การกระทำที่ว่ามานี้ถือเป็นแหล่งเพาะบ่มความเครียดตัวฉกาจ ตามการเปิดเผยของนักวิจัยจากอังกฤษ ซึ่งไม่ใช่แค่ว่าเจ้านายคุณอีเมล์มาหาแล้วคุณรีบเช็คจากสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่รวมถึงการต้องคอยเช็คข้อความที่เพื่อนส่งมาหาตลอดทั้งวันอีกด้วย แปลว่าการได้รับข้อความบ่อยๆ ทั้งจากเพื่อนหรือคนใกล้ตัว ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีเสมอไป มันเหมือนบังคับให้คุณต้องคอยเช็ค เนื่องจากสมาร์ทโฟนเด้งเตือนตลอดทั้งวี่ทั้งวันจากเวทีประชุมที่จัดขึ้นโดยสมาคมจิตวิทยาแห่งอังกฤษ (British PsychologicalSociety) มีการประชุมหัวข้อสมาร์ท-โฟนมีผลต่อการสร้างความเครียดของคนมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้สำรวจผู้ใหญ่ 100 คนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและพยายามตรวจสอบทางจิตวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับระดับความเครียดของคนใช้แล้วค้นพบว่า ใครก็ตามที่เช็คสมาร์ทโฟนของตัวเองบ่อยครั้งระดับความเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวในผลการศึกษายังชี้ชัดอีกด้วยว่ายิ่งใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเรื่องส่วนตัวเพิ่มขึ้นความเครียดจะเพิ่มตามไปด้วย อันนี้เกิดจากการที่โทรศัพท์คอยเตือนว่ามีข้อความส่งเข้ามา สมาร์ทโฟนจึงเปรียบได้กับดาบสองคม ผลการศึกษาย้ำว่า ยิ่งคนคนนั้นเครียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเช็คโทรศัพท์บ่อยขึ้นทุกทีๆ เท่ากับไปเพิ่มระดับความเครียดให้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ วิธีแก้ไขง่ายๆ ที่สามารถทำได้ก็คือใช้เวลากับสมาร์ทโฟนให้น้อยลง รู้จักปิดมันเสียบ้าง ตามการเปิดเผยของ ดร.ริชาร์ด บัลด์ดิง นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวอร์เซสเตอร์ (Worcester) ของอังกฤษบอกว่า จำเป็นต้องหาหนทางหนีห่างจากการเช็คโทรศัพท์ “ทุกคนต้องการพักผ่อนทั้งนั้น เมื่อคุณเกิดความตึงเครียด ย่อมไม่เป็นผลดีแน่ ความเครียดที่ผูกติดกับตัวเราจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับสิ่งรอบตัวในโลกแห่งการใช้ชีวิตจริงต่อไป เขายังบอกอีกด้วยว่า เจ้าของกิจการควรจะทราบด้วยว่าความเครียดส่วนหนึ่งของพนักงานนั้นเกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนเพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำคือเรียนรู้ที่จะจำกัดชั่วโมงการเปิดเช็คอีเมล์ ไม่ควรเปิดเช็คอีเมล์กันตลอดทั้งวัน “เมื่อเราเรียนรู้ว่าที่มาของความเครียดเกิดจากอะไรก็ต้องแก้ไขกันที่ต้นตอ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะปิดสมาร์ทโฟนเสียบ้างจึงเป็นสิ่งควรทำ ทำแล้วไม่รู้สึกผิด เจ้าของกิจการหรือองค์กรเองก็ต้องเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน