1.ลมแดด (ฮีทสโตรก)
โรคดังกล่าวเกิดมาจากอาการที่เป็นลมจากอากาศร้อนจัด ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน หรือร่างกายอุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับ อาการขาดน้ำที่จะมาช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย และช่วยอุณหภูมิของร่างกายให้ปกติ นอกจากนี้เป็นเพราะมีการสูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปทางเหงื่อเป็นจำนวนมาก แล้วไม่ได้ดื่มน้ำเข้าสู่ร่างกายเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป จึงทำเกิดภาวะที่ทำให้ร่างกายช็อคจากการขาดน้ำได้
2.ตะคริวแดด
หากใครเป็นนักวิ่งหรือชอบออกกำลังกายในช่วงเวลาก็ตามของฤดูนี้ แน่นอนว่าจะต้องอยู่ในภาวะกลางแดดอยู่บ้าง ซึ่งจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นตะคริวแดดได้ โดยอาการดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายตะคริวปกติ ที่มีมีกล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง และรู้สึกปวด เจ็บในบริเวณที่เป็นตะคริวจนไม่อาจจะที่จะวิ่งต่อไปได้ โดยส่วนมากจะพบในบริเวณแขน ขา และ หลัง ซึ่งถ้ามีอาการดังว่า ให้หยุดวิ่ง และอยู่นิ่งๆ แล้วค่อยๆ ดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายและชดเชยน้ำ
3.เพลียแดด
การเป็นโรคเพลียแดดจะมีอาการคล้ายลมแดด อาจจะไม่ถึงขั้นมีอาการชัก หรือเป็นลมพบไปต่อหน้าต่อตา แต่ความอันตรายก็มีไม่แพ้กัน เพราะอาการนี้ สามารถเป็นการต่อยอดไปสู่อาการต่างๆ ได้ เช่น ปวดศีรษะ มึนหัว บานหมุน หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดแรง คลื่นไส้ หรือถ้าหนักขึ้นก็อาจจะขาดสติสัมปชัญญะไปบางส่วน ซึ่งอาจจะไปกระทบกับการทำงานในระหว่างวันก็เป็นได้
4.ผิวหนังไหม้เกรียมแดด
โรคนี้ สาวๆ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอย่างยิ่ง เพราะว่า หากบางครั้งบางครา ถ้ามีกิจกรรมนอกสถานที่ อย่างการไปเที่ยวทะเล หรือ ไปที่ต่างๆ แล้วลืมดูแลผิวพรรณของตนเอง อาจจะทำให้เกิดการไหม้เกรียมแดด จนทำให้ผิวลอกแล้วเกิดอาการแสบตามผิวหนังได้ ฉะนั้น หากออกนอกสถานที่แล้วคิดว่าเจอแดดแรงๆ แล้วละก็ ควรพกครีมแก้ผิวไหม้มาทาตามตัวไว้ดีที่สุด เพื่อที่จะไม่ต้องมากังวลในเรื่องดังกล่าวได้
วิธีป้องกันโรคต่างๆ ที่มากับหน้าร้อน
-ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี โปร่งสบาย และไม่รัดแน่นจนเกินไป
-หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหนาๆและสีเข้ม
X
-หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัดนานๆ
-ปกป้องร่างกายจากแดดด้วยการใส่หมวก กางร่ม สวมแว่นกันแดด หรือ ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ไม่เกิน 15 ซึ่งสามารถทาเพิ่มได้หากเหงื่อออกหรือว่ายน้ำ
-อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากๆ และดื่มเรื่อยๆ
-ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศอบอ้าว และอากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานาน เช่น ตามบ้านไม้มุงหลังคา สังกะสี หรือ ในรถที่ตากแดดนานๆ
-อย่าอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน และใช้เวลาสัมผัสแสงแดดให้น้อยที่สุด หรือ หากต้องทำงานกลางแดด ควรพักมาอยู่ในที่ร่มบ้าง
-หากมีอาการร้อนในร่างกาย เหงื่อไม่ออก คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ทีอาการงง พูดช้าลง เละเลือน เคลื่อนไหวช้า ควรรีบส่งแพทย์โดยด่วน