xs
xsm
sm
md
lg

รัสเซียส่งเรือพิฆาต "มือปราบเรือดำน้ำ" เยือนสันถวไมตรีพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ไม่ใช่ครั้งแรกแต่เป็นครั้งสำคัญ เอกอัครรัฐทูตรัสเซีย เป็นประธานในการต้อนรับการเยือน และ ขึ้นเยี่ยมชมเรือพิฆาตแพนเทเลเยฟ 7 ธ.ค.2560 พม่าเป็นมิตรเก่าแก่ และ ยังเป็นลูกค้าสำคัญอาวุธยุทโธปกรณ์ ของค่ายโซเวียต/รัสเซีย อีกด้วย. </b>

MGRออนไลน์ -- เรือพิฆาตจากกองทัพเรือแปซิฟฟิกของกองทัพเรือรัสเซีย ซึ่งรู้จักกันดีที่สุดลำหนึ่งในย่านนี้ เข้าจอดที่ท่าเรือติลาวา (Thilawa) นครย่างกุ้งวันพฤหัสบดี 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา เริ่มการเยือนสันถวไมตรีพม่า -- มิตรเก่าแก่ -- เป็นเวลา 4 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นสายสัมพันธ์ทางด้านกลาโหม อันแนบแน่นและมีมาต่อเนื่องยาวนานระหว่างสองประเทศ

เรือแอดมิรัลแพนเทเลเยฟ (Admiral Panteleyev หรือ Panteleev) พร้อมเรือบอริส บูโทมา (Boris Butoma) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ หยุดแวะพม่าเป็นเวลา 4 วัน โดยได้รับการต้อนรับจาก นายนิโคเล ลิสโตปาดอฟ (Nikolay Listopadov) เอกอัครรัฐทูตรัสเซียประจำพม่า พร้อมด้วยผู้ช่วยทูตฝ่ายกลาโหม เจ้าหน้าที่สถานทูตจำนวนมาก เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ท่าเรือย่างกุ่ง

เฟซบุ๊กสถานทูตรัสเซีย รายงานสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมแสดงภาพกิจกรรม เกี่ยวกับพิธีต้อนรับ ที่จัดขึ้นบนดาดฟ้าเรือแพนเทเลเยฟ และ กระทรวงกลาโหมรัสเซีย ในกรุงมอสโก ได้รายงานเหตุการณ์เดียวกันนี้ในเว็บไซต์

สำนักข่าวของทางการรายงานในขณะเดียวกันว่า ผู้บังคับการเรือแพนเทเลเยฟ ได้นำคณะผู้แทนจำนวนหนึ่ง เข้าเยี่ยมคำนับผู้บัญชาการกองทัพเรือเขตอิรวดีของพม่า รวมทั้งเยี่ยมเยือนฝ่ายบริหารการท่าเรือนครย่างกุ้ง และ ยังจะเปิดให้สาธารณชนทั่วไป ได้ขึ้นชมเรือพิฆาตลำนี้ในวันศุกร์ 8 ธ.ค. -- ส่วนวันที่เหลืออยู่ ลูกเรือจะได้ขึ้นบก นั่งรถชมโบราณสถาน กับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของนครย่างกุ้ม รวมทั้งร่วมการแข่งขันกีฬามิตรภาพกับฝ่ายเจ้าภาพ ก่อนออกเดินทางต่อไปในวันที่ 10 ธ.ค

เรือแพนเทเลเยฟ กับเรือแอดมิรัลวิโนกราดอฟ (Admiral Vinogradov) ซึ่งเป็นเรือพิฆาตชั้นอูดาลอย (Udaloy-class) ด้วยกัน และ ประจำกองทพเรือแปซิฟิกด้วยกันอีกลำหนึ่ง พร้อมกับเรือบอริส บูโทมา ออกเดินทางจากฐานทัพวลาดิวอสตอก (Vladivostok) ในสัปดาห์ต้นเดือน ต.ค. เพื่อภารกิจลาดตระเวณ เขตแปซิฟิกตะวันตกตามปรกติ ซึ่งระหว่างนี้ไปแวะเยือนสันถวไมตรีประเทศบรูไนกับฟิลิปปินส์

เรือทั้งสองลำได้เข้าร่วมในเหตุการณ์อันเป็นประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ซึ่ง พล.อ.เซอร์เก ชอยกู (Sergei Shoiku) รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ทำพิธีส่งมอบอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่ง ให้แก่ฟิลิปปินส์ โดยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต เป็นประธานในการรับมอบ บนดาดฟ้าเรือแพนเทเลเยฟ

นับเป็นครั้งแรกที่มีเรือรบจากรัสเซีย ไปแวะเยือนอ่าวซูบิก ซึ่งในยุคสงครามเย็น เคยเป็นที่ตั้งฐานทัพขนาดใหญ่ของสหรัฐ หันหน้าเผชิญหน้ากับฐานทัพเรือสหภาพโซเวียต ที่อ่าวกามแรง (Cam Ranh) ในภาคกลางเวียดนาม
.


<FONT color=#00003>[ภาพแฟ้ม - เรือพิฆาตแอดมิรัลแพนเทเลเยฟ ในอ่าววลาดิวอสตอก]</b>


เรือวิโนกราดอฟ เดินทางกลับถึงฐานทัพวลาดิวอสตอก ในสัปดาห์ต้นเดือน พ.ย. ส่วนเรือแพนเทเลเยฟ ยังคงเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป รวมทั้งครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ คือ การเยือนสันถวไมตรีอินโดยนีเซีย ในปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนเดินทางเยือนพม่า

เรือแพนเทเลเยฟเป็นเรือรบรัสเซีย ที่รู้จักกันดีที่สุดลำหนึ่งในย่านนี้ เนื่องจากหลายปีมานี้ ได้ออกเยือนสันถวไมตรีหลายประเทศ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งการ เยือนฐานทัพเรือสัตหีบ ของไทย ในเดือน มี.ค.2558 ซึ่งในครั้งนั้นได้ ไปเยือนเวียดนาม กับมาเลเซียด้วย

อดีตสหภาพโซเยีตต่อเรือชั้นอูดาลอยทั้งหมด 13 ลำ ปัจจุบันยังคงเหลือประจำการอยู่เพียง 8 ลำ โดยจำนวนนี้มี 4 ลำ -- รวมทั้งเรือแอดมิรัลบทริบุตส์ (Admiral Tributs) กับเรือมาร์แชล (จอมพล) ชาปอชนิคอฟ (Marshal Shaposhnikov) ประจำกองทัพเรือแปซิฟิก -- จำนวนที่เหลืออีก 4 ลำ ประจำกองทัพเรือภาคเหนือ อ่าวฟินแลนด์

โซเวียต/รัสเซีย จัดเรือชั้นนี้เป็นเพียงเรือฟริเกต ต่อขึ้นตามโครงการที่เรียกว่า Project 1155 Fregat มุ่งภารกิจปราบเรือดำน้ำ และ สงครามผิวน้ำ แต่ในเวลาต่อมามีหลายลำติดระบบอาวุธ ที่เน้นการต่อต้านสงครามทางอากาศ และ เนื่องจากมีขนาดใหญ่โตถึง 6,930 ตัน จึงทำให้ค่ายตะวันตกกับสหรัฐ จัดให้เป็นเรือพิฆาต และ จัดชั้นให้ตามชื่อของเรือต้นในโครงการ ซึ่งได้แก่เรืออูดาลอย ซึ่งเป็นเพียงลำเดียว ที่ไม่ได้ตั้งชื่อตามอดีตแม่ทัพ หรือ นายทหารคนสำคัญของกองทัพเรือโซเวียต

เรืออูดาลอย ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2540.
กำลังโหลดความคิดเห็น