MGRออนไลน์ -- นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน กับนายกรัฐมนตรีลาวทองลุน สีสุลิด ได้ตกลงถอนทหารของแต่ละฝ่าย ออกจากบริเวณชายแดนพิพาทให้หมด ไม่เกินเช้าวันอาทิตย์ 13 ส.ค.นี้ โดยผู้นำกัมพูชาตกลง สั่งทหารที่เคลื่อนกำลังเข้าชายแดน คืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ให้กลับคืนกรมกอง และ ที่ตั้ง อันเป็นผลจากการพบเจรจาระหว่างสองผู้นำ ตอนเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาในนครเวียงจันทน์ นี่คือรายงานล่าสุดโดยสื่อของทางการลาว ตอนค่ำวันเดียวกัน
ฮุนเซนเดินทางเข้าเมืองหลวงของลาวเป็นการด่วน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาพิพาทชายแดนด้าน จ.สะตรึงแตร็ง กับแขวงอัตตะปือของลาว ที่มีมายาวนาน โดย นรม.กัมพากล่าวหาฝ่ายลาวเมื่อวันศุกร์ว่า เพิกเฉยต่อการเรียกร้องตลอดมา ทหารลาวนับร้อยคนข้ามลำน้ำเซกอง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนธรรมชาติ เข้าไปยังดินแดนกัมพูชา ขัดขวางการสร้างถนนสายหนึ่งในบริเวณดังกล่าว ปัจจุบันทหารลาวราว 30 คน ยังประจำอยู่ที่นั่น
ฮุนเซนอ้างว่าได้ส่งสาสน์ฉบับหนึ่งถึง ดร.ทองลุน เมื่อเร็วๆ นี้ และ ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ และ ได้ขีดเส้นตาย ให้ลาวถอนทหารทั้ง 30 คนออกไปภายใน 6 วัน (ภายในวันที่ 17 ส.ค.) พร้อมสั่ง พล.อ.เตียบัญ รัฐมนตรีกลาโหม กับ พล.อ.พลสะเรือน ผู้บัญชาการกองทัพ ให้เคลื่อนกำลังพลจาก ที่ตั้ง 2 แห่ง ใน จ.พระวิหาร กับ จ.สะตึงแตร็ง เข้าชายพิพาท ด้าน อ.เสียมปาง
อย่างไรก็ตาม ผู้นำลาวเปิดเผยระหว่างการร่วมแถลงข่าวกับ นรม.กัมพูชา ในเช้าวันเสาร์ว่า ไม่เคยได้รับ "จดหมาย" ดังกล่าวของผู้นำกัมพูชา สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานเรื่องนี้ตั้งแต่วันศุกร์ ทั้งระบุว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังติดต่อประสานงานกัน เพื่อหาทางคลี่คลายความตึงเครียด
"ສອງຝ່າຍໄດ້ປຶກສາຫາລື ກ່ຽວກັບ ແນວທາງແກ້ໄຂບັນຫາຊາຍແດນຮ່ວມກັນ ຢູ່ລະຫວ່າງແຂວງອັດຕະປືຂອງລາວ ແລະ ແຂວງຊຽງແຕງ (เชียงแตง/สะตึงแตร็ง) ຂອງກຳປູເຈຍ ຢ່າງກົງໄປກົງມາ ຖານມິດຕະພາບ, ບ້ານພີ່ເມືອງນ້ອງ, ການພົວພັນຮ່ວມມືທີ່ດີ ແລະ ມີມູນເຊື້ອອັນດີງາມນຳກັນ.." ขปล. รายงานบรรยากาศการพบปะ ระหว่างสองผู้นำในตอนเช้าวันเสาร์ รายงานชิ้นเดียวกันนี้ ถูกนำเสนอทางวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ กับโทรภาพแห่งชาติ ตอนค่ำวันเดียวกัน
"สองฝ่ายได้ตกลง เห็นดีจะแก้ไขปัญหาชายแดนร่วมกัน ด้วยความเอาใจใส่ และ อย่างสันติ เพื่อมิไม่ให้เกิดการปะทะกัน ทางด้านกำลัง พร้อมทั้งเป็นการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเพื่อผลประโยชน์ร่วม ของทั้งสองประเทศ เช่นเดียวกับประชาชนสองชาติที่อยู่ ตามแนวชายแดน"
.
1
"ໃນນັ້ນ, ຝ່າຍລາວເຫັນດີຈະຖອນກຳລັງທະຫານ ທີ່ບໍ່ທັນຖອນໝົດ ພາຍຫຼັງທີ່ສົມເດັດ ຮຸນເຊນ ໄດ້ສັ່ງໃຫ້ຢຸດ ໃນການສ້າງເສັ້ນທາງເຂົ້າໄປເຂດນັ້ນ ໃຫ້ຖອນອອກໝົດ ຈາກບໍລິເວນຊາຍແດນທີ່ຍັງຄົງຄ້າງ ໃຫ້ກັບຄືນກົມກອງ ແລະ ທີ່ຕັ້ງເດີມ ບໍ່ໃຫ້ກາຍຕອນເຊົ້າຂອງວັນທີ 13 ສິງຫາ 2017.."
"ສ່ວນຝ່າຍກຳປູເຈຍ ກໍ່ເຫັນດີຈະຖອນກອງກຳລັງທະຫານ ທີ່ໄປສະສົມໄວ້ໃນເຂດນັ້ນກັບຄືນກົມກອງ ເພື່ອເຮັດໃຫ້ ສະຖານະການຄວາມເຄັ່ງຕຶງ ກ້າວເຂົ້າສູ່ຄວາມເປັນ ປົກກະຕິ ເພື່ອສ້າງຄວາມໝັ້ນໃຈໃຫ້ແກ່ປະຊາຊົນ ທັງສອງ ປະເທດ ແລະ ຈະບໍ່ໃຫ້ເກີດເຫດການທີ່ບໍ່ເພິ່ງປາຖະໜາ"
กระทรวงการต่างประเทศของสองฝ่าย กับคณะกรรมการชายแดนร่วมลาว-กัมพูชา, กัมพูชา-ลาว จะสืบต่อการปรึกษาหารือ และ เจรจาแก้ไขปัญหาชายแดน ที่ยังคงค้าง และ ยังไม่ได้ปักหลักเขตแดนร่วมกัน ให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้ โดยอิงผลสำเร็จก่อนหน้านั้น อิงเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ที่สองฝ่ายตกลงยอมรับแล้ว รวมทั้งสนธิสัญญา และ แผนที่ของทั้งสองประเทศ เป็นพื้นฐานในการปรึกษาหารือกันต่อไป ทั้งนี้เพื่อทำให้ชายแดนสองประเทศ เป็นชายแดนแห่งสันติภาพ มิตรภาพ การร่วมมือ และการพัฒนา และ ทำให้การปักหลักหมายชายแดน เป็นมรดกตกทอดไว้ให้ลูกหลาน
ผู้นำลาวและกัมพูชา ยังเห็นพ้องกัน จะปรึกษาหรือ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นปรกติ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างสองประเทศ
วันเดียวกัน นรม.กัมพูชาได้เข้าเยี่ยมคำนับ นายบุนยัง วอละจิต ประธานประเทศแห่ง สปปป.ลาว และ เลขาธิการใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาว โดยผู้นำสูงสุดของลาว ได้ชื่นชมผลการแก้ไขปัญหาอย่างทันการ ระหว่างสองนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ขปล.กล่าว.
.
ภาพที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ภาษาเขมร ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นทหารหน่วยหนึ่ง ซึ่งเชื่่อกันว่าเป็นทหารจากกองพลน้อย 21 จ.สะตึงแตร็ง เคลื่อนเข้าสู่บริเวณหมู่บ้านโออาไม ( O Amay) คอมมูนสันติภาพ อ.เสียมปาง ติดชายแดนแขวงอัตตะปือของลาว ซึ่งเป็นดินแดนพิพาท -- นรม.กัมพูชา ฮุนเซน เปิดเผยก่อนหน้านั้นว่า ทหารอีกหน่วยหนึ่งจะไปจาก กองพลแทรกแซงที่ 2 (Intervention Division 2) ที่ตั้งอยู่ใน จ.พระวิหาร ติดชายแดนไทย. |
2
3
4