xs
xsm
sm
md
lg

พม่าสั่งหยุดนำเข้ารถแท็กซี่ ย่างกุ้งมี 13,000 คันแต่จราจรสาหัส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>คนขับแท็กซี่จอดรถริมถนนสายหนึ่งในกรุงเก่าย่างกุ้งวันที่ 27 ก.ย.2554 รถคันนี้อาจจะอยู่มานานถึง 40 ปี แต่สีมันแผล็บข้างในเป็นเครื่องยนต์ใหม่มือสอง นโยบายห้ามนำเข้ารถยนต์ของรัฐบาลทหารในอดีต ทำให้สาธารณชนต้องซ่อมรถเก่าใช้ จำนวนถูกจำกัดเอาไว้เพียง 100,000 คันเศษๆ แต่ 2 ปีมานี้มีรถใหม่นำเข้าบนท้องถนนอีก 200,000 คันตามนโยบายใหม่ทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสน รวมทั้งแท็กซี่ราว 30,000 คันด้วย. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.</b>

MGRออนไลน์ -- รัฐบาลพม่ามีประกาศให้ยุติการนำเข้ายานพาหนะเพื่อใช้เป็นรถรับจ้างประเภทรถแท็กซี่ โดยสั่งให้ทางการรัฐ กับ เขตปกครองทั่วประเทศ หยุดออกใบอนุญาตนำเข้ารถประเภทนี้ ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาโดยไม่ได้ให้เหตุผลใดๆ และ ยังไม่ทราบว่า จนถึงบัดนี้มีการนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพื่อใช้ทำแท็กซี่ เป็นจำนวนทั้งหมดกี่คัน

นับตั้งแต่เริ่มเปิดประเทศ รถแท็กซี่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย รัฐบาลได้ออกประกาศลงวันที่ 25 ม.ค.2559 ให้ยุติการนำเข้า และหยุดการออกใบอนุญาต หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ รายงานเรื่องนี้อ้างเจ้าหน้าที่ขนส่งในเขตมัณฑะเลย์

รัฐบาลทหารภายใต้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง อนุญาตให้นำเข้ารถแท็กซี่ได้ตั้งแต่เดือน เม.ย.2553 ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศ ทางการรัฐและเขตปกครองต่างๆ ได้เริ่มดำเนินการตามความพร้อมของและท้องถิ่น สำหรับเขตมัณฑะเลย์ได้รับอนุญาตโควตานำเข้ารถยนต์ เพื่อใช้ทำแท็กซี่จำนวนทั้งหมด 4,792 คัน และ ระหว่างปี 2556-2558 ได้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทเอกชนจำนวน 77 แห่ง

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ จนถึงเดือน ธ.ค.2558 รัฐบาลอนุญาตให้ออกใบอนุญาตนำเข้ารถแท็กซี่ได้ทั่วประเทศรวม 31,596 คัน ในนั้นเขตย่างกุ้งได้มากที่สุดคือ 13,175 คัน รองลงมาเป็นเขตมัณฑะเลย์ และ รัฐกะเหรี่ยงที่อยู่ติดชายแดนไทยเป็นอันดับสาม จำนวนเท่าๆ กันคือ ได้ 4,764 คัน ขณะที่เขตอิรวดีมี 4,136 คันเป็นอันดับสี่ รัฐชาน 3,370 คัน มากเป็นอันดับที่ห้า

ในที่อื่นๆ เขตพะโค 430 คัน เขตตะนาวศรีทางตอนใต้ของประเทศทั้งเขตได้ 350 คัน เขตมาเกว 200 คัน รัฐมอญ 129 คัน เขตสะกาย กับ รัฐกะยาที่อยู่เหนือรัฐกะเหรี่ยงขึ้นไป ได้แห่งละ 100 คัน

หลายฝ่ายเชื่อว่าการสั่งหยุดออกใบอนุญาตนำเข้ารถแท็กซี่ เป็นอีกมาตรการหนึ่งเพื่อดึงดูดการลงทุน และ สนับสนุนอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นรายใหญ่ต่างมุ่งเข้าไปในพม่า รวมทั้งรถยนต์นิสสันที่ประกาศจะเข้าไปเปิดสายการผลิตในประเทศนี้เป็นครั้งแรก

บางคนให้ความเห็นในเฟซบุ๊กว่า ในแต่ละรัฐและเขตปกครองล้วนมีเหตุผลต่างกันไป หลายท้องถิ่นยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนของรัฐ แต่ในนครย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ปัจจุบันมีรถยนต์มากเกินไป ทางการขยายถนนไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดสาหัส

นอกจากนั้นทางการกรุงเก่ากำลังเร่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ทั้งระบบรางและรถบัสโดยสาร โดยมีนโยบายให้ประชาชนหันมาใช้บริการแทนรถยนต์ส่วนตัว ขณะเดียวกันก็เร่งก่อสร้างถนนสะพานเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาการจราจร

รัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศมาเป็นเวลา 50 ปีก่อนหน้านี้ ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเมืองจากโลกตะวันตก ไม่อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ เลย ยกเว้นจะได้รับการพิจารณาเฉพาะกรณีไป ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงมาก และต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป 100% รวมทั้งเพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศที่หายากด้วย

ไม่กี่ปีมานี้รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่ทุกประเภทจำนวน ประมาณ 200,000 คัน ผู้ที่เดินทางเข้าพม่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จึงมีโอกาสได้เห็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และ รถโดยสารสาธารณะรุ่นใหม่ ซึ่งนำไปใช้แทนรถยนต์รุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทั้งนี้ยังไม่ทราบจำนวนที่นำเข้าจริงทั้งหมด.
.
<br><FONT color=#000033>ทั้งป้ายเหลือง ป้ายแดง เป็นแท็กซี่ใหม่ๆ ทั้งนั้น ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคเปิดประเทศ 3-4 ปีมานี้ นครย่างกุ้งมีรถรับจ้างประเภทนี้เพียง 13,000 คัน และ ทั้งประเทศมี 31,000 คันเศษ รถใหม่ทั้งสิ้น รถที่ใช้มาแต่หลังสงครามโลกเริ่มหายไปจากท้องถนน ตอนนี้รัฐบาลสั่งหยุดนำเข้ารถแท็กซี่ใหม่อีกครั้งหนึ่งแล้ว. -- GNLM.   </font></b>
2
กำลังโหลดความคิดเห็น