xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุนเซน” สั่งเพิ่มพื้นที่ป่าคุ้มครองอีกนับล้านไร่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผืนป่าในจ.เกาะกงของกัมพูชาถูกถางออกเพื่อเปิดพื้นที่รองรับการก่อสร้าง รายงานระบุอัตราการตัดไม้ทำลายป่าของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ผืนป่าของกัมพูชาหายไปกว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่ป่าทั้งหมดจากการตัดไม้. -- Reuters/Samrang Pring.</font></b>

เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของกัมพูชา มีคำสั่งให้ผืนป่านับล้านไร่ถูกผนวกรวมอยู่ในเขตคุ้มครอง เมื่อประเทศเผชิญต่ออัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ความเคลื่อนไหวของทางการกัมพูชาครั้งนี้ ครอบคลุมผืนป่าแห่งใหม่อีก 5 แห่ง ที่จะทำให้เขตอนุรักษ์ของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 20% ส่งผลให้มากกว่า 25% ของที่ดินทั้งหมดของประเทศอยู่ภายใต้การคุ้มครอง

“กระทรวงสิ่งแวดล้อมต้องลงทะเบียนป่า 5 แห่งเป็นพื้นที่คุ้มครอง” คำสั่งที่ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ระบุ

พื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่จะรวมหลายส่วนของเขตป่าสงวนเปรลาง ป่าที่นักเคลื่อนไหวได้เสี่ยงชีวิตเปิดโปงการตัดไม้ผิดกฎหมาย

การค้าไม้ที่ทำกำไรสูง ได้รับการเปิดทางจากความรุนแรง และการติดสินบนของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเจ้าหน้าที่รักษาชายแดนที่มีส่วนทำให้พื้นที่ป่าของประเทศกว่า 1 ใน 3 สูญหายไปในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

ฮุนเซน อยู่ในอำนาจตลอดช่วงเวลาดังกล่าว แต่นักอนุรักษ์ กล่าวว่า ผู้นำเขมรดำเนินการเพียงเล็กน้อยในการลดอัตราการตัดไม้ผิดกฎหมาย แม้จะป่าวประกาศดำเนินการปราบปรามหลายครั้งก็ตาม

รัฐบาลของฮุนเซน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่อนุญาตให้บริษัทต่างๆ เข้าถางพื้นที่ป่าหลายแสนไร่ รวมทั้งในเขตคุ้มครอง เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ทำไร่ยาง ไร่อ้อย ไปจนถึงเขื่อนไฟฟ้า

องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ ยินดีต่อการคุ้มครองใหม่นี้โดยเรียกว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่กล้าหาญ

“พื้นที่เหล่านี้เป็นตัวแทนของผืนป่าสำคัญที่สุดในกัมพูชาสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการสนับสนุนคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และหากได้รับการจัดการอย่างถูกต้องก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเส้นทางการพัฒนาของกัมพูชา” เทรซี่ ฟาร์เรล ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคของโครงการแม่น้ำโขงขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ กล่าว

รายงานระบุว่า ป่าของกัมพูชาเป็นที่ลี้ภัยของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามมากกว่า 800 ชนิด โดยมากกว่าครึ่งต้องพึ่งพาผืนป่าเพื่อความอยู่รอด ขณะที่ชุมชนท้องถิ่นจำนวนมากยังพึ่งพาป่าในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น