหลือ 2.7 ล้านตันภายในปี 2030

ซาคาอิ กล่าวว่ากระบวนการนี้สามารถนำไปใช้ทำที่อยู่อาศัยชั่วคราว สำหรับภัยพิบัติ และยังสามารถทุบต้มกินได้ด้วย

“ตัวอย่างเช่น หากไม่สามารถส่งอาหารไปยังผู้อพยพได้ พวกเขาก็สามารถกินเตียงชั่วคราวที่ทำจากซีเมนต์เศษอาหารได้” เขากล่าว

ปูนซีเมนต์สำหรับอาหารยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จึงสามารถฝังไว้เมื่อไม่ต้องการใช้อีกต่อไป

“ความหวังสูงสุดของเราคือ การนำซีเมนต์นี้มาแทนที่ผลิตภัณฑ์พลาสติกและปูนซีเมนต์เดิม ซึ่งมีผลกระทบมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม” มาชิดะ กล่าว








กำลังโหลดความคิดเห็น