xs
xsm
sm
md
lg

อิเหนาสุดหล่อใช้ยางพาราแลก Su-35 คว้า 11 ลำ $1.41 พันล้าน แถมเป็นศูนย์ซ่อมอาเซียน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>Su-35 จำนวน 4 ลำ หมายเลข 03 04 05 กับ 06 ถูกส่งเข้าซีเรียเป็นครั้งแรก เมื่อต้นปี 2559 ผ่านสนามรบจริง และ ได้เผชิญหน้ากับ F-22 แร็ปเตอร์ (Raptor) เป็นครั้งแรกเมื่อปลายปีที่แล้ว -- อินโดนีเซียกำลังจะเป็น ลูกค้ารายที่ 2 และ เป็นรายแรกในกลุ่มอาเซียน.   </b>

MGRออนไลน์ -- กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เซ็นสัญญา จัดหาเครื่องบินรบแบบ Su-35 จำนวน 11 ลำ จากรัสเซีย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมพ่วงสัญญาการค้าต่างตอบแทนเป็นสินค้าการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ยางพารากับน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้จนล้น -- สองฝ่ายยังเซ็นสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งฝ่ายอินโดนีเซียได้สิทธิ์ ในการตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินรบซูคอยรุ่นต่างๆ ที่ใช้อยู่ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย -- จนได้รับการยกย่องให้เป็น "ดีล" ซื้่อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ยอดเยี่ยม

การเซ็นสัญญาจัดซื้อ-จัดหา จัดขึ้นในกรุงจาการ์ตา ตั้งแต่ 14 ก.พ.2561 สำนักข่าวโนวอสติ (RIA Novosti) ของทางการรัสเซีย รายงานเป็นครั้งแรก โดยอ้างแหล่งข่าว ต่อมาวันที่ 16 เรื่องนี้ก็ได้รับการยืนยัน จากโฆษกกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย และ กลายเป็นข่าวไปทั่วโลก ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี

แต่สื่ออินโดนีเซียสำนักหนึ่ง เพื่งรายงานเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ลงลึกในรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งเบื้องหลังการเจรจาอันยาวนาน ระหว่างสองฝ่าย -- ที่ได้รับการชื่นชมว่า เป็นเจรจาที่นำไปสู่ การสัญญาการซื้่อขายอันสุดยอด ที่สองฝ่ายต่างเป็นฝ่ายได้เท่าๆ กัน (Win/Win Agreement) ไม่มีฝ่ายใดได้ประโยชน์เพียงลำพัง ทั้งยังเป็นการสืบทอดทอดมิตรภาพ ที่มีมายาวนานระหว่างกันอีกด้วย

การใช้สินค้าทางการเกษตร ที่ผลิตได้อย่างล้นเหลือ แลกเครื่องบินรบชั้นนำรุ่นหนึ่ง อันเป็นที่หมายตาของหลายประเทศทั่วโลกนั้่น กำลังถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง -- ถึงแม้จะว่าฝ่ายซื้อ ยังจะต้องจ่ายเป็นเงิน อยู่ราวครึ่งหนึ่งของมูลค่ารวมก็ตาม -- แต่ก็ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศหนึ่ง ที่ขาดแคลนด้านงบประมาณ สามารถมีอาวุธดีๆ ไว้สำหรับการป้องกันประเทศ และ ประหยัดเงินตราได้อย่างมหาศาลอีกด้วย

เพราะฉะนั้นข่าว "ยางพารา-น้ำมันปาล์มแลกเครื่องบินรบ" ของอินโดนีเซีย จึงไม่ได้เป็นแค่ ข่าวกลาโหมเท่านั้่น หากยังเป็นข่าวเศรษฐกิจที่ดีอีกชิ้นหนึ่ง ในยุคที่สินค้าวัตถุดิบในตลาดโลกตกต่ำ -- สื่อในประเทศต่างโหมประโคมกันในช่วงไม่กี่วันมานี้
.

.
สัญญาการจัดหาเครื่องบินรบมูลค่า 1,140 ล้านดอลลาร์ ได้พ่วงกับสัญญาการค้าต่างตอบแทนอีกฉบับหนึ่ง ตามด้วย "สัญญาทางเทคนิค" ซึ่งว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับสินค้า ตามกฎหมายของอินโดนีเซีย -- นิตยสาร "คอมปาส" อันเก่าแก่ และ มีชื่อเสียง รายงานรายละเอียด อ้างการเปิดเผย พ.อ.โตต๊ก ซูกิฮาร์โต (Totok Sugiharto) ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสาร กระทรวงกลาโหม

"As previously agreed, this value is also accompanied by a return, offset, and technology transfer scheme." (มูลค่าจำนวนนี้พ่วงกับแผนการต่างตอบแทน หักลบ กับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามที่ตกลงกันก่อนหน้านี้) คอมปาสอ้างโฆษกกระทรวงกลาโหม ซึ่งหมายถึงผลการเจรจาเกี่ยวกับ การค้าต่างตอบแทนระหว่างสองฝ่ายเมื่อหลายเดือนก่อน และ การถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว

"Yes, yes, the Sukhoi purchase contract has been signed." (ถูกต้อง ถูกต้อง มีการเซ็นสัญญาซื้อซูคอยกันไปแล้ว) พ.อ.ซูกิฮาร์โต ตอบคำถามสื่อเมื่อวันศุกร์

แม้ว่าข่าวการซื้อขายต่างตอบแทน โดยแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตร ที่มียางพารากับน้ำมันปาล์มเป็นหลัก จะเคยมีการพูดถึงมาแล้ว แต่ประเด็นใหม่ในข้อตกลง ที่ไม่มีเคยมีการเปิดเผยมาก่อนเลยก็คือ การที่ฝ่ายรัสเซียยินยอมให้อินโดนีเซีย ตั้งศูนย์บริการ ทั้งอะไหล่และการซ่อมบำรุงเครื่องบินรบซูคอย เพื่อให้บริการทั้่งในประเทศ กับย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้รวมอยู่ในข้อตกลงถ่ายทอดเทคโนโลยี

สื่ออินโดนีเซียได้ขยายความประเด็นนี้ว่า -- ไม่เพียงแต่ Su-35 ล็อตนี้เท่านั้น ศูนย์ซ่อมบำรุงในอินโดนีเซีย ยังให้บริการแก่เครื่องบินรบ ในครอบครัว Su-27/30 ที่ใช้อยู่ในย่านนี้ทั้งหมดด้วย โดยประเทศต่างๆ สามารถส่งซ่อมในอินโดนีเซียได้ ตามมาตรฐานของบริษัทซูคอยผู้ผลิต โดยไม่ต้องส่งกลับ ไปซ่อมในรัสเซีย ซึ่งช่วยประหยัดได้อย่างมหาศาล
.
<br><FONT color=#00003>ดูใกล้เข้าไปอีกนิด หมายเลข 04 เหนือดินแดนซีเรีย เมื่อต้นปี 2559. </b>
<br><FONT color=#00003>ได้ชื่อเป็นเครื่องบินรบ ที่มีความแคล่วคล่องว่องไว คล่องตัวเป็นเลิศ ติดเขี้ยวเล็บได้มากมาย.  </b>
<br><FONT color=#00003>ลำนี้ไปงานดูไบแอร์โชว์เมื่อปีที่แล้ว แสดงให้เห็นท้ายเครื่องยนต์ติด เวคเตอริ่ง คอนโทรล ที่ช่วยให้คล่องแคล่วเป็นเลิศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังจะเป็นลูกค้ารายที่ 3. </a>
ปัจจุบันกองทัพอากาศอินโดนีเซีย มี Su-27 รุ่นย่อยต่างๆ กับ Su-30MKK รวมกันจำนวน 16 ลำ เมื่อรวมกับ Su-35 ที่เพิ่งจัดหาอีก 11 ลำ ก็จะเป็นทั้งหมด 27 ส่วนเวียดนามในปัจจุบัน มี Su-30MKV จำนวน 32 ลำ กับ Su-27 ที่อัปเกรดขึ้นเป็น Su-30 อีก 8 ลำ อยู่ระหว่างจัดหา Su-30MKV เพิ่มอีก 6 ลำ -- มาเลเซีย 18 ลำ กับรายล่าสุด คือพม่า ที่เพิ่งเซ็นซื้อล็อตแรก 6 ลำ เมื่อเดือนที่แล้ว -- รวมเป็น "ลูกค้า" ในย่านนี้เกือบ 100 ลำ -- ประเทศเจ้าของ สามารถไปใช้บริการ จากศูนย์ซ่อมที่จะจัดสร้างขึ้น ในอินโดนีเซียได้

นอกจากนั้น สัญญาซื้อขายที่เซ็นกันระหว่างตัวแทนกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย กับ ตัวแทนรัฐวิสาหกิจโรโซโบโรเน็กซ์ปอร์ต (Rosoboronexport) แห่งรัสเซีย ยังได้ระบุเงื่อนเวลาดำเนินการเอาไว้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการส่งมอบเครื่องบิน -- ซึ่งอินโดนีเซียจะได้รับ 2 ลำแรก ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่สัญญาซื้อขายมีผลบังคับ นั่นคือภายในเดือน ส.ค.2562 -- อีก 6 ลำ ใน 6 เดือนถัดไป ซึ่งก็คือ ก.พ.2563 และ 3 ลำสุดท้ายในเดือน ก.ค.ปีเดียวกัน

อินโดนีเซียจัดหา Su-35 ทั้ง 11 ลำ เพื่อใช้แทน F-5E/F "ไทเกอร์ 2" (Tiger II) ที่ซื้่อจากสหรัฐจำนวน 16 ลำ เมื่อปี 2525 หรือ 30 ปีก่อน -- กระทรวงกลาโหมแถลงข่าวเมื่อปีที่แล้ว ระบุว่าเครื่องบินเก่าทั้ง 16 ลำ ไม่มีลำใดใช้การได้ ซึ่งทำให้ฝูงบินต้นสังกัด ไม่มีเครื่องบินปฏิบัติการ มาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม -- เพราะฉะนั้นการที่รัสเซีย สัญญาจะทยอยส่งมอบ ให้ได้ครบทั้ง 11 ลำ ภายในเวลา 24 เดือน จึงนับเป็นเงื่อนไข ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ตัวเลข 11 ลำ ยังบอกให้รู้อีกว่า กำลังจะมีการจัดหาเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 5 ลำ ในอนาคต -- ครบตามจำนวนเครื่องบินรุ่นเก่า ที่ปลดไป

ข่าว "สินค้าเกษตรแลกเครื่องบินรบชั้นนำของโลก" ได้รับการยกย่อง จากประชามติในประเทศ เป็นอย่างมาก รวมทั้งจากบรรดานักสังเกตการณ์ ที่แสดงความเห็นผ่านเว็บไซต์ข่าวกลาโหมแห่งต่างๆ ในช่วงข้ามวันที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย การนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้า และ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี
.

ทั้งหมดนี้ อินโดนีเซียทำได้อย่างลงตัว โดยบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้สถานการณ์ที่เอื้ออำนวย กล่าวคือ ในขณะที่รัสเซียถูกโลกตะวันตกและสหรัฐ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หลังจากรัสเซียเข้าแทรกแซง ความขัดแย้งในแคว้นไครเมีย (Crimea) สาธารณรัฐยูเครน เมื่อต้นปี 2557 แคว้นนี้มีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย เนื่องจากเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในยุคสหภาพโซเวียต และ ในที่สุดรัสเซียยุคปัจจุบัน ก็ผนวกคาบสมุทรไครเมีย กลับไปเป็นของตนอีกครั้งหนึ่ง

ตามรายงานของสื่ออินโดนีเซีย จนถึงในขณะนี้ฝ่ายรัสเซีย ยังไม่ได้เจาะจง กำหนดว่าจะซื้อสินค้าชนิดใดบ้าง -- นายโอเคะ นูรวัน (Oke Nurwan) ปลัดกระทรวงการค้ากล่าวว่า ทั้งหมดจะสรุปกันภายในเดือนนี้ โดยก่อนหน้านี้อินโดนีเซีย ได้เสนอมากมายหลายชนิดให้เลือก คือ ยางแผ่น น้ำมันปาล์มดิบ (Crude palm oil หรือ CPO) เม็ดกาแฟ โกโก้ เนื้อมะพร้าวตากแห้ง ใบชา ปลา เครื่องเทศ ผ้าผืน รองเท้า พลาสติก ยางเรซิ่น กระทั่งเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง

รัฐสภาอินโดนีเซีย ได้ผ่านรัฐบัญญัติด้านกลาโหมฉบับหนึ่ง เมื่อปี 2555 ระบุให้การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศ จะต้องมีการคิดหักลบถัวเฉลี่ยขั้นต่ำ 85% ของมูลค่า และ ในนั้่น 35% เป็นการคิดถัวเฉลี่ยกันระหว่าง สินค้าวัตถุดิบ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การศึกษาอบอรม กับการฝึกอบรม ฯลฯ

นายโอเคะกล่าวว่า ด้วยข้อกฎหมายดังกล่าว จะทำให้อินโดนีเซียสามารถ ส่งสินค้าออก คิดเป็น 50% ของมูลค่าการซื้อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ในแต่ละครั้ง -- เช่นเดียวกันกับครั้งนี้ ซึ่งฝ่ายรัสเซียจะต้องซื้อสินค้า "วัตถุดิบ" จากอินโดนีเซีย รวมเป็นมูลค่า 570 ล้านดอลลาร์

ถึงแม้เจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย จะไม่ได้อธิบายในรายละเอียด ด้านข้อปฏิบัติที่ดูค่อนข้างสลับซับซ้อน ในการใช้กฎหมายฉบับนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นที่้ชัดเจนว่า -- อีกครึ่งหนึ่งที่ต้องจ่ายเป็นเงินสดนั้น นอกจากจะเป็นค่าเครื่องบินแล้ว รัสเซียยังพ่วงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้อีกด้วย -- ผู้ผลิตรายใดก็ตาม ที่ต้องการจำหน่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้แก่อินโดนีเซีย จะต้องปฏิบัติตามนี้
.

.
อาวุธล็อตใหญ่ แลกสินค้าการเกษตร แบบ "วัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่ง" ไม่ใช่เรื่องใหม่ เวียดนามเคยทำเป็นตัวอย่างมาก่อน -- การเจรจาซื้อขายเรือดำน้ำชั้นคิโล จากรัสเซียจำนวน 6 ลำ ที่นำไปสู่การเซ็นความตกลง มูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ในเดือน ธ.ค.2552 นั้่น มีการเปิดเผยในภายหลังว่า ฝ่ายเวียดนามจ่ายสดเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งจ่ายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ไม่เคยมีการเปิดเผยในรายละเอียด เกี่ยวกับประเภทและปริมาณ

นอกจากนั้น 50% ของมูลค่าที่ต้องจ่ายเป็นเงินสด ยังพ่วงเงื่อนไขที่ฝ่ายรัสเซีย จะต้องรับลูกเรือเวียดนามไปฝึกอบรม จำนวนหลายร้อยคน รวมทั้งเงื่อนไขการสร้างอู่จอดและอู่ซ่อม ที่ฐานทัพอ่าวกามแรง (Cam Ranh) ด้วย -- ซึ่งคล้ายกับกรณีซื้อขาย Su-30 ระหว่างรัสเซียกับอินโดนีเซียล่าสุดนี้เป็นอย่างยิ่ง

ยังไม่เคยมีการเปิดเผย เกี่ยวกับเงื่อนไขการซื้อขายเครื่องรบ Su-30MKV ระหว่างเวียดนามกับรัสเซีย ในช่วงปีต่อๆ มา ซึ่งได้รับมอบจนครบทั้ง 32 ลำ และ สื่อในรัสเซียรายงานว่า มีมูลค่าราว 2,500 ล้านดอลลาร์ -- หลายฝ่ายเชื่อว่า เป็นไปภายใต้ความตกลงที่มีเงื่อนไข แบบเดียวกันกับ การซื้อเรือดำน้ำ

สำหรับอินโดนีเซีย -- การซื้ออาวุธโดยฝ่ายรัสเซีย ซื้อสินค้าการเกษตรเป็นการต่างตอบแทนนั้น ได้เคยมีมาก่อน -- ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายปี 2555 ด้วยซ้ำ -- โดยมีบันทึกเอาไว้ว่า ในการจัดหาเครื่องบินรบ Su-27 จำนวน 2 ลำ Su-30MKK อีก 2 ลำ เมื่อปี 2546 นั้น อินโดนีเซียจ่ายค่าเครื่องบินส่วนหนึ่ง เป็นน้ำมันปาล์ม

ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจรอสเท็ค (Rostec) ซึ่งเป็นมุ้งใหญ่ของ อุตสาหกรรมกลาโหม กล่าวว่าอินโดนีเซีย เป็นลูกค้าขาประจำรายหนึ่งในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประวัติความเป็นมาก็เป็นเช่นนั้น
.
<br><FONT color=#00003>Su-35 ของจีนทะยานขึ้นจาก สนามบินแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศ ออกลาดตระเวนเหนือทะเลจีนใต้เป็นครั้งแรก เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา จีนเป็นลูกค้ารายแรก..  </a>
<br><FONT color=#00003>Su-35 อีกลำ บินอยู่เหนือทะเลจีนใต้เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา -- จีนเป็นลูกค้ารายแรก จัดหาทั้งหมด 24 ลำ มูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์.</b>
<br><FONT color=#00003>4 ลำบินเกาะกลุ่มกัน เหนือทะเลจีนใต้ เดือน ม.ค.2561 ถึงสิ้นปีที่ผ่านมา จีนได้รับมอบมา 2 ครั้ง รวม 14 ลำ.   </b>
อินโดนีเซียเป็นประเทศแรกๆในย่านนี้ เช่นเดียวกันกับเวียดนาม ที่มีเครื่องบิน มิก-19 กับ มิก-21 ใช้งาน ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น นอกจากนั้่นในช่วงปี 2537-38 ก็เกือบจะเป็นประเทศแรกในย่านนี้ ที่มี Su-30 ใช้ -- อินโดนีเซียเคยสั่งซื้อถึง 24 ลำ แต่วิกฤติการณ์ "ต้มยำกุ้ง" เมื่อปี 2540 ทำให้ต้องล้มเลิกการจัดหา

ปลายปี 2554 อินโดนีเซียกลับไปหา Su-30 อีกครั้งหนึ่ง โดยเซ็นซื้อจำนวน 6 ลำ มูลค่า 470 ล้านดอลลาร์ รัสเซียส่งมอบให้ 2 เที่ยว จนครบจำนวน เมื่อไม่กี่ปีมานี้

ส่วนแผนการจัดหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ทดแทน F-5E/F นั้น เริ่มในเดือน ม.ค.2547 กำหนดห้วงเวลาดำเนินการ ระหว่างปี 2558-2563 -- กองทัพอากาศ ได้เชิญผู้ผลิตเครื่องบินรบเข้าเจรจา รวม 6 รุ่นด้วยกัน คือ Su-35S, JAS39 "กริพเพน" (Gripen), ราฟาล (Dassault Rafale), ไต้ฝุ่น (Eurofigther Typhoon) กับ F-16C/D Block 60 โดยตั้งใจจะซื้อล็อตแรกจำนวน 10 ลำ

กระทรวงกลาโหมประกาศในเดือน ก.ย.2558 ว่า คณะกรรมการพิจารณา ตัดสินใจเลือก Su-35S แต่การเจรจากับรัสเซีย เจอปัญหา เนื่องจากฝ่ายหลัง ไม่ยอมถ่ายทอดเทคโนโลยี เพราะซื้อจำนวนน้อย และ อินโดนีเซียเห็นว่า เครื่องบินราคาสูงมาก

การเจรจามีขึ้นอีกหลายครั้ง และ ในเดือน พ.ค.2560 กระทรวงฯ ได้ประกาศว่า สองฝ่ายสามารถตกลงกัน เกี่ยวกับกระบวนการซื้อขาย เป็นที่เรียบร้อย -- แต่ต่อมาเดือน ส.ค. กระทรวงการค้าอินโดนีเซีย ได้ออกเปิดเผยเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับแผนการ "ยางพารา-น้ำมันปาล์มแลกเครื่องบินรบ" และ สองฝ่าย ยังคงเจรจากันเกี่ยวกับเรื่องนี้

ระหว่างงานสิงคโปร์แอร์โชว์ 2018 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรอสเท็ค ยืนยันว่าการเจรจาสองฝ่าย ยังเหลือเพียงรายละเอียดทางเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้่น และ จะเซ็นสัญญากันได้ในอีกไม่นาน --- ทั้งหมดได้นำมาสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.2561.


กำลังโหลดความคิดเห็น