xs
xsm
sm
md
lg

ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? ผู้เชี่ยวชาญพม่าสงสัยแพนด้าแดงในมัณฑะเลย์ที่แท้อาจเป็นหมีหิมาลัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>รายงานข่าวในสื่อของทางการพม่าเกี่ยวกับการบริจาคแพนด้าแดงที่พบในรัฐชานให้กับสวนสัตว์เมืองมัณฑะเลย์นั้น นำมาซึ่งความสงสัยว่า สัตว์ที่ปรากฎอยู่ในภาพข่าว (ในกรอบสีแดง) น่าจะเป็นหมีหิมาลัยมากกว่า ด้วยลักษณะทางกายภาพและสถานที่้ค้นพบตามการระบุของเจ้าหน้าที่จากหน่วยอนุรักษ์สัตว์ป่า. -- ภาพ : Myanmar.com/The New Light of Myanmar.</font></b>

เอเอฟพี - ความสงสัยก่อตัวขึ้นในวันนี้ (15) เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจของแพนด้าตัวน้อยที่ได้รับการช่วยเหลือ และถูกบริจาคให้แก่สวนสัตว์เมืองมัณฑะเลย์ หลังผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า รูปถ่ายที่ปรากฏในสื่อของทางการแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตดังกล่าวนั้นดูคล้ายหมีดำมากกว่า

หนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานว่า “แพนด้าหิมาลัย” -- คำจำกัดความที่บางครั้งใช้เรียกแพนด้าแดงที่มีขนสีทองแดงขนาดเล็ก ถูกพบในพื้นที่ห่างไกลของรัฐชาน ทางภาคตะวันออกของประเทศ ใกล้กับชายแดนไทย

แพนด้าน้อยตัวดังกล่าวถูกบริจาคให้แก่สวนสัตว์มัณฑะเลย์ยาดานาบอน ตามรายงานที่ระบุอ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและกรมป่าไม้ แต่ภาพถ่ายที่ประกอบมากับรายงานชิ้นดังกล่าวกลับแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตที่อ้างว่าเป็นแพนด้านั้น มีสีดำตั้งแต่จมูกจรดอุ้งเท้า

“ดูจากรูปข่าวมันไม่ใช่แพนด้า มันเป็นหมีหิมาลัยที่พบได้ทั่วไปในพม่า” เจ้าหน้าที่จากหน่วยอนุรักษ์สัตว์ป่าของกรมป่าไม้ กล่าวต่อเอเอฟพี และย้ำว่า แพนด้าไม่เคยปรากฏว่าถูกพบในรัฐชาน

“เรามีแพนด้าแดงในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ แต่ผมไม่รู้ว่าพวกมันมีจำนวนมากเท่าใด” เจ้าหน้าที่ กล่าว

ความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตัวนี้ได้แพร่สะพัดอย่างรวดเร็วบนสื่อสังคมออนไลน์

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ซึ่งเป็นบัญชีของสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ระบุว่า แพนด้าแดงพบเฉพาะในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือใกล้กับชายแดนจีน

ความสับสนเกี่ยวกับแพนด้าครั้งนี้ได้ฟื้นความทรงจำถึงลักษณะของสัตว์ที่ถูกทำให้เข้าใจผิดในที่อื่นๆ เช่น ในปี 2556 สวนสัตว์จีน นำสุนัขพันธุ์ทิเบตันมาสทิฟฟ์ มาจัดแสดงว่าเป็นสิงโตแอฟริกา แต่ความจริงถูกเปิดเผยเมื่อสุนัขเริ่มส่งเสียงเห่าออกมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น