xs
xsm
sm
md
lg

ความสัมพันธ์ “กองทัพ-ซูจี” ยังร้าวลึก การเปลี่ยนแปลงอำนาจพม่าไม่ราบรื่นอย่างที่คิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า (ซ้าย) สัมผัสมือกับอองซานซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ก่อนทั้งคู่พบหารือกันในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2558 ซูจีและพล.อ.มิน ออง หล่าย พบหารือเรื่องการเปลี่ยนถ่ายอำนาจกันมาแล้วถึง 3 ครั้ง นับตั้งแต่พรรค NLD ชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 8 พ.ย. และกำลังจะครองนำอาจตั้งรัฐบาลใหม่ในเร็วๆ นี้. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - รอยร้าวลึกระหว่างกองทัพที่ทรงอำนาจของพม่า และอองซานซูจี ยังคงปรากฏให้เห็น ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าว คุกคามความพยายามของผู้นำประชาธิปไตยในการตั้งรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จ ขณะที่รัฐสภากำลังเตรียมที่จะเสนอชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันพฤหัสบดี (10)

วันที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี จะเข้าครองอำนาจนั้นขยับใกล้เข้ามาทุกที แต่ความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าพรรค และอดีตศัตรูของพรรคทำงานร่วมกันอย่างจริงใจไปสู่การถ่ายโอนอำนาจอย่างราบรื่นกลับมีอันต้องสะดุดลง ตามการระบุของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยต่อสถานการณ์

“เธอเชื่อว่าเธอจะสามารถทำงานร่วมกับกองทัพ แต่หลังจากการพบหารือครั้งสุดท้ายกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด เธอตระหนักได้ว่าเธอไม่สามารถเจรจากับพวกเขาได้ และมันค่อนข้างชัดเจนว่าเธอไม่อยู่รอให้ทหารร่วมมือ” สมาชิกสภาสูงจากพรรค NLD กล่าว

การหารือระหว่างพรรค NLD และกองทัพเริ่มขึ้นไม่นานหลังพรรคของซูจีชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์อย่างถล่มทลาย เมื่อวันที่ 8 พ.ย. กลายเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยครั้งแรกของประเทศ นับตั้งแต่ทหารครองอำนาจในปี 2505

แต่ซูจี กลับต้องผิดหวังต่อการไม่ยอมประนีประนอมของกองทัพเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหลากหลายตั้งแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะอนุญาตให้เธอเป็นประธานาธิบดี ไปจนถึงสถานที่จัดพิธีมอบอำนาจก่อนเริ่มรัฐบาลใหม่ในวันที่ 1 เม.ย. แหล่งข่าวจากพรรค NLD กล่าว

กองทัพย้ำความเชื่อของตัวเองว่ากองทัพมีบทบาทสำคัญในการเมืองจนกว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยจะมีความมั่นคง และมีความกังวลว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็วอาจกลายเป็นแบบอย่างที่เป็นอันตราย

รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้มอบอำนาจให้แก่รัฐบาลกึ่งพลเรือนที่ตั้งขึ้นจากบรรดาอดีตนายพลในปี 2554 หลังอยู่ภายใต้การปกครองของทหารนานเกือบ 50 ปี แต่รัฐธรรมนูญที่รัฐบาลทหารร่างขึ้นยังทำให้กองทัพมีอำนาจอยู่ค่อนข้างมาก

เช่นเดียวกันกับมาตราที่ห้ามซูจีจากการเป็นประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญยังให้อำนาจกองทัพควบคุม 3 กระทรวงสำคัญ และครองที่นั่ง 25% ในสภา ซึ่งมีสัดส่วนที่สามารถยับยั้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้

ด้วยบทบัญญัติที่ทำให้กองกำลังรักษาความปลอดภัย และระบบราชการของประเทศส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพ ทำให้รัฐบาล NLD จำต้องทำงานร่วมกับกองทัพ

และสิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความไม่ลงรอยระหว่างสองฝ่าย คือ ความขัดแย้งที่ได้ขยายขอบเขตเกินกว่ารัฐธรรมนูญ และการแบ่งอำนาจ ไปถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ช่องจอดรถในพิธีมอบอำนาจ และอุปกรณ์ที่ถูกย้ายออกจากสำนักงานโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่กำลังจะหมดหน้าที่ลงตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ที่ได้พบหารือกับซูจีเมื่อไม่นานนี้
.
<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรค NLD เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาใหม่ในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.
ความตึงเครียดยังปกคลุมเหนือรัฐสภาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในการแสดงความเห็นต่างที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นจากสมาชิกรัฐสภาที่เป็นนายทหารที่ยืนประท้วงข้อกล่าวหาของสมาชิกรัฐสภาของพรรค NLD ที่มีต่อฝ่ายบริหารที่กำลังจะหมดวาระ

“เรารู้สึกตกใจเมื่ออยู่ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทหารลุกขึ้นคัดค้านข้อเสนอของสมาชิกสภาของเรา สถานการณ์ตึงเครียดมากๆ” ทิ้น โซ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค NLD กล่าว

การเผชิญหน้าในรัฐสภามีขึ้นราวหนึ่งสัปดาห์หลังจากการหารือครั้งที่ 3 ระหว่างซูจี และ พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย

กองทัพร่วมนั่งโต๊ะเจรจาพร้อมกับรายการความต้องการยาวเหยียดที่ดูแล้วเป็นไปไม่ได" วิน อู อดีตสมาชิกพรรคสหภาพสามัคคีและการพัฒนา (USDP) กล่าว

ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายอยู่ในสงครามเย็น มันเป็นทุ่งสังหารทางการเมือ" วิน อู กล่าว

พรรค NLD หวังว่าจะสามารถโน้มน้าวทหารให้เห็นชอบต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้ซูจีเป็นประธานาธิบดี แต่มาชัดเจนเมื่อปลายเดือนก่อนว่า ความหวังนั้นไม่มีทางเกิดขึ้น ทำให้ซูจีตัดสินใจย่นเวลาการเจรจาต่อรอง และขยับกระบวนการเลือกประธานาธิบดีตัวแทนให้เร็วขึ้น 1 สัปดาห์

พรรค NLD ยังไม่ได้ระบุว่า ใครจะมาเป็นตัวแทนของซูจี แต่การคาดการณ์ส่วนใหญ่มองไปยังผู้ที่มีความเรียบง่าย ติดดิน และมีความจงรักภักดีต่อหัวหน้าพรรค

ในวันพฤหัสบดี (10) สภาสูง สภาผู้แทนราษฎร และกลุ่มทหารที่เป็นสมาชิกรัฐสภา จะเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งของแต่ละฝ่าย และทั้งสองสภาจะร่วมกันเลือกหนึ่งคนจาก 3 ชื่อที่ถูกเสนอให้เป็นประธานาธิบดี ส่วน 2 คนที่เหลือจะทำหน้าที่รองประธานาธิบดี แม้ยังไม่ชัดเจนว่าหลังการเสนอชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในวันพฤหัสบดีแล้ว การเลือกประธานาธิบดีจะเกิดขึ้นทันทีหรือไม่ แต่ผู้อำนวยการจากรัฐสภากล่าวต่อรอยเตอร์เมื่อวันพุธ (9) ว่า การเลือกประธานาธิบดีจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงวันจันทร์ (14)

มันจะเป็นเรื่องยากสำหรับเธอในอนาคตเพราะทหาร ที่ชัดเจนมากว่าพวกเขาไม่ต้องการที่จะร่วมมือ มันเป็นสถานการณ์ที่น่าเศร้าใ" ทิ้น โซ สมาชิกรัฐสภาจากพรรค NLD กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น