xs
xsm
sm
md
lg

รู้หรือเปล่า? ในหมูหย็องมีสารฟอร์มาลีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


หากรู้เคล็ดลับว่าทำไมหมูหย็องถึงอยู่ได้นาน ไม่ขึ้นรา ไม่มีกลิ่นหืน เพราะกรรมวิธีสุดท้ายนั้นผ่านกระบวนการพ่นฟอร์มาลีนเพื่อคงสภาพเอาไว้ แน่นอนว่าเรื่องจริงจากปากคำของเจ้าของร้านหมูหย็องแห่งหนึ่ง ย่านเยาวราช อาจทำให้การบริโภคหมูหย็องของหลายๆ คนชะงักลง

ทีมข่าว Astv ผู้จัดการ Live รายงานว่า เจ้าของร้านหมูหย็องชื่อดังแห่งหนึ่ง ยอมรับว่ากระบวนการทำหมูหย็องของร้านตนขั้นตอนก่อนบรรจุถุงจำหน่าย ต้องผ่านการพ่นสารฟอร์มาลีนบางๆ ให้หมูหย็องคงสภาพเดิม เพื่อจะได้เก็บไว้จำหน่ายในระยะเวลาที่ได้นานขึ้น เท่ากับว่า แม้มีฉลากแสดงวันหมดอายุแต่ก็ไม่ได้การันตีว่านั้นเป็นของผลิตใหม่ อาจจะนำของเก่าค้างปีมาแพคเกจใหม่นำออกจำหน่ายก็เป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม ร้านหมูหย็องดังกล่าว ลักษณะเป็นกิจการครอบครัวเปิดให้บริการมาหลายปี มีทั้งลูกค้าขาประจำและขาจรที่แวะเข้ามาซื้อไม่ขาด เพราะราคาไม่แพงและรสชาติถูกปาก

กระบวนการผลิตหมูหย็องของร้านฯ ลูกค้าสามารถมองเห็นว่าทำกันสดๆ ใหม่ๆ โดยลูกจ้างแรงงานข้ามชาติประมาณ 4 คน แต่อุปกรณ์ที่ใช้ผลิตไม่ค่อยสะอาดมองเห็นสนิมและคลาบดำ

ไม่เพียงหมูหย็องเท่านั้นที่พ่นสารฟอร์มาลีน เจ้าของร้านฯ คนเดิม ยังเปิดเผยว่า หมูแผ่น, หมูฝอย ฯลฯ ที่จำหน่ายกันตามท้องตลาดเจาะจงที่ไม่มีตราสินค้ามักจะพ่นสารฟอร์มาลีนแทบทั้งสิ้น



ฟอร์มาลีนพิษสะสมเสี่ยงมะเร็ง
ในทางการแพทย์จะใช้ฟอร์มาลีนในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องผู้ป่วย และยังมีคุณสมบัติที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา ยังถูกนำไปใช้ในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยวและใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร

ซึ่งหากสูดดมฟอร์มาลีนเข้าไปจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ปอดอักแสบ น้ำท่วมปอด และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนผลต่อระบบผิวหนังคือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้ หรือเปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลีนโดยตรง
กำลังโหลดความคิดเห็น