xs
xsm
sm
md
lg

ต่างชาติชื่นชมรัฐบาลซูจีเดินหน้าปฏิรูปเหมืองหยกเพิ่มความโปร่งใส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2558 เผยให้เห็นรถขุดดินทำงานอยู่ในพื้นที่เหมืองหยก ในเมืองผากัน รัฐกะฉิ่น อุตสาหกรรมมูลค่า 31,000 ล้านดอลลาร์ของประเทศ ที่ผลกำไรมหาศาลตกอยู่ในมือของคนไม่กี่กลุ่ม. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

รอยเตอร์ - การตัดสินใจของทางการพม่าที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจหยกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ของประเทศ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเพิ่มความโปร่งใสในธุรกิจนี้ แต่ขณะเดียวกัน ก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้มากขึ้นเพื่อสร้างเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม นักเคลื่อนไหวกล่าว

รัฐบาลพม่าได้ประกาศเมื่อวันพุธ (27) ว่าจะไม่ต่อใบอนุญาตทำเหมืองหยก และอัญมณีต่างๆ และจะไม่มีการออกใบอนุญาตใหม่ จนกว่ากรอบการทำงานด้านกฎหมายที่ได้รับการปฏิรูปใหม่จะเสร็จสมบูรณ์ ตามการรายงานของสื่อท้องถิ่นของพม่า

“นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ” นักรณรงค์อาวุโสจาก Global Witness องค์กรการกุศลที่มีสำนักงานในอังกฤษ กล่าว

อุตสาหกรรมที่มีกฎระเบียบหละหลวม ถูกประเมินว่า มีมูลค่าราว 31,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของพม่า และในรายงานของ Global Witness ปี 2558 ระบุว่า นายทหาร และพ่อค้ายาเสพติดได้เข้าควบคุมอุตสาหกรรมนี้อย่างลับๆ และทำรายได้จากการค้าหยกเป็นจำนวนมาก

อองซานซูจี ที่เข้าบริหารประเทศในเดือน เม.ย. หลังชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อปีก่อน แต่ทหารที่ปกครองพม่ามานานเกือบครึ่งศตวรรษจนถึงปี 2544 ก็ยังคงมีอำนาจในประเทศอย่างมากเช่นกัน

“มันแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลของอองซานซูจีจริงจังต่อการปฏิรูป และอาจช่วยเปลี่ยนหน้าใหม่ในการปกครองของทหาร ระบบพวกพ้อง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของช่วงเวลาที่ผ่านมา” เจ้าหน้าที่จาก Global Witness กล่าว

อุบัติเหตุร้ายแรงถึงแก่ชีวิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทำเหมืองหยกของพม่า เน้นย้ำให้เห็นถึงความหละหลวมของกฎระเบียบด้านความปลอดภัย และการขาดความรับผิดชอบ

เมื่อเดือน พ.ย. เกิดเหตุดินถล่มครั้งใหญ่ฝังค่ายพักแรมคนหาหยก ในรัฐกะฉิ่น ที่เป็นแหล่งผลิตหยกคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 100 คน
.
<br><FONT color=#000033>รถบรรทุกขนาดใหญ่ขนดินที่ขุดจากเหมืองหยกในเมืองผากัน แหล่งผลิตหยกที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>พ่อค้าใช้แสงตรวจสอบก้อนหยก ใกล้กับเหมืองในเมืองผากัน. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>คนท้องถิ่นมุงรอบกองดินจากเหมืองหยกที่รถบรรทุกนำมาทิ้ง ด้วยความหวังว่าอาจจะก้อนหยกหลงเหลือติดมา. -- Associated Press/Hkun Lat.</font></b>
.
อุตสาหกรรมหยกยังถูกกล่าวหาว่าก่อปัญหาสังคม นับตั้งแต่การเสพยาเสพติดแพร่กระจายอยู่ในหมู่คนขุดค้นหาหยกที่เดินทางมาที่เหมือง ด้วยความหวังว่าจะเจอกับก้อนหยกที่ถูกคนงานบริษัทเหมืองมองข้ามไป

การต่อสู้เพื่อเข้าควบคุมธุรกิจหยกยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในความขัดแย้งระหว่างกองทัพพม่า และองค์กรกะฉิ่นอิสระ (KIO)

ผู้จัดการสถาบันการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (NRGI) ประจำพม่า ระบุว่า การประกาศของรัฐบาลเป็นการเปิดประตูการปฏิรูปอุตสาหกรรมอัญมณี และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคส่วนนี้

“มันเป็นโอกาสที่จะกำหนดกรอบการทำงานเพื่อธุรกิจที่รับผิดชอบ และยั่งยืน และเป็นเศรษฐกิจที่มีส่วนร่วมมากขึ้นสำหรับพม่า” ผู้จัดการสถาบัน NRGI ประจำพม่า กล่าว

นักรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามการประกาศพร้อมข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการแบ่งผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมหยกในวิธีที่โปร่งใส

รัฐบาลควรเริ่มดำเนินมาตรการทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะป้องกันเหตุดินถล่ม และจัดการความเดือดร้อนของชาวบ้านอย่างเป็นธรรม และด้วยการมีส่วนร่วมในโครงการความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ มาตรฐานสากลที่จะส่งเสริมการจัดการอย่างรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติ พม่าควรตีพิมพ์ข้อมูลผู้ถือครองใบอนุญาต เจ้าของบริษัทหยก และรายละเอียดรายงานการขายให้มากขึ้น NRGI ระบุ.
.
<br><FONT color=#000033>ในบริเวณเขตเหมืองยังพบปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้ยาเสพติดของคนงานเหมือง. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น