xs
xsm
sm
md
lg

ตะพาบยักษ์น้ำโขงฟักกว่า 130 ตัวในเขมร พบไข่ 660 ฟองรังอีก 35 แต่ชาวบ้านยังแอบเก็บขาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เจ้าหน้าที่ WCS ในกัมพูชากล่าวว่า ตะพาบทั้ง 132 ตัวฟักในรังจำนวน 20 รัง ที่ได้รับการดูแล แต่ในอีก 15 รังนั้น ไข่ถูกขโมยไปหมดแล้ว ก่อนจะไปพบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการลักลอบเก็บไข่ และล่าตะพาบอย่างผิดกฎหมาย ยังมีอยู่. -- Wildlife Conservation Society.  </a>

MGRออนไลน์ -- วงการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติต่างยินดีปรีดา เมื่อสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) ตีพิมพ์ในเว็บไซต์สัปดาห์นี้ เกี่ยวกับการพบ ไข่ของตะพาบน้ำพันธุ์ใหญ่เป็นจำนวนมาก ทางภาคตะวันออกของกัมพูชา และ ยังพบรังของตะพาบอีกหลายสิบรัง ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ทำให้มีความมั่นใจยิ่งขึ้น ต่อการดำรงอยู่ของตะพาบยักษ์แห่งทวีปเอเชียชนิดนี้ ถึงแม้ว่าจะยังมีการลักลอบจับอย่างผิดกฎหมายอยู่ก็ตาม

WCS กล่าวว่าไข่จำนวน 663 ฟอง กับรังอีก 35 รัง พบตามสันดอนทราย ริมแม่น้ำโขง ตลอดความยาวราว 48 กิโลเมตร ตั้งแต่ จ.สตึงแตรง (Stung Treng) ลงไปจนถึง จ.กระแจ๊ะ (Kratie) ในช่วงเดือนต้นปี ซึ่งเป็นฤดูแห่งการผสมพันธุ์และฤดูวางไข่ของตะพาบหัวกบ [Pelochelys cantorii] แต่องค์การนี้กล่าวว่า การลักลอบเก็บไข่ และการล่าตะพาบเพื่อนำไปขาย ก็ยังมีอยู่ต่อไป ซึ่งทำให้สัตว์ชนิดนี้่ ยังคงมีความเสี่ยง ที่จะสูญพันธุ์ได้ในอนาคต

"เราพบทั้งหมด 35 รัง แต่ไข่ใน 15 รังถูกลักเก็บไปอย่างผิดกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว เมื่อพวกเราไปถึง.." นายงวน จันตี (Nguon Chanti) ผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์ตะพาบน้ำหัวกบของ WCS กัมพูชากล่าว

"จนถึงเดือนมีนาคมนี้ มีตะพาบน้ำฟักเป็นตัวจำนวน 132 ตัว จาก 20 รัง ที่เราเฝ้ารักษา เราได้เลี้ยงดู และ จะนำไปปล่อยลงสู่แม่น้ำในเร็วๆนี้" นายจันตีกล่าว

ตะพาบหัวกบ ( Asian Giant Softshell) หรือ "กราวเขียว" หรือ "ปลาฝาออง" ในภาษาลาว เป็นตะพาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ตัวโตเต็มที่อาจยาวถึง 120 เซ็นติเมตร หนักเกือบ 100 กิโลกรัม มีลักษณะพิเศษคือ หัวใหญ่ ป้อมๆ และ ทู่ มีลำคอที่ยาว ยืดได้ ปากใหญ่ ฟันคม นัยน์ตาเล็ก ถูกบรรจุไว้ใน "บัญชีแดง" (The Red List) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยสหภาพอนุรักษ์ธรรมชาติระหว่างประเทศ หรือ International Union for Conservation of Nature และ ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่า ได้สูญพันธุ์ไปจากกัมพูชาแล้ว จนไปพบอีกครั้งเมื่อปี 2550 ในบริเวณเดียวกันนี้
.
<br><FONT color=#00003>ในลำน้ำสายสำคัญนี้ ช่วงที่ไหลผ่านกัมพูชา อย่างน้อยที่สุด ปีนี้ก็มี ปลาฝาออง เพิ่มขึ้นอีกกว่า 100 ตัว. </a>
WCS ในกัมพูชา ได้ร่วมกับกรมอนุรักษ์สัตว์น้ำ (Fisheries Conservation Department) จัดโครงการรณรงค์อนุรักษ์ตะพาบหัวกบ โดยให้ประชาชนในคอมมูนท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น ใน จ.สตึงแตร็ง กับ จ.กระแจ๊ะ มีส่วนร่วม และ ว่าจ้างประชาชน ที่เคยเป็นนักเก็บไข่ตะพาบเมื่อก่อนโน้น ให้ออกค้นหารัง และ ติดตามดูแลไข่กับลูกตะพาบ แทนการเก็บไข่ไปขายเช่นเมื่อก่อน

นายโอ๊ค วิบูลย์ (Ouk Vibol) อธิบดีกรมอนุกรักษ์สัตว์น้ำกล่าวว่า การเพิ่มความรับรู้ รวมทั้งการเข้ามีส่วนร่วมการอนุรักษ์ ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกับคอมมูนต่างๆ นับเป็นการแก้ปัญหาที่ดีมาก ในการปกป้องคุ้มครองสายพันธุ์ต่างๆ เอาไว้สำหรับชนรุ่นหลัง ขอได้โปรดช่วยกันอนุรักษ์ตะพาบหัวกบ โดยไม่ซื้อ ไม่รับประทานไข่ หรือเนื้อตะพาบ การเก็บไข่และจับตะพาบ เป็นการกระทำผิดกฎหมายในกัมพูชา" นายวิบูลย์กล่าว ระหว่างแถลงข่าวในกรุงพนมเปญ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวว่า ความต้องการในตลาดยังมีอยู่ ซึ่งได้ทำให้การลักลอบเก็บไข่ตะพาบ รวมทั้งลักลอบจับตัวไปขาย ยังดำรงอยู่ตลอดแนวชายฝั่งแม่น้ำ ระหว่างสองจังหวัด -- ขณะเดียวกันก็ยังมีภาคเอกชนอีกหลายกลุ่มหรือองค์กร ที่ร่วมโครงการอนุรักษ์ตะพาบหัวกบในกัมพูชา และ ยังจะต้องพยายามกันต่อไป เพื่อรักษาเอาไว้ให้ลูกหลาน.


กำลังโหลดความคิดเห็น