xs
xsm
sm
md
lg

ผู้เชี่ยวชาญวิตกอาคารโบราณในย่างกุ้งถูกทำลายมากขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 4 ก.พ. เผยให้เห็นการก่อสร้างอาคารอยู่ในย่านใจกลางนครย่างกุ้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ของพม่าเผยว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีการรื้อถอนทำลายอาคารสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่หลายหลัง เพิ่มความวิตกถึงปัญหาการแย่งชิงที่ดินเพื่อนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ในช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครองจากรัฐบาลชุดเก่าไปสู่รัฐบาลชุดใหม่ของอองซานซูจี. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - ทีมก่อสร้างได้เข้ารื้อถอนอาคารเก่าแก่ของนครย่างกุ้งไปหลายหลังในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ตามการเปิดเผยของผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ของพม่า ที่เพิ่มความวิตกว่า นักพัฒนากำลังรีบเร่งรื้อถอนก่อนรัฐบาลอองซานซูจีจะเข้าครองอำนาจ

นครย่างกุ้ง เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของพม่าอยู่ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างมากมายที่เป็นผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเมืองภายใต้รัฐบาลกึ่งพลเรือน นำโดยอดีตนายพลในรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการยกอำนาจให้แก่พรรคของซูจี หลังพรรคชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในเดือน พ.ย.

แต่ ถั่น มี้น อู นักประวัติศาสตร์ และผู้ก่อตั้ง Yangon Heritage Trust กองทุนปกป้องและรักษาสถาปัตยกรรมรวมทั้งอาคารและบ้านเรือนเก่าสมัยอาณานิคมในนครย่างกุ้ง ได้แสดงความวิตกถึงการทำลายอาคารเก่าแก่ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้

“ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นการรื้อถอนเพิ่มมากขึ้น ทั้งอาคารในย่านใจกลางเมือง 6-7 แห่ง และยังมีการก่อสร้างใหม่ที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นด้วย” ถั่น มี้น-อู กล่าว

การรื้อถอนอาคารที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ยังรวมทั้งบ้านไม้สักโดดเด่น สถานีตำรวจ และอาคารพาณิชย์ ตามการระบุของกองทุน

ถั่น มี้น-อู กล่าวว่า เขาสงสัยว่า การเพิ่มจำนวนขึ้นของการรื้อถอนอาคารมีความเชื่อมโยงต่อการเปลี่ยนแปลงอำนาจที่ตึงเครียดของประเทศ

“ผู้คนไม่ทราบเลยว่าอะไรเกิดขึ้นอีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล” มี้น-อู กล่าว และเสริมว่า เขาคาดหวังว่ารัฐสภาชุดใหม่จะเข้มงวดกวดขันกฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง

นครย่างกุ้ง มีพื้นที่ที่ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่มรดก 189 รายชื่อ แต่ยังขาดกฎหมายคุ้มครองรักษาอาคาร ที่หลายหลังทรุดโทรมผุพัง หรือถูกรื้อถอนเพื่อพัฒนาใหม่

นครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เข้าทำหน้าที่แทนรัฐบาลเผด็จการทหารในปี 2554 ที่ดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้นจากการปฏิรูปประเทศ

เครนก่อสร้างผุดขึ้นให้เห็นตามเส้นขอบฟ้า ถนนที่เคยเงียบเชียบก็เต็มแน่นไปด้วยรถยนต์นำเข้าใหม่ๆ

การเปลี่ยนแปลงยังนำมาซึ่งการแย่งชิงที่ดิน ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นที่ยากจนและรัฐ ในประเทศที่สิทธิการเป็นเจ้าของยังคงคลุมเครือ ขณะที่ทหาร และคนชนชั้นสูงถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางถึงการยึดที่ดิน

การจัดการต่อการแข่งขันแย่งชิงการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของมีแนวโน้มที่จะเป็นความท้าทายหลักสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ของพรรคซูจี

ในสัปดาห์นี้ คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพม่า ได้ยกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการไล่ที่ที่คนของรัฐเข้ารื้อถอนบ้านหลายร้อยหลังในย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์

คณะกรรมการระบุว่า เจ้าหน้าที่ล้มเหลวที่จะทำตามคำสัญญาที่จะจัดหาอาหาร ที่อยู่อาศัยชั่วคราว และการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ไร้บ้านจากการถูกไล่ที่เหล่านี้

“ในความเป็นจริงไม่มีความช่วยเหลือให้แก่พวกเขา ทำให้พวกเขาต้องดูแลตัวเอง อย่างดีที่สุดที่พวกเขาทำได้คือ ข้างถนน” คำแถลงระบุ และเรียกร้องเจ้าหน้าที่เข้าดูแลเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

และในเหตุการณ์ไล่ที่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ทางการได้ใช้รถขุดเข้าทำลายบ้านเกือบ 500 หลัง บนที่ดินที่อยู่ถัดจากโรงงานของทหารย่านชานนครย่างกุ้ง ปล่อยให้ชาวบ้านไร้ที่อยู่ ซึ่งหลายคนระบุว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างความตกตะลึงอย่างมากหลังได้รับการแจ้งเตือนเพียงแค่วันเดียว

ทิน เม วิน อายุ 42 ปี กล่าวว่า ครอบครัวของเธอใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เกือบ 20 ปี ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้างเมื่อพวกเขามาถึงเป็นครั้งแรก

“เจ้าของไม่เคยปรากฏตัวเลยตลอด 18 ปี ที่ฉันอาศัยอยู่ที่นี่” เม วิน กล่าว.
.
<br><FONT color=#000033>อาคารยุคอาณานิคมมีปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปในนครย่างกุ้ง. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าเดินข้ามถนนหน้าอาคารที่ทำการไปรษณีย์ย่างกุ้ง ที่เป็นตึกเก่ายุคอาณานิคมอังกฤษ. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น