xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามโชว์จรวดยิงเรือ 3M24 "ฮาร์พูนสกี้" เทคโนโลยีรัสเซีย ผลิตเองเป็นแห่งแรกในย่านนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เห็นกันมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ไม่มีผู้ใดทราบว่าเป็น โมเดล ของจรวดรุ่นใด จนกระทั่งสัปดาห์ที่แล้ว จึงมีข้อมูลแพร่งพรายออกมา โดยนักวิชาการชาวอังกฤษสองคน ที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบจรวด ที่มีใช้อยู่ในโลก และ สื่อของทางการเวียดนามเอง ได้ออกยืนยันในสัปดาห์นี้. -- Kienthuc Online.  </b>

MGRออนไลน์ -- สื่อทางการเวียดนามได้เผยแพร่ภาพจรวดยิงเรือ พิสัยทำการระยะปานกลาง-ระยะไกลรุ่นหนึ่ง ที่ผลิตเองในประเทศโดยใช้เทคโนโลยีรัสเซีย และ เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูลเอ็กซ์ (X/Kh) ที่มีชื่อเสียงอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งมีประจำการในกองทัพเรือสหภาพโซเวียต และ รัสเซียในปัจจุบัน จรวดร่อน (Cruise Missile) ยิงเรือรุ่นนี้ ได้รับการปรับปรุงด้านเทคโนโลยี มาเป็นระยะตลอดเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา

ภาพที่นำออกแสดง และ กำลังได้รับความสนใจ จากอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั่วโลกในสัปดาห์นี้ เป็นจรวดที่เวียดนามเรียกว่า KCT 15 โดยตั้งชื่อตามชื่อหน่วยงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ผลิต

นี่คือจรวด 3M24 "อูราน" (Uran) หรือ SS-N-25 "สวิตช์เบลด" (Switchblade) ตามรหัสที่กำหนดขึ้น โดยกลุ่มนาโต้ และ โลกตะวันตกเรียกจรวดรุ่นนี้ในหลายชื่อ ตามพิสัยหรือลักษณะการใช้งาน แต่อีกชื่อหนึ่งที่คุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ "ฮาร์พูนสกี้" (Harpoonski) หรือ "จรวดฮาร์พูนของโซเวียต" อันเป็นการเปรียบเทียบกับ จรวดที่ผลิตในสหรัฐ ที่ทำงานคล้ายกัน

ตามข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย ในปัจจุบันจรวดรุ่นส่งออก หรือ 3M24E มีใช้ในเพียง 2 ประเทศทั่วโลก ซึ่งได้แก่แอลจีเรีย กับอินเดีย โดยเวียดนามเป็นประเทศที่ 3 และ จีนใช้รุ่น "ก๊อปปี้" เลียนแบบ โดยผลิตเอง

แต่เวียดนามเป็นประเทศที่สอง หรืออาจเป็นแห่งแรก ในย่านเอเชียแปซิฟิก ที่ผลิตจรวดรุ่นนี้เอง ถัดจากเกาหลีเหนือ ซึ่งมีรายงานที่ยังไม่เคยมีฝ่ายใดยืนยันมานานนับสิบปีว่า ผลิตโดยได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตเมื่อก่อน

ต่างไปจากเกาหลีเหนือ.. เวียดนามได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซียโดยตรง และ ผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ ภายใต้สิทธิบัตร ซึ่งเป็นไปตามความตกลงสองฝ่าย ว่าด้วยการป้องกันประเทศ

การเผยแพร่ภาพและข่าวในสัปดาห์นี้ เป็นการสิ้นสุดการคาดเดาของโลกภายนอก นับตั้งแต่สื่อทางการเวียดนามเคยรายงานเมื่อปี 2555 บุว่า สองฝ่ายได้เซ็นความตกลง เพื่อร่วมกันผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นนี้ เพื่อการป้องกันทางทะเล โดยฝ่ายรัสเซียตกลงถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเปิดสายการผลิตในเวียดนาม

หลายฝ่ายเชื่อว่า การผลิตจรวดเอง โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นผลต่อเนื่องจากการเจรจาซื้อขายเรือฟริเกตชั้นเกพาร์ด 3.9 (Gepard 3.9-Class) จากรัสเซียจำนวน 4 ลำ และ เมื่อปี 2555 สื่อรัสเซียได้รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตได้ส่งมอบจรวดรุ่นเดียวกันนี้ ให้แก่กองทัพเรือเวียดนามครบจำนวน 17 ระบบ เพื่อติดตั้งบนเรือฟริเกต 2 ลำแรก

รัสเซียประกาศกำหนดส่งมอบเรือฟริเกตที่เหลืออีก 2 ลำ ให้ฝ่ายเวียดนาม ในเดือน ส.ค.และ ก.ย.ปีนี้
.
<
.
<<
.
เรื่องนี้ยังติดตามมาด้วย ข่าวจากรายงานของหน่วยงานควบคุมอาวุธ องค์การสหประชาชาติ ในเดือน เม.ย.2558 เกี่ยวกับการซื้อระบบจรวดนำวิถีตระกูล "คลูบ" (Klub/ซึ่งเป็นจรวดในตระกูล 3M อีกรุ่นหนึ่ง) จำนวน 50 ลูก เพื่อติดตั้งในเรือดำน้ำ

นี่คือข้อมูลทั้งหมด ที่โลกภายนอกได้รู้จักเกี่ยวกับระบบจรวดที่ก้าวหน้าของกองทัพเรือเวียดนาม จากสื่อทางการคอมมิวนิสต์ และ สื่อรัฐบาลรัสเซียเอง รวมทั้งจากหน่วยงานสากล ที่สอดส่องดูแลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายอาวุธสงครามระหว่างประเทศ

ตามรายงานของสื่อในเวียดนาม สองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบอาวุธป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหมเวียดนาม กับ บริษัทสเวซดา-สเตรลา (Zvezda-Strela) ซึ่งเป็นผู้ผลิต ทำการเจรจาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงปี 2554-2555 เพื่อเปิดการผลิตในเวียดนาม โดยยังไม่ทราบรายละเอียดอื่นๆ ทั้งด้านราคา จำนวนที่ผลิตแล้ว รวมทั้งเป้าหมายทั้งหมด

ยังไม่มีฝ่ายใดทราบอีกเช่นกันว่า ภายใต้ความตกลงสองฝ่าย จะมีการผลิตจรวด 3M24 เวอร์ชั่นอื่นๆ ในเวียดนามด้วยหรือไม่ หรือ จำกัดเฉพาะรุ่นยิงเรือแบบพื้นสู่พื้น (Surface-to-Surface) เท่านั้น

กระทรวงกลาโหมเวียดนาม นำโมเดลจรวด KCT 15 ออกเผยแพร่ครั้งแรกในช่วงปลายปี 2558 เป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการอาวุธป้องกันประเทศ ที่จัดขึ้นในกรุงฮานอยโดยกระทรวงกลาโหม แต่ไม่มีผู้ใดให้รายละเอียดว่า ที่เห็นอยู่นั้นเป็นจรวดรุ่นใด และ มีที่ไปที่มาอย่างไร

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น กองทัพเรือเวียดนามมีจรวด 3M24 ใช้อยู่ก่อนแล้ว โดยติดตั้งบนเรือฟริเกตทั้งสองลำ จรวดล็อตที่ซื้อก่อนหน้านี้ ใช้เป็นอาวุธหลัก ของเรือเร็วโจมตีติดจรวดนำวิถีชั้นตารันตุล-วี (Tarantul-V) ที่ผลิตจากต้นแบบของสหภาพโซเวียต รวมทั้งในเรือคอร์แว็ตแบบ BPS-500 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

จนถึงปัจจุบันเวียดนามต่อเรือเร็วโจมตี ติดจรวดนำวิถีแบบโมลีนยา (Molniya) แล้วเสร็จถึง 4 ลำ ในแผนการลิตกว่า 10 ลำ ภายใต้ความตกลง และ ความร่วมมือกับรัสเซีย ทั้งหมดติดตั้งจรวด 3M24 เช่นเดียวกัน

สหภาพโซเวียตวิจัยและผลิตจรวด 3M24 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ในยุครัสเซียได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ระบบนำวิถีแบบอิสระ (Inertive Navigation System) อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความแม่นนำในการคิดคำนวน ค่าจะเป็นต่างๆ เพื่อให้จรวด สามารถนำหัวรบเข้าเป้าหมาย ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มคุณสมบัติ "ล่องหน" (Stealthiness) มากขึ้น ลดโอกาสการตรวจจับจากฝ่ายตรงข้ามให้เหลือเป็นศูนย์
.
<br><FONT color=#000033>จรวดยิงเรือ Kh-35E หรือ 3M24E เวอร์ชั่นติดตั้งบนอากาศยานรุ่นส่งออก เมื่อยังไม่ได้ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนขับดัน ในงานมอสโกแอร์โชว์ 2009 หรือ MAKS 2009. -- Eng.Wikipedia.Org/Allocer. </b>
2
<br><FONT color=#000033>จรวดยิงเรือ Kh-35E หรือ 3M24E เวอร์ชั่นติดตั้งบนอากาศยาน รุ่นส่งออก เมื่อยังไม่ได้ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนขับดัน วางแสดงร่วมกับจรวดรุ่นอื่นๆ ใน MAKS 2009. -- Eng.Wikipedia.Org/Allocer. </b>
3
กว่า 20 ปีมานี้รัสเซียผลิตจรวด 3M24 ออกมาหลายเวอร์ชั่น ติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินขับไล่/โจมตี MIG-29 Su-27 Su-24 รุ่นใหม่ รวมทั้ง Su-30 กระทั่งบินเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์รุ่นใหญ่ คือ Tu-95 และ Tu-142M ในชื่อที่เรียกว่า "Kh-35" เป็นจรวดนำวิถี ยิงจากอากาศยาน เพื่อทำลายเป้าหมายทางเรือ ที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง และ ยังมีอีกรุ่นหนึ่งสำหรับติดตั้งเป็นระบบป้องกันชายฝั่ง โดยเรียกชื่อต่างกันออกไป

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมกล่าวว่า ระบบจรวด KCT 15 ของเวียดนาม น่าจะมีระยะยิงถึง 130 กิโลเมตร โดยเทียบกับจรวด 3M24 และ ใช้เทคโนโลยีระบบจรวดรัสเซียล้วนๆ ทั้งชุดประกอบด้วยจรวด 8 ลูก ติดตั้งบนเรือรบ ในระบบท่อยิงแบบ 4 ท่อรวม 2 ชุด เช่นเดียวกัน

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม จรวด 3M24 ใช้ระบบขับดันแบบเชื้อเพลิงแข็ง และ เวอร์ขั่นอากาศส่พื้น คือ Kh-35 หรือ X-35 ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน ติดตั้งเทอร์โบบูสเตอร์เพิ่มความเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการในระยะสุดท้าย โดยมีระยะยิงเท่ากัน

ทุกรุ่นใช้ระบบคำนวณความสูง ด้วยเรดิโออัลติมิเตอร์ (Radio-altimeter) ที่มีความแม่นยำสูง ติดตั้งระบบคิดคำนวณค่าการเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยแอ็กเซเลอโรมีเตอร์ (Accelerometer) คำนวณค่าการหมุนตัว หรือ เหวี่ยงตัวในขณะเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยไจโรสโคป (Gyroscope) ส่งค่าทั้งหมด เข้าสู่ระบบประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ กลายเป็นระบบนำร่องอิสระ (INS) นำหัวรบไปยังเป้าหมายยาวไกลข้างหน้า โดยปราศจากการช่วยเหลือใดๆ จากแหล่งภายนอก

นี่คือระบบนำร่องหรือนำทาง นำวิถีแบบอิสระ ที่ก้าวหน้าที่สุดอีกระบบหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในเรือดำน้ำ และ ในอากาศยานไร้การบังคับ
<br><FONT color=#000033>คนทั่วไปที่ไปชมนิทรรศการในกรุงฮานอย ปลายปีที่แล้ว ต่างเข้าใจว่านี่คือจรวด 3M24 ที่ซื้อจากรัสเซียราว 5 ปีก่อนหน้านี้ เพื่อติดตั้งบนเรือฟริเกตทั้ง 2 ลำในปัจจุบัน ไม่ได้เฉลียวใจว่าเป็นเวอร์ชั่นที่ผลิตในเวียดนาม. -- Kienthuc Online. </b>
4
ตามข้อมูลจากแหล่งดังกล่าว จุดเด่นสำคัญของจรวดรุ่นนี้ก็คือ ถึงแม้จะ "ร่อน" ด้วยความเร็วต่ำกว่าความเร็วเสียง (Sub-Sonic) ก็ตาม แต่จรวดสามารถร่อนต่ำถึง 5 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เมื่ออยู่ห่างจากเป้าหมายราว 20 กิโลเมตร หรือไกลกว่านั้น ลดโอกาสถูกตรวจจับจากระบบเรดาร์ จรวดจะร่อนลงต่ำถึงระดับ 3 เมตรเหนือผิวน้ำ เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้าย และ เปิดระบบนำวิถีด้วยเรดาร์อัตโนมัติ ขณะพุ่งเข้าเป้าหมาย

หัวรบแบบหน่วงเวลาจะระเบิด ภายหลังจากเจาะทะลุเข้าสู่กราบเรือ หรือ ป้อมเรือ ทำให้เกิดการระเบิดจากภายใน เพิ่มอำนาจการทำลาย

เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่ง กล่าวว่าจรวด 3M24 ที่ผลิตในรัสเซียมีราคาราว 1 ล้านดอลลาร์ต่อหน่วย ซึ่งเป็นการคุ้มค่าอย่างยิ่งที่อาวุธน้ำหนักเพียงประมาณ 650 กิโลกรัม ในราคานี้ สามารถจมเรือรบขนาด 1,000-5,000 ตัน ราคาหลายร้อยแบะหลายพันล้านดอลลาร์ได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษหลังๆ นี้ 3M24 ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด และ ถูกจรวดราคาถูกจากแหล่งอื่นๆ แย่งลูกค้า รวมทั้งจรวดนำวิถี C-802A ที่ผลิตใจจีน ซึ่งยิงได้ไกล 180 กม. ไกลกว่า แต่ราคาถูกกว่า แบบเดียวกับราชนาวีไทยใช้อยู่ในขณะนี้ ขณะที่กองทัพเรือพม่า บังกลาเทศ และ อินโดนีเซียยังใช้ C802 ที่เก่ากว่า

แต่รัสเซียยังคงเชื่อมั่นในระบบจรวดครอบครัว 3M ไม่เปลี่ยนแปลง โดยพัฒนาเทคโยโลยีนำร่องที่เหนือชั้นกว่า ให้มีขีดความสามารถในการร่อนระยะต่ำกว่าและแม่นยำกว่า กับความสามารถในการ "ล่องหน" หลบเลี่ยงการตรวจจับ ปิดโอกาสการยิงทำลายจากฝ่ายตรงข้ามได้ดีกว่า.
กำลังโหลดความคิดเห็น