xs
xsm
sm
md
lg

“ค่ายปรับทัศนคติ” ประวัติศาสตร์ที่สหรัฐฯอยากจะลบ แม้ชนะสงครามญี่ปุ่น (ชมภาพ)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หากแต่ภายหลังสงครามยังมีมาตรการกักกันและควบคุมชาวญี่ปุ่นในสหรัฐฯในฐานะที่ไม่ต่างจากเชลยศึก ภายในค่ายกักกันอันกันดาร ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่สหรัฐฯอยากจะลบเลือนไป

โรซี่ มารูกิ คาคูชิ พลเมืองสหรัฐฯเชื้อสายญี่ปุ่น ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวที่เธอต้องกลายเป็นนักโทษในค่ายกักกันของสหรัฐฯ ในวัยเพียง 15 ปี โดยเธอบอกว่าถูกปฏิบัติไม่แตกต่างจากเชลยศึกชาติศัตรู ทั้งๆที่ครอบครัวของเธออพยพมาอยู่สหรัฐฯ อย่างถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ก่อนที่สงครามจะเริ่มต้น และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามแต่อย่างใด

หลังญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลก ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ออกคำสั่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1942 ให้จัดตั้งค่ายกักกันพลเมืองเชื้อสายญี่ปุ่นในหลายพื้นที่ตลอดแถบเวสโคสต์ โดยระบุว่า “จำเป็นต้องกักกันตัวผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นเพื่อป้องกันสายลับ และควบคุมความสงบภายหลังสงคราม”


ชาวญี่ปุ่นในสหรัฐฯ มากกว่า 1 แสนคนถูกควบคุมตัวเข้าไปอาศัยในค่ายที่เรียกว่า “ค่ายปรับทัศนคติ” ซึ่งดำเนินการโดยทหาร และทารุณเข้มงวดไม่แตกต่างจากค่ายเชลยศึก ค่ายเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นรวม 10 แห่งในหลายมลรัฐ ทั้งอริโซน่า, อะคันซอร์, แคลิฟอร์เนีย, โคโลราโด, ไอดาโฮ, ยูทาห์ และไวโอมิ่ง โดยเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในสถานที่ทุรกันดาร มีสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย

ค่ายปรับทัศนคติที่รู้จักกันดีที่สุด คือ ค่าย Manzanar ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาเซียร์ร่า เนวานา ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ถูกกักกันในค่ายล้วนแต่เป็นพลเมืองที่อาศัยในสหรัฐฯอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลายครอบครัวอพยพมาอเมริกาหลายชั่วคน และไม่เคยมีท่าทีว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลสหรัฐฯ แต่อย่างใด เหตุผลเดียวที่พวกเขาถูกกักกัน คือ มีเชื้อสายญี่ปุ่น เท่านั้น

โรซี่ มารูกิ คาคูชิ เล่าว่า สภาพอากาศภายในค่ายในร้อยเหมือนเตาไฟในฤดูร้อน และหนาวจับใจในฤดูหนาว โดยมีผู้ถูกกักกันตัวในค่ายแห่งนี้มากกว่า 10,000 คน ทำให้เหมือนเป็นเมืองขนาดย่อม ที่มีทั้งเนสเซอรี่รับเลี้ยงเด็ก, โรงเรียน, ร้านค้า, โรงพยาบาล และมีแม้กระทั่งศาลเจ้าและสุสาน

ผู้ใหญ่ที่อาศัยในค่ายต้องทำงาน โดยได้ค่ายตอบแทนเพียงเล็กน้อยเพื่อใช้ซื้อสิ่งของที่ทหารผู้ดูแลค่ายจัดสรรไว้

ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นหลายครอบครัวแต่งงาน,ให้กำเนิดทายาท หรือเสียชีวิตภายในค่ายกักกัน โดยภายในค่ายยังมีการจัดกิจกรรมเต้นรำ,ฉายภาพยนตร์ รวมทั้งทำหนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารด้วย

ถึงแม้จะไม่มีการลงโทษหรือทารุณใดๆ หากแต่ความเป็นอยู่ภายในค่ายนั้นมีสภาพแออัดและถูกจำกัดขอบเขต ที่พักที่เป็นเหมือนกระโจมแทบจะไม่สามารรถป้อกงันแสงแดดแผดเผา ลมหนาว และฝุ่นพายุทรายได้

บรรดาชาวญี่ปุ่นในสหรัฐฯ ถูกกักกันอยู่ในค่ายปรับทัศนคตินานเกือบ 3 ปี จนกระทั่งถูกปล่อยตัวในปี 1945 ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารได้ให้เงิน 20 ดอลลาห์และตั๋วรถไฟเพื่อเดินทางกลับบ้าน

ค่ายปรับทัศนคติถือเป็นการจำกัดเสรีภาพ และละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นในสหรัฐฯ เหล่านี้ไม่ได้ทำผิดกฎหมายใดๆ และไม่ใช่เชลยศึก รวมทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงคราม ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้ยอมรับประวัติศาตร์อัปยศนี้ในปี 1988 และจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ที่เคยถูกกักกันในค่ายคนละ 20,000 ดอลลาห์

ปัจจุบัน ค่ายปรับทัศนคติหลายแห่งได้เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเตือนใจสาธารณชนถึงความโหดร้ายของสงคราม ที่ส่งผลกระทบแม้กระทั่งคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ซึ่งต้องกลายเป็นแพะรับบาป เพียงแค่มีเชื้อสายของชาติปรปักษ์ผู้พ่ายแพ้เท่านั้น.

กำลังโหลดความคิดเห็น