ข้าวเหลือง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกภาคอีสานมีปริมาณโฟเลต ซึ่งช่วยป้องกันโรคปากแหว่งเพดานโหว่ และป้องกันภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้จำนวนสูงถึง 100 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ขณะที่คนปกติต้องการโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม แต่ปัญหาคือข้าวสายพันธุ์นี้ค่อนข้างแข็งจึงต้องมีการศึกษาและพัฒนาให้ข้าวอ่อนนุ่มมากขึ้น
ข้าวเจ้าลอย หรือข้าวหนีน้ำมีปริมาณโฟเลตและฟอสฟอรัสต่ำเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ซึ่งเป็นที่ต้องการของกลุ่มแพทย์ แต่ปริมาณข้าวมีไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการของบประมาณเพื่อศึกษา
ข้าวกล่ำ มีสารแอนโทไซยานินสูง ซึ่งช่วยเรื่องผิวพรรณ ชะลอการเหี่ยวย่น ที่น่าสนใจคือมีความคล้ายคลึงกับข้าวดำของจีนที่สกัดเอาสารสำคัญไปให้หนูทดลองกินอย่างสม่ำเสมอ แล้วเอาดวงตาหนูไปจ่อกับรังสีอัลตราไวโอเลต เพื่อเร่งให้เกิดต้อกระจบ โดยพบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดจากข้าวดำมีดวงตาเป็นปกติ แต่หนูที่ไม่ได้รับสารพบว่าเรตินาถูกทำลายลง