xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามมองไม่เห็นอนาคตส่งออกข้าวหอม เหตุราคายังสู้ไทย-กัมพูชาไม่ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มรอยเตอร์เผยให้เห็นคนงานถ่ายกระสอบข้าวนำเข้าจากเวียดนามที่ท่าเรือในกรุงมะนิลา ของฟิลิปปินส์ สื่อเวียดนามรายงานว่า บริษัทเอกชนและหน่วยงานด้านอาหารของประเทศต้องการที่จะพัฒนาข้าวหอม จัสมิน 85 ให้เป็นแบรนด์ข้าวของประเทศ ด้วยปริมาณการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวทั้งในและต่างประเทศกลับมองว่าราคาส่งออกข้าวหอมของเวียดนามนั้นยังสู้ข้าวหอมของกัมพูชาและไทยไม่ได้ เวียดนามควรมุ่งเน้นที่การพัฒนาข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่า. -- Reuters/Romeo  Ranoco.</font></b>

เวียดนามเน็ต - ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวทั้งใน และต่างประเทศต่างแสดงความคิดเห็นว่า เวียดนามควรมุ่งเน้นที่การพัฒนาข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่าการพัฒนาข้าวหอม แม้การส่งออกข้าวหอมของประเทศจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่รายได้จากการส่งออกยังอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น

ด้วยปริมาณข้าวหอมที่บริษัทท้องถิ่นของเวียดนามส่งออกไปยังฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทส่งออกของท้องถิ่นตัดสินใจรวมกำลังกับเกษตรกรในปี 2558 เพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวหอม “จัสมิน 85” จาก 11,250 ไร่ เป็น 25,000 ไร่

ส่วนสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ยังตัดสินใจที่จะพัฒนาข้าวหอม จัสมิน 85 ให้เป็นแบรนด์ข้าวของประเทศ แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เป็นการตัดสินใจที่รีบร้อนเกินไป

ในปี 2553 เวียดนามส่งออกข้าวหอม 216,000 ตัน และเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 1.3 ล้านตันในปี 2557 ขณะที่ราคาส่งออกข้าวหอมก็เพิ่มสูงอย่างรวดเร็วจาก 460 ดอลลาร์ เป็น 620 ดอลลาร์ต่อตัน

แม้แต่จีน และแอฟริกายังนำเข้าข้าวหอมจากเวียดนามมากขึ้น เพราะข้าวเวียดนามมีราคาที่แข่งขันได้มากกว่าข้าวไทย ส่วนออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้เริ่มนำเข้าข้าวหอมจากเวียดนาม และได้ไปปรากฏตัวครั้งแรกในสหรัฐฯ เมื่อปลายปี 2558

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคสหรัฐฯ กลับชื่นชอบข้าวเวียดนามน้อยกว่าข้าวไทย แม้สินค้าของเวียดนามจะจำหน่ายถูกกว่า โดยข้าวหอมมะลิไทยส่งออกที่ 1,075 ดอลลาร์ต่อตัน ส่วนข้าวบาสมาติ ของอินเดียอยู่ที่ 1,525 ดอลลาร์ต่อตัน

แม้ปริมาณส่งออกข้าวหอมของเวียดนามจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้กลับอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ราคาส่งออกข้าวหอมของเวียดนามเท่ากับ 50% ของราคาส่งออกข้าวของกัมพูชา และไทย และในสหรัฐฯ ข้าวหอมไทยมีส่วนแบ่งตลาดถึง 80% ตามการระบุขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

กัมพูชา ยังถือเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากสำหรับเวียดนาม ถึงแม้กัมพูชาจะไม่สามารถเทียบกับเวียดนามได้ในแง่ของปริมาณการส่งออก แต่ราคาส่งออกของกัมพูชานั้นสูงกว่า โดยข้าวหอมมะลิของกัมพูชาสามารถจำหน่ายได้ในราคา 820-850 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะที่ข้าวหอมมะลิของเวียดนาม ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 450-620 ดอลลาร์ต่อตันเท่านั้น

เวียดนามยังคงลังเลระหว่างการผลิตข้าวหอมคุณภาพสูง หรือข้าวที่ให้ผลผลิตสูงแต่ราคาถูก

สมาคมอาหารเวียดนามต้องการที่จะพัฒนาข้าว จัสมิน 85 ให้เป็นข้าวของประเทศ แต่ศาสตราจารย์ชาวเวียดนามที่เชี่ยวชาญด้านข้าว ระบุว่า ข้าวหอมมะลิไม่ได้รับความสนใจในหลายประเทศ ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิของเวียดนามสามารถขายได้ในราคาเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของข้าวหอมมะลิไทย และ 1 ใน 3 ของข้าวบาสมาติ อินเดีย เพราะผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเสนอราคาต่ำหวังช่วงชิงสัญญาการส่งออก

ด้านผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเอเชียแปซิฟิก ในฟิลิปปินส์ ระบุว่า เวียดนามไม่ควรตามไทย หรือมุ่งไปที่การผลิตข้าวหอม แต่ควรมุ่งไปที่สายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ที่มีราคาจำหน่ายที่ 700-800 ดอลลาร์ต่อตัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น