xs
xsm
sm
md
lg

เวียดพี้ยาพังศูนย์บำบัดอีกรอบ ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาคุมสถานการณ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามที่จะป้องกันผู้ติดยาเสพติดหลบหนีออกจากศูนย์บำบัดในจ.ด่งนาย จนเกิดการปะทะกัน และเจ้าหน้าที่ได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าควบคุมสถานการณ์ ซึ่งศูนย์บำบัดแห่งนี้เคยเกิดเหตุผู้เสพยาพังศูนย์หลบหนีมาแล้วครั้งหนึ่ง. --  Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ตำรวจเวียดนามยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ติดยาเสพติดหลายสิบคนที่พยายามจะหลบหนีออกจากศูนย์บำบัดในวันนี้ (7) เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังผู้เสพยาจำนวนมากพังศูนย์บำบัดแห่งเดียวกันนี้หลบหนีไปเป็นจำนวนมาก

ผู้ติดยาเสพติดในเวียดนามถูกบังคับให้ต้องเข้ารับการบำบัดเป็นเวลา 2 ปี ในศูนย์บำบัดทั่วประเทศ แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้ร้องเรียนถึงสภาพของศูนย์บำบัดที่ย่ำแย่ และแออัดเหล่านั้น

ภาพถ่ายในสื่อท้องถิ่นเผยให้เห็นแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมอุปกรณ์ปราบเหตุจลาจลที่บริเวณศูนย์บำบัด จ.ด่งนาย ทางภาคใต้ของประเทศ ขณะที่ผู้ติดยาหลายคนปีนรั้ว และหลังคาอาคารของศูนย์บำบัด

ผู้ติดยาเสพติดบางคนโยนรองเท้า เก้าอี้พลาสติก และรถจักรยานใส่เจ้าหน้าที่ และตำรวจได้ขว้างแก๊สน้ำตาเข้าไปในศูนย์ และมีจุดหนึ่งที่ผู้ติดยาจำนวนมากวิ่งเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ

“มันโกลาหลมากๆ ตำรวจถูกระดมกำลังมาเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์” เจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งกล่าว หลังเกิดเหตุปะทะ ซึ่งเกิดขึ้นหลังมีการชุมนุมประท้วงที่ศูนย์บำบัดในวันอาทิตย์ (6)

มีผู้ติดยาอย่างน้อย 100 คน หลบหนีออกไปจากศูนย์ตั้งแต่วันอาทิตย์ ตามการรายงานของสื่อ แต่เจ้าหน้าที่จับกุมตัวไว้ได้หลายคน

ตำรวจนายหนึ่งกล่าวว่า เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วงบ่าย แต่ยังมีผู้ติดยาอีกหลายสิบคนที่ยังคงหลบหนีลอยนวล

ศูนย์บำบัดใน จ.ด่งนาย แห่งนี้มีผู้อาศัยอยู่มากถึง 1,500 คน หรือ 2 เท่าของความจุ ตามการรายงานของสื่อท้องถิ่น

“ผมมีครอบครัว แต่ผมถูกบังคับให้อยู่ที่นี่ เราต้องการออกไป” สื่อท้องถิ่นรายงานอ้างคำกล่าวของผู้ติดยารายหนึ่ง

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีผู้ติดยามากกว่า 500 คน พังศูนย์บำบัดแห่งเดียวกันนี้หลบหนีไปตามถนนสายต่างๆ สร้างความแตกตื่นให้แก่ประชาชนทั่วไป เวียดนามมีผู้เสพยามากกว่า 200,000 คน ที่ส่วนใหญ่เสพเฮโรอีน และเกือบ 13,000 คน เข้ารับการรักษาในศูนย์บำบัด ตามตัวเลขของทางการ

ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการรักษาโดยสมัครใจได้ ทั้งที่สถานบำบัดของเอกชน และของรัฐ แต่ฮิวแมนไรท์วอชวิจารณ์สภาพของศูนย์บำบัดของเวียดนามเหล่านี้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติแนะนำให้ทางการเวียดนามปิดศูนย์บำบัด.
.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น