xs
xsm
sm
md
lg

นักอนุรักษ์เป็นปลื้มเจอนกกระเรียนไทยในเขตที่ราบใหญ่อิรวดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เคยมีอยู่แถบนี้ไม่ถึง 40 ตัว ก่อนหายหน้าไป และ  กลับมาให้เห็นอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ในเขตที่ราบอู่ข้าวอู่น้ำทางตอนกลางของพม่า ซึ่งนักปักษีวิทยากล่าวว่า ปัจจุบันทั่วประเทศเหลืออยู่ราว 500 ตัว. -- Courtesy of WCS Myanmar.</b>

MGRออนไลน์ -- นักปักษีวิทยาแห่งประชาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก หรือ Wildlife Conservation Society พากันยินดีปรีดา เมื่อมีการค้นพบไข่ของนกกระเรียนพันธุ์ไทย ในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ที่ครั้งหนึ่งเคยสูญพันธุ์ไปจากเขตอู่ข้าวอู่น้ำใหญ่แห่งนี้ ก่อนจะกลับไปปรากฎตัวอีกครั้ง แต่ก็มีจำนวนเพียงเล็กน้อย และ ยังถูกจัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกใกล้สูญพันธุ์ในพม่า

การาค้นพบเป็นความร่วมมือกันระหว่าง WCS กับ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยมอเบ็ง (Maubin University) เมืองมอเบ็ง ในเขตอิรวดี ในความพยายามที่จะคุ้มครองสัวต์ป่าหายาก

เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกับราษฎรในท้องถิ่น ในเขตชุ่มน้ำของที่ราบอิรวดี ค้นหาจนพบไข่นกกระเรียนจำนวน 2 ฟอง ในรังธรรมชาติ ที่แม่-พ่อ นกกะเรียนสร้างขึ้นมา จากหญ้า ซึ่งช่วยยืนยันว่ามีนกกระเรียนอยู่ในบริเวณนั้น หลังจากไม่มีผู้ใดเคยพบมานานกว่าสิบปี ทั้งไข่ทั้งนก

ก่อนหน้านั้นเคยมีการบันทึกเอาไว้ว่า มีนกกระเรียนพันธุ์ไทย อยู่ในเขตชุ่มน้ำรอบๆ เมืองมอเบ็ง ปันตะนอ (Pantanaw) เองเม (Aeinme) กับ เมืองวากะเม (Wakame) เมืองเล็กๆ ในอาณาบริเวณเดียวกัน รวมเป็นจำนวนเพียง 37 ตัวเท่านั้น สำนักข่าวของทางการรายงานอ้าง นายเต๊ตซอนาย (That Saw Naing) นักปักษีวิทยาแห่ง WCS

นายนายกล่าวอีกว่า ปัจจุบันอาจจะมีนกกระเรียนพันธุ์นี้ ราว 500 ตัวในทั่วประเทศ ประชากรของนกลดลงเป็นอย่างมาก ไม่เฉพาะในพม่าเท่านั้น หากยังพบเห็นน้อยลง ในประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้ทั้งมวล

"ปีนี้เราพบนกกระเรียนกลุ่มใหญ่ในแถบนี้ ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากราษฎรในท้องถิ่น เราจะต้องเริ่มโครงการอนุรักษ์เพื่อช่วยเหลือนก มิให้สูญพันธุ์จากเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี" นักปักษีวิทยาคนเดยวกันกล่าว

นกกพะเรียนพันธุ์ไทย (Sarus Crane) หรือ "นกกะเรียนพันธุ์ตะวันออก" (Eastern Crane) เป็นนกประจำถิ่น ไม่ใช่นกอพยพตามฤดูกาล มีลักษณ์โดดเด่นที่ส่วนหัวกับหลังคอ เป็นสีส้มจัดหรือสีแดง ตัวโตเต็มที่อาจจะสูงถึง 180 เซ็นติมเตร เป็นสัตว์ปีกที่งามสง่า เคยพบเห็นได้ทั่วไปในเขตป่าชุ่มน้ำที่สะอาด และมีอาหารบริบูรณ์ ในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในอดีตนั้น คนกับนกอาศัยอยู่ดวยกันได้

แต่ในยุคใหม่ผู้คนรุกล้ำถิ่นอาศัย หากินและวางไข่ของนก ทำให้ล้มตายจำนวนมาก นกต้องอพยพไปหาแหล่งใหม่ ทำให้กลายเป็นสัตว์หายาก และ ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าสูญไปจากประเทศไทย แต่ยังคงมีปรากฎ ให้เห็นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกมัพูชา และ ภาคใต้เวียดนาม

อย่าไรก็ตามเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไทยประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูนกกระเรียนจากการเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี และนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติ ใน จ.บุรีรัมย์ ทำให้ไทยมีนกกะเรียนในป่าอีกครั้งหนึ่ง.
.
<br><FONT color=#00003>คงไม่มีใครได้เห็นภาพสวยๆ ของนกกระเรียนพันธุ์ไทยมานานแล้ว อ่านเรื่องราวอื่นๆ <a href=http://www.adaymagazine.com/interviews/dialogue-33>คลิกที่นี่ </a> อันเป็นแหล่งที่มาของภาพสวยนี้่. </b>
2
<br><FONT color=#00003>แผนภูมิในเว็บไซต์ Birdlife.Org แสดงถิ่นอาศัยของนกกระเรียนพันธุ์อินเดีย กับนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่มีทั้งความคล้ายกัน และต่างกัน นอกจากในย่านนี้แล้ว ยังพบในเขตร้อนทางตอนเหนือของออสเตรเลียอีกด้วย. </b>
3
กำลังโหลดความคิดเห็น