xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่าเตือน “เต่าพระราชา” ของกัมพูชาใกล้สูญพันธุ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ซึ่งถูกถ่ายขึ้นเมื่อวันที่ 3 ก.พ. เผยให้เห็นเต่าพระราชากำลังเดินอยู่บนทรายในจ.เกาะกง กลุ่มอนุรักษ์เตือนว่าแหล่งที่อยู่ของเต่ากำลังถูกทำลายเสียหายเพราะการขุดลอกทรายและการถางป่า ส่งผลให้การขยายพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้ลดลงและคาดว่าในปัจจุบันมีประชากรจำนวนเหลืออยู่ในป่าไม่ถึง 10 ตัว. -- Agence France-Presse/Wildlife Conservation Society/Som Sitha.</font></b>

เอเอฟพี - ความพยายามที่จะรักษา “เต่าพระราชา” ของกัมพูชา หนึ่งในสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดของโลก กำลังถูกขัดขวางจากการขุดลอกแม่น้ำ และถางป่าอย่างผิดกฎหมาย ตามการระบุของกลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่า

สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า และรัฐบาลกัมพูชาได้พยายามที่จะคุ้มครองเต่ากระอาน มาเป็นเวลามากกว่าทศวรรษ หลังจำนวนเต่าสายพันธุ์นี้ลดลงอย่างมาก

แต่ในคำแถลงของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ออกเมื่อวันจันทร์ (25) กล่าวว่า สมาคมเชื่อว่า สัตว์สายพันธุ์นี้เหลืออยู่ในป่าไม่ถึง 10 ตัว และประชากรเต่าที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่บางส่วนของแม่น้ำเสรอัมเบล สถานที่ที่เต่ายังคงใช้ขยายพันธุ์

ผู้ประสานงานโครงการท้องถิ่น กล่าวว่า ทีมงานได้เข้าสังเกตการณ์พบว่า การวางไข่ของเต่าลดลง ที่น่าจะเป็นผลจากการขุดลอกทรายเพิ่มขึ้น และการขนไม้ตามแหล่งวางไข่ และการถางป่าอย่างผิดกฎหมายซึ่งรบกวนเต่าตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์

“ในปีนี้พบหลุมวางไข่เพียงแห่งเดียว เทียบกับปีก่อนที่มีอยู่ 4 แห่ง เป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างมาก และหากแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์” ผู้ประสานงานโครงการ กล่าว

สัตว์สายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ชนิดนี้ ได้ชื่อว่า เต่าพระราชา เพราะไข่ของมันใช้สำหรับถวายแด่ราชวงศ์ของกัมพูชาเท่านั้น

ในปี 2544 สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า และกรมประมงกัมพูชาเริ่มโครงการอนุรักษ์ในชุมชน ด้วยการจ้างอดีตคนเก็บไข่เต่าช่วยค้นหา และปกป้องแหล่งวางไข่ แทนการเก็บไข่ นับตั้งแต่นั้น พบหลุมวางไข่ 39 แห่ง มีไข่รวมทั้งหมด 564 ใบ ไข่ได้รับการคุ้มครอง และฟักออกมา 382 ตัว

ลูกเต่าถูกเลี้ยงไว้ในพื้นที่ดูแลจนกระทั่งมีอายุหลายปีก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ แต่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า กล่าวว่า เมื่อแหล่งที่อยู่อาศัยลดลง โอกาสในการรอดชีวิตของสัตว์ก็ลดลงเช่นกัน

การตัดไม้ทำลายป่า และการรุกล้ำพื้นที่ได้ทำลายสัตว์หลายสายพันธุ์ในกัมพูชา ก่อนหน้านี้ เสือในกัมพูชาก็ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์

ในความเร่งรีบที่จะพัฒนาประเทศ รัฐบาลกัมพูชาถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่อนุญาตให้บริษัทต่างๆ เข้าเคลียร์พื้นที่ป่าหลายแสนไร่ รวมทั้งในพื้นที่สงวน เพื่อดำเนินกิจกรรมนานัปการ ตั้งแต่ทำไร่ยาง ไร่อ้อย ไปจนถึงการสร้างเขื่อนไฟฟ้า
กำลังโหลดความคิดเห็น