สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้ว คราวที่แล้วผมพูดเรื่องร้านยายไป ร้านของยายผมนี่ข้างๆ จะเป็นร้านเหล้า ไม่ค่อยหรูหราเท่าไหร่เป็นร้านแบบบ้านๆ ผมเคยคิดมาตลอดตั้งแต่เด็กๆ ว่าทำไมยายเปิดร้านแบบนี้ คือร้านยายจะมีประตูเปิดปิดสองด้าน ถ้าเข้ามาจากด้านหนึ่งจะเป็นร้านขายสาเกต่างๆ(สาเกคือเหล้าญี่ปุ่น) ส่วนประตูอีกด้านเป็นประตูที่เปิดเพื่อเข้ามาร้านบาร์เบียร์ ผมลองคิดเหตุผลว่าเพราะอะไร ทราบมาว่าการเปิดร้านขายสาเกที่ญี่ปุ่นค่อนข้างยากต้องมีใบอนุญาตเฉพาะและภาษีก็เยอะด้วย บางร้านที่จะขายทั้งสาเกและเปิดร้านอาหารขายสาเกด้วยยิ่งค่อนข้างยากมาก ผมเพิ่งเข้าใจยายว่าตั้งใจให้เป็นสองร้านคือร้านขายสาเกอย่างเดียว กับบาร์เบียร์อาหารและสาเก ที่สามารถเดินถึงกันได้ แล้วยายก็เอาสาเกจากร้านของตัวเองนั่นแหละมาขายลูกค้าในร้านบาร์ต่อ แน่นอนว่าลูกค้ามีแต่คนเมาชาวบ้านแถวนั้น อาจจะเป็นพวกที่ทำงานอุตสาหกรรม มีครูมาบ้างประปรายแต่ชายหนุ่มแต่งสูทเท่ห์ๆ ทำงานบริษัทนี่ไม่ค่อยมีเท่าไหร่ครับ
เมื่อก่อนมีแบงค์พันญี่ปุ่นรุ่นหนึ่งรูปในนั้นเป็นนักเขียนชื่อดัง ชื่อ 夏目漱石 Natsume Soseki ซึ่งเป็นนักประพันธ์นวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของญี่ปุ่น เขาเกิดที่โตเกียว เมื่อปี พ.ศ.2410 เรียนจบที่มหาวิทยาลัยโตเกียว สาขาอักษรศาสตร์ภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่จังหวัดเอฮิเมะ(Ehime) ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดที่ห่างออกไปมาก เขาได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษเป็นนักวิจัย กลับมาแล้วได้ตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นอาจารย์สอนอักษรศาสตร์ภาษาอังกฤษ และเริ่มเขียนนวนิยายเป็นงานอดิเรก มีเรื่องหนึ่งตัวเอกชื่อว่า 坊つちやん Bocchan (คุณลูกชาย) เรียกว่าบ็อทจัง ภาษาบ้านผมเรียกว่า "บอม" หรือประมาณลูกชาย ตอนเด็กๆ เลยทำให้ลูกค้าที่ร้านยายเรียกผมว่า "บอม" ไปด้วย ที่ร้านยายมีโถงที่นั่งรวมๆ สมัยที่ผมยังเป็นเด็กน้อยๆ ผมมักจะไปนั่งทำการบ้านแถวนั้น บางทีก็มีคนมาสอนหนังสือ คนส่วนใหญ่ที่มาจะให้เงินผมคนละร้อยเยนสองร้อยเยน แล้วเล่นกับผมด้วย เขาเรียกผมว่า บ็อทจัง กันทุกคน ตอนนั้นผมก็ยังไม่รู้ความหมายของคำนี้เท่าไหร่นัก
ซึ่งวันนี้ผมจะเล่าเรื่องความแปลกและน่าสนใจของลูกค้าในร้านยายครับ ตอนเด็กๆ ผมไปร้านยายครั้งใดก็จะไปวิ่งเล่นและคุยกับลุงๆ ในร้าน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านแถวนั้น และมีคุณครูโรงเรียนมัธยมปลายมาบ้าง ตอนที่ผมนั่งเล่นเกมในสมัยนั้นยังใช้เล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ๆ มีภาษาอังกฤษบางคำที่ผมอ่านไม่ออก คุณครูก็ช่วยอ่านให้บ้าง เมืองที่ผมอยู่เป็นเมืองหนาวส่วนใหญ่ลุงๆ ลูกค้าร้านยายจะมาเพื่อสั่งสาเก แล้วนั่งคุยแก้หนาวจึงมักจะสั่งสาเกร้อน ส่วนอาหารก็ไม่ค่อยเน้นอะไรมากเพราะร้านยายมีแต่ไข่ดาว เต้าหู้ และซุป ส่วนใหญ่ลูกค้าเป็นพวกช่าง หรือทำงานรับจ้างทั่วไป จึงมีการติดหนี้ค่าอาหารกันตลอด และเรื่องที่พูดคุยส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเศร้าๆ แบบแลกเปลี่ยนกันและกัน
เวลาสั่งอาหารก็จะมีบัญชีรายการและราคาที่ติดค้างไว้ บางทีเป็นเดือนๆ ถึงจะมาจ่าย แต่มีระบบการติดหนี้ของญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งที่คนไทยอาจจะไม่ทราบคือ ถ้าอายุความของการเป็นหนี้หมดลง เช่นกำหนดว่าต้องจ่ายภายใน 1 ปี แล้ว้าครบปีแล้วคือหมดอายุความ ลูกหนี้สามารถไม่จ่ายหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องไปฟ้องศาลเอาซึ่งอาจต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้นถ้ามีลูกหนี้ติดเงินไม่มากมายนัก เช่น หนึ่งหมื่นสองหมื่นเยน แล้วหมดอายุความของการเป็นหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็ไม่อยากเสียเงินเสียเวลาไปฟ้องศาลก็ยอมเสียเงินนั้นไป แม้ว่ามีกรณีเช่นนี้แล้วกฎหมายไม่สามารถเอาโทษอะไรถ้าไม่ฟ้องดำเนินคดี แต่คนที่ไม่คืนเงินผู้นั้นก็จะเป็นที่รังเกียจของคนอื่นๆ ได้ แม้ปกติจะไม่ค่อยมีนัก แต่ก็มีคนที่เกรียนๆ บ้างที่ชอบทำเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ลูกค้าร้านยายผมก็มีที่บอกว่าทานแล้วติดเงินไว้ รอจนหมดอายุความ ไม่เอาเงินมาใช้คืนอีกเลยแต่ก็ยังมาทานที่ร้านอีกบ้าง ด้วยความที่เป็นแบบนี้นี่เองแม้ว่าจะไปแจ้งตำรวจพื้นที่แต่ตำรวจจะไม่ช่วยตามเรื่องเช่นนี้ ทำให้มียากูซ่าขึ้นมาในญี่ปุ่นอีกสาเหตุหนึ่ง เอาไว้ตามทวงเงินนี่แหละครับ อันนี้แค่หนึ่งในงานเล็กๆ น้อยๆ ของยากูซ่าเค้านะครับ
เมื่อก่อนลุงที่ติดเงินร้านยายบ่อยๆ และมากินที่ร้านยายบ่อยๆ บางครั้งจะพาลูกชายมาด้วยลูกเค้าอายุน้อยกว่าผมสัก 5 ปีได้ เป็นเด็กที่หัวดีมาก เรียนเก่ง ใครๆ ในร้านก็พูดถึงในทางที่ดี เด็กเองก็บอกว่าอยากเรียนสูงๆ เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ อยากทำงานดีๆ อยากเป็นรัฐมนตรี แต่พ่อเค้าเป็นคนเกรียน หนึ่งมีคนเล่าว่าพ่อสอนให้ลูกขโมยของในร้านสะดวกซื้อ แถมเป็นของที่หาง่ายๆ พวกถั่วงอก ขนม จนถูกตำรวจจับได้ สิ่งที่สะเทือนใจคืออนาคตของเด็กดีๆ ต้องเสียไปเพราะมีผู้นำทางชี้ทางที่ผิดให้ เป็นอีกเรื่องเล่าที่เกิดในวงเหล้าร้านยายครับ
ช่วงหน้าหนาวอีกปีหนึ่ง ที่ร้านยายมีเครื่องทำความร้อนที่ใช้เตาถ่าน ข้างบนเตาบางทีจะเอากาน้ำร้อนมาวางเพื่อต้มน้ำ มีลูกค้าบางคนปิ้งปลาหมึกไป คุยกันไปทุกคนก็จะนั่งใกล้ๆ กันเพื่อผิงไฟจากเตา วันนั้นมีลูกค้าคนหนึ่งถือหีบเพลง (Accordion) มาด้วย ผมเพิ่งเคยเห็นและจับหีบเพลงเเบบนี้เป็นครั้งแรก ลุงคนนี้เล่นเก่งมาก เขาโชว์เพลงในร้านมีแต่คนชอบ ทำไมผมถึงบอกว่าเขามีพรสวรรค์ทางนี้มาก ฟังเพลินแบบเคลิ้มมาก คือได้ข่าวว่ามียากูซ่ามาชวนลุงคนนี้ไปเข้ากลุ่มเพื่อเอาลุงไปเล่นเพลงเปิดการแสดงหาเงินนั่นเอง
การยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกับยากูซ่าแล้วนั่นคือการร่วมดื่มเหล้าจากจอกเดียวกัน ที่เรียกว่า 盃を貰う Sakazuki wo morau 🍶 และการทานปลาหิมะ(鯛) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยินดี ให้นึกภาพชายญี่ปุ่นเป็นกลุ่มๆ ใส่กิโมโนสีดำน่าเกรงขาม นั่งล้อมวงเชิญชวนคนที่กลุ่มจะให้เข้าพวกโดยถ้ายอมรับการเข้าพวกก็ยกเหล้าจากจอกมาดื่มรวมกันเป็นอันเสร็จพิธี แต่ลุงนักเล่นหีบเพลงเล่าว่าวันนั้นที่กลุ่มยากูซ่าเชิญดื่มเหล้าร่วมสาบานนั้น ลุงก้มคำนับและร้องไห้เพื่อแสดงว่าไม่ขอเข้ากลุ่มด้วย แต่ก็จบด้วยดีลุงไม่เป็นอะไรและไม่ต้องเป็นยากูซ่า
พอผมนึกถึงเรื่องพวกนี้เห็นว่าเป็นอีกมุมในสังคมจริงที่ญี่ปุ่นที่บางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ทุกครั้งที่ผมนึกถึงเรื่องพวกนี้ผมเองก็รู้สึกสะเทือนใจบ้าง บางคนอาจมองว่าญี่ปุ่นดูสวยหรูสะดวกสบาย แต่ความจริงแล้วก็มีเรื่องราวหลากหลายครับ มีคนรวยคนจน มีคนติดหนี้ มีเด็กใฝ่สูงที่บังเอิญโชคชะตาไม่เข้าข้าง ต่างๆ นานา ผมจึงนึกถึงกลอนไฮกุที่ผมเคยเเต่งไว้เมื่อตอนอายุ 15 ปี บอกไว้ว่า
薪焚べる 炉のことことと 手風琴
Maki kuberu Ro no kotokoto to Tefuukin
โยนฟืนเข้ากองไฟ เสียงเตาสั่นไหว ฟังเสียงหีบเพลง
แสดงถึงความหนาวเหน็บในสังคมคนญี่ปุ่นต่างจังหวัด การนั่งร่วมผิงไฟจากเตาผิงสมัยก่อนที่ยังใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง การร่วมพูดคุยถึงเรื่องราวในชีวิต ความเยือกเย็นของอากาศ ท่ามกลางความเงียบแอบได้ยินเสียงถ่านเสียงกาน้ำสั่นไหวกุกกักๆ มีเสียงเพลงบรรเลง นี่แหละอีกหนึ่งในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น
วันนี้สวัสดีครับ
เมื่อก่อนมีแบงค์พันญี่ปุ่นรุ่นหนึ่งรูปในนั้นเป็นนักเขียนชื่อดัง ชื่อ 夏目漱石 Natsume Soseki ซึ่งเป็นนักประพันธ์นวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของญี่ปุ่น เขาเกิดที่โตเกียว เมื่อปี พ.ศ.2410 เรียนจบที่มหาวิทยาลัยโตเกียว สาขาอักษรศาสตร์ภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่จังหวัดเอฮิเมะ(Ehime) ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดที่ห่างออกไปมาก เขาได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษเป็นนักวิจัย กลับมาแล้วได้ตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นอาจารย์สอนอักษรศาสตร์ภาษาอังกฤษ และเริ่มเขียนนวนิยายเป็นงานอดิเรก มีเรื่องหนึ่งตัวเอกชื่อว่า 坊つちやん Bocchan (คุณลูกชาย) เรียกว่าบ็อทจัง ภาษาบ้านผมเรียกว่า "บอม" หรือประมาณลูกชาย ตอนเด็กๆ เลยทำให้ลูกค้าที่ร้านยายเรียกผมว่า "บอม" ไปด้วย ที่ร้านยายมีโถงที่นั่งรวมๆ สมัยที่ผมยังเป็นเด็กน้อยๆ ผมมักจะไปนั่งทำการบ้านแถวนั้น บางทีก็มีคนมาสอนหนังสือ คนส่วนใหญ่ที่มาจะให้เงินผมคนละร้อยเยนสองร้อยเยน แล้วเล่นกับผมด้วย เขาเรียกผมว่า บ็อทจัง กันทุกคน ตอนนั้นผมก็ยังไม่รู้ความหมายของคำนี้เท่าไหร่นัก
ซึ่งวันนี้ผมจะเล่าเรื่องความแปลกและน่าสนใจของลูกค้าในร้านยายครับ ตอนเด็กๆ ผมไปร้านยายครั้งใดก็จะไปวิ่งเล่นและคุยกับลุงๆ ในร้าน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านแถวนั้น และมีคุณครูโรงเรียนมัธยมปลายมาบ้าง ตอนที่ผมนั่งเล่นเกมในสมัยนั้นยังใช้เล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ๆ มีภาษาอังกฤษบางคำที่ผมอ่านไม่ออก คุณครูก็ช่วยอ่านให้บ้าง เมืองที่ผมอยู่เป็นเมืองหนาวส่วนใหญ่ลุงๆ ลูกค้าร้านยายจะมาเพื่อสั่งสาเก แล้วนั่งคุยแก้หนาวจึงมักจะสั่งสาเกร้อน ส่วนอาหารก็ไม่ค่อยเน้นอะไรมากเพราะร้านยายมีแต่ไข่ดาว เต้าหู้ และซุป ส่วนใหญ่ลูกค้าเป็นพวกช่าง หรือทำงานรับจ้างทั่วไป จึงมีการติดหนี้ค่าอาหารกันตลอด และเรื่องที่พูดคุยส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเศร้าๆ แบบแลกเปลี่ยนกันและกัน
เวลาสั่งอาหารก็จะมีบัญชีรายการและราคาที่ติดค้างไว้ บางทีเป็นเดือนๆ ถึงจะมาจ่าย แต่มีระบบการติดหนี้ของญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่งที่คนไทยอาจจะไม่ทราบคือ ถ้าอายุความของการเป็นหนี้หมดลง เช่นกำหนดว่าต้องจ่ายภายใน 1 ปี แล้ว้าครบปีแล้วคือหมดอายุความ ลูกหนี้สามารถไม่จ่ายหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องไปฟ้องศาลเอาซึ่งอาจต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้นถ้ามีลูกหนี้ติดเงินไม่มากมายนัก เช่น หนึ่งหมื่นสองหมื่นเยน แล้วหมดอายุความของการเป็นหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็ไม่อยากเสียเงินเสียเวลาไปฟ้องศาลก็ยอมเสียเงินนั้นไป แม้ว่ามีกรณีเช่นนี้แล้วกฎหมายไม่สามารถเอาโทษอะไรถ้าไม่ฟ้องดำเนินคดี แต่คนที่ไม่คืนเงินผู้นั้นก็จะเป็นที่รังเกียจของคนอื่นๆ ได้ แม้ปกติจะไม่ค่อยมีนัก แต่ก็มีคนที่เกรียนๆ บ้างที่ชอบทำเช่นนี้อยู่เหมือนกัน ลูกค้าร้านยายผมก็มีที่บอกว่าทานแล้วติดเงินไว้ รอจนหมดอายุความ ไม่เอาเงินมาใช้คืนอีกเลยแต่ก็ยังมาทานที่ร้านอีกบ้าง ด้วยความที่เป็นแบบนี้นี่เองแม้ว่าจะไปแจ้งตำรวจพื้นที่แต่ตำรวจจะไม่ช่วยตามเรื่องเช่นนี้ ทำให้มียากูซ่าขึ้นมาในญี่ปุ่นอีกสาเหตุหนึ่ง เอาไว้ตามทวงเงินนี่แหละครับ อันนี้แค่หนึ่งในงานเล็กๆ น้อยๆ ของยากูซ่าเค้านะครับ
เมื่อก่อนลุงที่ติดเงินร้านยายบ่อยๆ และมากินที่ร้านยายบ่อยๆ บางครั้งจะพาลูกชายมาด้วยลูกเค้าอายุน้อยกว่าผมสัก 5 ปีได้ เป็นเด็กที่หัวดีมาก เรียนเก่ง ใครๆ ในร้านก็พูดถึงในทางที่ดี เด็กเองก็บอกว่าอยากเรียนสูงๆ เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ อยากทำงานดีๆ อยากเป็นรัฐมนตรี แต่พ่อเค้าเป็นคนเกรียน หนึ่งมีคนเล่าว่าพ่อสอนให้ลูกขโมยของในร้านสะดวกซื้อ แถมเป็นของที่หาง่ายๆ พวกถั่วงอก ขนม จนถูกตำรวจจับได้ สิ่งที่สะเทือนใจคืออนาคตของเด็กดีๆ ต้องเสียไปเพราะมีผู้นำทางชี้ทางที่ผิดให้ เป็นอีกเรื่องเล่าที่เกิดในวงเหล้าร้านยายครับ
ช่วงหน้าหนาวอีกปีหนึ่ง ที่ร้านยายมีเครื่องทำความร้อนที่ใช้เตาถ่าน ข้างบนเตาบางทีจะเอากาน้ำร้อนมาวางเพื่อต้มน้ำ มีลูกค้าบางคนปิ้งปลาหมึกไป คุยกันไปทุกคนก็จะนั่งใกล้ๆ กันเพื่อผิงไฟจากเตา วันนั้นมีลูกค้าคนหนึ่งถือหีบเพลง (Accordion) มาด้วย ผมเพิ่งเคยเห็นและจับหีบเพลงเเบบนี้เป็นครั้งแรก ลุงคนนี้เล่นเก่งมาก เขาโชว์เพลงในร้านมีแต่คนชอบ ทำไมผมถึงบอกว่าเขามีพรสวรรค์ทางนี้มาก ฟังเพลินแบบเคลิ้มมาก คือได้ข่าวว่ามียากูซ่ามาชวนลุงคนนี้ไปเข้ากลุ่มเพื่อเอาลุงไปเล่นเพลงเปิดการแสดงหาเงินนั่นเอง
การยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกับยากูซ่าแล้วนั่นคือการร่วมดื่มเหล้าจากจอกเดียวกัน ที่เรียกว่า 盃を貰う Sakazuki wo morau 🍶 และการทานปลาหิมะ(鯛) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยินดี ให้นึกภาพชายญี่ปุ่นเป็นกลุ่มๆ ใส่กิโมโนสีดำน่าเกรงขาม นั่งล้อมวงเชิญชวนคนที่กลุ่มจะให้เข้าพวกโดยถ้ายอมรับการเข้าพวกก็ยกเหล้าจากจอกมาดื่มรวมกันเป็นอันเสร็จพิธี แต่ลุงนักเล่นหีบเพลงเล่าว่าวันนั้นที่กลุ่มยากูซ่าเชิญดื่มเหล้าร่วมสาบานนั้น ลุงก้มคำนับและร้องไห้เพื่อแสดงว่าไม่ขอเข้ากลุ่มด้วย แต่ก็จบด้วยดีลุงไม่เป็นอะไรและไม่ต้องเป็นยากูซ่า
พอผมนึกถึงเรื่องพวกนี้เห็นว่าเป็นอีกมุมในสังคมจริงที่ญี่ปุ่นที่บางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ทุกครั้งที่ผมนึกถึงเรื่องพวกนี้ผมเองก็รู้สึกสะเทือนใจบ้าง บางคนอาจมองว่าญี่ปุ่นดูสวยหรูสะดวกสบาย แต่ความจริงแล้วก็มีเรื่องราวหลากหลายครับ มีคนรวยคนจน มีคนติดหนี้ มีเด็กใฝ่สูงที่บังเอิญโชคชะตาไม่เข้าข้าง ต่างๆ นานา ผมจึงนึกถึงกลอนไฮกุที่ผมเคยเเต่งไว้เมื่อตอนอายุ 15 ปี บอกไว้ว่า
薪焚べる 炉のことことと 手風琴
Maki kuberu Ro no kotokoto to Tefuukin
โยนฟืนเข้ากองไฟ เสียงเตาสั่นไหว ฟังเสียงหีบเพลง
แสดงถึงความหนาวเหน็บในสังคมคนญี่ปุ่นต่างจังหวัด การนั่งร่วมผิงไฟจากเตาผิงสมัยก่อนที่ยังใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง การร่วมพูดคุยถึงเรื่องราวในชีวิต ความเยือกเย็นของอากาศ ท่ามกลางความเงียบแอบได้ยินเสียงถ่านเสียงกาน้ำสั่นไหวกุกกักๆ มีเสียงเพลงบรรเลง นี่แหละอีกหนึ่งในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น
วันนี้สวัสดีครับ