xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” ตั้ง “ฉ่วยมาน” นั่งหัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ฉ่วย มาน อดีตประธานรัฐสภาที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับอองซานซูจีมากขึ้นในช่วงหลัง ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่หัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านกฎหมายต่อรัฐสภา. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu</font></b>

รอยเตอร์ - พรรคการเมืองของอองซานซูจี ในวันนี้ (5) ได้เสนอชื่อ ฉ่วย มาน หนึ่งในนักการเมืองที่มีอิทธิพลมากที่สุดของประเทศ เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ในขณะที่รัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่เตรียมที่จะเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ

ฉ่วย มาน อดีตหมายเลข 3 ในรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองพม่ามานานครึ่งศตวรรษก่อนเปิดทางให้รัฐบาลกึ่งพลเรือนในปี 2554 ที่มีความสนิทสนมกับซูจี มากขึ้นในช่วงการทำงานของสภานิติบัญญัติชุดก่อน ได้กลายเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญนับตั้งแต่ซูจี ชนะการเลือกตั้งในเดือน พ.ย.

การเลือกตั้งที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี ชนะที่นั่งในการเลือกตั้งถึง 80% เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านอันยาวนานที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 เม.ย. เมื่อรัฐบาลชุดใหม่เริ่มต้นการทำงานอย่างเป็นทางการ

รัฐสภาที่พรรค NLD ครองเสียงข้างมากได้เริ่มต้นการประชุมในสัปดาห์นี้ และการแต่งตั้งฉ่วย มาน อดีตประธานสภา จะทำให้ซูจี เข้าถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกองทัพของฉ่วย มาน และรัฐบาลที่จะหมดวาระลง เพื่อเพิ่มอำนาจในการประชุม

ฉ่วย มาน ที่สูญเสียที่นั่งในสภาให้แก่ผู้สมัครจากพรรค NLD ในการเลือกตั้งปีก่อน จะนำคณะทำงานที่เกี่ยวข้องต่อกิจการด้านกฎหมาย ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการ และสมาชิกของกองทัพที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกกฎหมาย

“หน้าที่ของคณะคือ การให้คำปรึกษาต่อรัฐสภาผ่านประธานสภาในเรื่องกฎหมาย และเรื่องพิเศษต่างๆ” เป มี้น นักวิเคราะห์การเมือง และนักเขียนที่มีชื่อเสียง กล่าว

คณะทำงานชุดนี้ หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการกิจการด้านกฎหมายและตรวจสอบเรื่องพิเศษ เป็นสิ่งหนึ่งที่ฉ่วย มาน ตั้งขึ้นในปี 2554 เพื่อแก้ไขการขาดแคลนทรัพยากรของรัฐสภา ซึ่งคณะกรรมการชุดเก่าได้หมดวาระลงในเดือน ม.ค.

การอยู่ในรัฐสภาอย่างต่อเนื่องของฉ่วย มาน อาจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับซูจีในช่วงสองเดือนข้างหน้าเมื่อสภาต้องตัดสินว่าใครจะเป็นผู้บริหารประเทศ

รัฐสภาแบ่งเป็นสองฝ่ายระหว่าง NLD ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ และทหาร ที่สงวนที่นั่ง 1 ใน 4 ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเผด็จการทหารร่างขึ้น

รัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหลักของความขัดแย้งระหว่างกองทัพ และ NLD เมื่อรัฐธรรมนูญขัดขวางซูจี จากตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะทายาทของซูจีเป็นชาวต่างชาติ แต่ผู้นำพรรค NLD ให้คำมั่นว่าจะนำรัฐบาลด้วยการอยู่เหนือประธานาธิบดี

พรรคของซูจี ได้จัดการหารือเกี่ยวกับถ่ายโอนอำนาจกับทหาร แต่ยังไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่อย่างใด และไม่แน่ชัดว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้ซูจีนั่งตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทหารคัดค้านอย่างหนัก เป็นหนึ่งในเรื่องที่นำขึ้นเจรจาหรือไม่

รัฐธรรมนูญปี 2551 บังคับให้พรรค NLD และกองทัพต้องแบ่งอำนาจกัน ด้วยการให้กองทัพควบคุมกระทรวงด้านความมั่นคง 3 กระทรวง ที่ปกครองการบริหารเป็นส่วนใหญ่.
กำลังโหลดความคิดเห็น