xs
xsm
sm
md
lg

“ดาไลลามะ” ร้อง “ซูจี” คลายสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างชาวพุทธและโรฮิงญาในพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>องค์ดาไลลามะขณะทรงร่วมงานที่สถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. โดยทรงเรียกร้องให้อองซานซูจีพยายามแก้ไขสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า. -- Reuters/Kevin Lamarque.</font></b>

รอยเตอร์ - องค์ดาไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต ระบุว่า อองซานซูจี มีความรับผิดชอบทางศีลธรรมที่จะต้องพยายามคลายความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ และชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่า

องค์ดาไลลามะ ตรัสว่า พระองค์ได้ทรงย้ำถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวในการพบหารือกับนางอองซานซูจี ที่เข้าคุมอำนาจในเดือน เม.ย. ด้วยบทบาทที่ปรึกษาแห่งรัฐ ที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยระบอบประชาธิปไตยชุดแรกของพม่าในรอบ 5 ทศวรรษ

“เธอมีรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ดังนั้น ในทางศีลธรรม เธอควรพยายามที่จะลดความตึงเครียดระหว่างชุมชนชาวพุทธ และชุมชนชาวมุสลิม” องค์ดาไลลามะป ระทานสัมภาษณ์ต่อรอยเตอร์ในกรุงวอชิงตัน

ความรุนแรงระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บดบังความก้าวหน้าการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศ ด้วยกลุ่มสิทธิมนุษยชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อความไม่เต็มใจของซูจี ที่จะกล่าวถึงชะตากรรมของโรฮิงญา

องค์ดาไลลามะ ตรัสว่า ซูจี ตอบสนองต่อคำร้องของพระองค์ด้วยการกล่าวว่า สถานการณ์นั้นมีความซับซ้อน

ความเป็นปรปักษ์ต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวพุทธ รวมทั้งภายในพรรคของซูจี และผู้สนับสนุนพรรค

เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศเมื่อปี 2555 มีประชาชนเสียชีวิตมากกว่า 100 คน และชาวมุสลิมโรฮิงญาราว 125,000 คน ที่เป็นคนไร้สัญชาติ ต้องลี้ภัยอยู่ในค่ายพักแรมชั่วคราวที่ความเคลื่อนไหวของพวกเขาถูกจำกัดอย่างหนัก

หลายพันคนเลือกหลบหนีการกดขี่ข่มเหง และความยากจนด้วยการอพยพทางเรือมุ่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ทางใต้

องค์ดาไลลามะ ตรัสว่า พระสงฆ์บางรูปในพม่าดูเหมือนจะมีทัศนคติเชิงลบบางอย่างต่อชาวมุสลิม และชาวพุทธที่มีความคิดเช่นนี้ควรระลึกถึงพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า

“หากเกิดขึ้นต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แน่นอนว่า พระองค์จะทรงปกป้องเหล่าบรรดาพี่น้องชาวมุสลิม” ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต กล่าว

รัฐบาลใหม่ของพม่าประกาศเมื่อปลายเดือนก่อน ว่า อองซานซูจี จะนำความพยายามครั้งใหม่ในการนำสันติสุข และการพัฒนามาสู่รัฐยะไข่ แต่การประกาศนั้นไม่ได้ให้รายละเอียดถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่มากมายของรัฐยะไข่

ในระหว่างการเยือนพม่า ของจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อเดือนก่อน ซูจี กล่าวว่า พม่าต้องการพื้นที่ที่จะจัดการต่อประเด็นปัญหาชาวโรฮิงญา และเตือนถึงการใช้คำจำกัดความที่เร้าอารมณ์ ซึ่งซูจี ระบุว่า จะยิ่งทำให้สถานการณ์ยุ่งยากมากขึ้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น