xs
xsm
sm
md
lg

CARAT 2016 กัมพูชา-สหรัฐเริ่มขึ้น หลังเรือรบจีนจากไปเพียงไม่นาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>นาวิกโยธินสหรัฐ กำลังฝึกซ้อม วิ่ง-ว่าย-วิ่ง (run-swim-run) กับทหารเรือกัมพูชา ที่สีหนุวิลล์ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา อันเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกร่วม CARAT ครั้งที่ 7 ระหว่างกองทัพสองประเทศ สหรัฐมีความร่วมมือในการฝึกซ้อม ภายใต้รหัสเดียวกันนี้กับ 9 ประเทศในย่านนี้ รวมทั้งไทยด้วย. -- US Navy/PO 1st Class Benjamin A Lewis </b>

MGRออนไลน์ -- สัปดาห์นี้่กองทัพเรือกัมพูชากับกองทัพเรือที่ 7 สหรัฐ กำลังฝึกซ้อมความร่วมมือทางทะเล CARAT (Cooperation Afloat Readiness and Training) ประจำปี ซึ่งเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน อันแสดงให้เห็นความพยายามของกัมพูชา ในการสร้างสมดุลในความสัมพันธ์กับชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างจีนและสหรัฐ

การฝึก CARAT 2016 จัดขึ้นที่บริเวณฐานทัพเรือเรียม (Ream หรือ "ราม") ในทะเลอ่าวไทย จังหวัดพระสีหนุ และ มีขึ้นเพียงข้ามสัปดาห์หลังจาก จีนส่งเรือฟริเกตลำหนึ่งพร้อมเรือติดตาม เยือนเมืองท่าสีหนุวิลล์ที่อยู่ติดกัน ซึ่งในวันเดียวกันสหรัฐได้ส่งเรือจู่โจมยกพลขึ้นบกอีกลำหนึ่ง ไปแวะเยือนท่าเรือแห่งเดียวกันนี้

ทุกๆ ปีสหรัฐจัดการฝึกซ้อม CARAT กับพันธมิตรในย่านนี้อีกหลายประเทศ รวมทั้งไทยด้วย และ ถึงแม้ว่าเนื้อหาการฝึกซ้อม จะเน้นหนักไปทางการช่วยเหลือกู้ภัย การรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน การรักษาพยาบาล และ ไม่ได้มีเรื่องใดเกี่ยวข้อง กับยุทธวิธีการรบและการสงครามก็ตาม การฝึกอำนวยให้เกิดประโยชน์ ในด้านความพร้อมของกองทัพ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างคู่ฝึก

รายงานที่เผยแพร่ในเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐ กล่าวว่าการฝึกที่เริ่มตั้งแต่ 31 ต.ค.เป็นต้นมา มีกำลังพลจากหน่วยทหารก่อสร้างกองทัพเรือหรือ "ซีบีส์" (Seabees) หน่วยทหารกู้วัตถุระเบิด (Explosive Ordnance Disposal Mobile Unit) หรือ EODMU หน่วยตรวจการณ์ลำน้ำ (Coastal Riverine Group) หรือ CRG หน่วยแพทย์เพื่อการป้องกันและสภาพแวดล้อม (Navy Environmental and Preventive Medicine Unit) หรือ NEPMU และ ทหารจากกองพันนาวิกโยธินที่ 2 และ 3 ซึ่งจะทำการฝึกกับทหารเรือกัมพูชา ตลอดสัปดาห์นี้

ตามรายงานที่เผยแพร่โดยสถานทูตสหรัฐในกรุงพนมเปญ การฝึกร่วมสองฝ่ายยังรวมถึงทักษะการปฏิบัติการหลายเรื่อง รวมทั้งการฝึกยกพลขึ้นบกอีกด้วย ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับ การรบมากที่สุด แต่ก็เป็นมาตรฐานเดียวกันที่สหรัฐ ฝึกร่วมกับ CARAT กับมิตรประเทศอื่นๆ ในย่านนี้

รายงานของสถานทูตสหรัฐระบุว่า มีทหารเรือกับนาวิกโยธินสหรัฐ เข้าร่วมการฝึกจำนวน 150 นาย ทหารเรือกับเจ้าหน้าที่กัมพูชาอีกราว 200 นาย วงดนตรีของกองทัพเรือที่ 7 (US 7th Fleet Band) เปิดการแสดงคอนเสิร์ทหลายรอบ เพื่อบริการชุมชน และ สถานศึกษาในเขตเมืองเรียม และสีหนุวิลล์

เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการฝึก CARAT สหรัฐ-กัมพูชาปีนี้ ขนไปล่วงหน้าโดยเรือมิลลิน็อคเก็ต (USNS Millinocket, T-EPF-3) ซึ่งเป็นเรือเร็วขนส่งชั้นสเปียร์เฮด (Spearhead-Class) ท้องกลวงแบบคาตามาราน (Catamaran) ทันสมัยที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่ประจำในย่านอินโดเอเชียแปซิฟิก และ เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
.
<br><FONT color=#00003>นาวิกโยธินสหรัฐกำลังฝึกซ้อมกู้ภัยเรือล่ม กับทหารเรือกัมพูชา ที่บริเวณอ่าวสีหนุวิลล์ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อความพร้อมทางทะเล รายงานของกองทัพเรือสหรัฐ CARAT 2016 ยังรวมทั้งการฝึกยกพลขึ้นบก อันเป็นอีกเนื้อหาหนึ่ง ที่สหรัฐฝึกกับพันธมิตร 9 ประเทศในย่านนี้. -- US Navy/PO 1st Class Benjamin A Lewis. </b>
2
เรือมิลลิน็อคเก็ตยาว 103 เมตร กว้างสุด 28.5 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 43 น็อต หรือ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่กินน้ำลึกเพียง 3.8 เมตร ทำให้สามารถปฏิบัติการสนับสนุนในเขตชายฝั่งได้อย่างคล่องตัว บนเรือยังบรรทุกเฮลิคอปเตอร์แบบ "ซีฮอว์ก" ได้อีก 1 ลำ

ภาพที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นว่าเรือเร็วขนส่งรุ่นนี้ ยังสามารถดัดแปลงพื้นที่ลานจอด ฮ.ทางท้ายเรือ เป็นที่ ติดตั้งระบบปืนใหญ่นำวิถีแบบแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ หรือ "เรลกัน" (Rail Gun) ในอนาคตได้อีกด้วย

ทุกๆ ปีสหรัฐได้ทะยอยทำการฝึก CARAT ร่วมกับอีกหลายประเทศ ซึ่งรวมทั้ง บังกลาเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินสน์ สิงคโปร์ และ ติอมร์เลสเตอีกด้วย การฝึกร่วมกับกองทัพกัมพูชา ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2553 แต่สำหรับอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ไทยดำเนินมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว โดยไม่ขาดช่วง

หลายปีมานี้จีนได้กลายเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กัมพูชารายใหญ่ที่สุด ตั้งแต่พื้นฐานที่สุดคือ รองเท้าบู๊ตกับเครื่องแบบ ไปจนถึงอาวุธปืนเล็กยาวประจำกาย รถบรรทุกทหาร จรวดชุด ปืนใหญ่ เครื่องบินขนส่ง และ เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ ซึ่งเป็นการจัดหา "ฮาร์ดแวร์" ทางการทหารครั้งแรก ของกองทัพกัมพูชา นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตที่เคยเป็นสปอนเซอร์หลัก ถึงแก่กาลพังทะลายลง

หลายปีมานี้จีนยังช่วยเหลือกัมพูชา ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อีกจำนวนมาก รวมทั้งโรงเรียนนายร้อยหลังใหม่ เป็นการช่วยเหลือทั้งในรูปแบบให้เปล่า และเป็นเงินกู้ผ่อนปรน ระยะยาว พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาเปิดเผยเมื่อเดือนที่แล้วว่า จีนตกลงให้ความช่วยเหลือกัมพูชา พัฒนาขีดความสามารถทางอากาศ นั่นคือ กองทัพอากาศกัมพูชา กำลังจะมีเครื่องบินขับไล่โจมตีอีกครั้งหนึ่ง

นายทหารของกองทัพอีกคนหนึ่ง ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ ในเวลาต่อมาว่า จีนกำลังจะช่วยกัมพูชาติดตั้ง ระบบจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานอีกด้วย.
.

<FONT color=#00003>US Navy/PO 1st Class Benjamin A Lewis</b>
3
<FONT color=#00003>US Navy/PO 1st Class Benjamin A Lewis</b>
4
<FONT color=#00003>US Navy/CPO Lowell Whitman</b>
5
<FONT color=#00003>US Navy/CPO Lowell Whitman</b>
6
<FONT color=#00003>US Navy/MCS 2nd Class Joshua Fulton </b>
7
<FONT color=#00003>US Navy/MCS 2nd Class Joshua Fulton </b>
8
<FONT color=#00003>US Navy/MCS 2nd Class Joshua Fulton </b>
9
กำลังโหลดความคิดเห็น