xs
xsm
sm
md
lg

บริษัทเขมรเมตตาลดเวลาทำงานให้ช้างนครวัด หลังตายไป 1 งานนักท่องเที่ยวขี่หลังอากาศร้อนจัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>การตายของช้างในครั้งนี้ทำให้ประชาชนจำนวนมากเรียกร้องการปฏิรูปการให้บริการขี่หลังช้างในประเทศและต่อต้านการใช้สัตว์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แม้ผู้ดูแลและผู้ประกอบการท่องเที่ยวจะแย้งว่าเป็นการสร้างรายได้และช่วยให้ช้างไม่อดอยากก็ตาม. -- ภาพ : bbc.com/Facebook/Yem Senok.</font></b>

เอพี/เอเอฟพี - บริษัทให้บริการท่องเที่ยวของกัมพูชา เผยว่า จะลดเวลาทำงานของช้างในช่วงอุณหภูมิสูง หลังช้างล้ม และตายลงขณะให้นักท่องเที่ยวขี่ท่ามกลางอุณภูมิสูง 40 องศาเซลเซียส

ช้างพังอายุราว 40-45 ปี ตายข้างถนนเมื่อวันศุกร์ (22) หลังให้นักท่องเที่ยวขี่ชมรอบหมู่ปราสาทนครวัด ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา ใน จ.เสียมราฐ

ภาพถ่ายช้างล้มถูกแชร์กันอย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดการเรียกร้องต่อทางการกัมพูชาที่จะปฏิรูปอุตสาหกรรมให้บริการขี่ช้างของประเทศ

โอน คีรี ผู้จัดการบริษัท Angkor Elephant กล่าวว่า สัตวแพทย์ชี้ว่า ช้างตายเพราะหัวใจล้มเหลว

“สัตวแพทย์สรุปว่า การตายของช้างมีสาเหตุมาจากอากาศร้อนที่ทำให้เกิดความเครียด ภาวะช็อก ความดันสูง และหัวใจล้มเหลว” โอน คีรี กล่าว

ช้างเชือกนี้ให้นักท่องเที่ยวขี่หลังมาประมาณ 45 นาที และเดินเป็นระยะทาง 2.1 กิโลเมตร ก่อนจะล้มลงระหว่างทางกลับที่พัก

ผู้จัดการบริษัทกล่าวว่า บริษัทรู้สึกเสียใจอย่างมาก และจะปรับลดเวลาทำงานของช้างที่มีอยู่ในความดูแลจนกว่าอุณหภูมิจะลดลงกว่านี้

ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังประสบต่อสภาพอากาศร้อน และแล้ง ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส กลุ่มสิทธิสัตว์ร้องเรียนกันมายาวนานว่า ช้างที่ให้บริการนักท่องเที่ยวขี่หลังในภูมิภาคนี้มักถูกใช้งานหนักเกินไป และมักได้รับบาดเจ็บในช่วงฝึก

คำร้องในเว็บไซต์ Change.org ที่เรียกร้องให้ทางการกัมพูชายุติการให้บริการขี่หลังช้าง มีผู้ลงชื่อสนับสนุนแล้ว 24,500 ชื่อ นับจนถึงบ่ายวันอังคาร (26)

“การท่องเที่ยวที่โหดร้ายพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นอันตรายต่อช้าง และยังสามารถสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชา สิ่งนี้ต้องสิ้นสุดลง” คำร้องที่ถูกโพสต์ลงบนเว็บไซต์ Change.org ระบุ

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช้างบ้านมักถูกใช้งานเพื่อลากซุงเป็นจำนวนมาก แต่เครื่องจักร และการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้บทบาทดังกล่าวของช้างลดลง และเวลานี้สามารถพบช้างเหล่านั้นได้ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ.
กำลังโหลดความคิดเห็น