xs
xsm
sm
md
lg

"อู่กรุงเทพ" คึกคักต่อ OPV ลำที่ 2 กองทัพเรือ เมดอินไทยแลนด์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ร.ล.กระบี่ขนาด 1,960 ตัน แล่นเข้าขบวนกับเรือลำอื่นๆ ในภาพที่ไม่ได้ระบุวันถ่าย กลายเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาดใหญ่ที่สุดของราชนาวี เมื่อเทียบกับเรือประเภทเดียวกัน คือ เรือชุด ร.ล.ปัตตานี กับ ร.ล.นราธิวาส (1,460 ตัน) และ ร.ล.มกุฏราชกุมาร (1,900 ตัน) ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นเรือฟริเกต ยังไม่ทราบกำหนดการการต่อเรือลำใหม่ในขณะนี้ แต่เริ่มเตรียมการกันคึกคัก. -- ภาพ: เฟซบุ๊ก/ร.ล.กระบี่. </b>

MGRออนไลน์ -- ถึงแม้บริษัทบีเออีซีสเต็มส์ (BAE Systems) แห่งสหราชอาณาจักร เพิ่งออกคำแถลงเมื่อไม่กี่วันมานี้ พร้อมสนับสนุน "อู่กรุงเทพ" ต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 ของกองทัพเรือไทยในทุกด้านก็ตาม แต่อู่ต่อเรือทันสมัยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การควบคุมของราชนาวี ได้เริ่มเตรียมการเรื่องนี้มาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่แล้ว สำหรับการต่อเรือรบชุดใหม่ล่าสุดจำนวน 3 ลำ ชุดเดียวกันกับเรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นลำแรกในโครงการ ต่อเสร็จและขึ้นระวางประจำการตั้งแต่ปี 2556

บริษัทอู่กรุงเทพจำกัด ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเป็น "ผู้ตรวจอนุมัติแบบ (Plan Approval Drawing) เพื่ออนุมัติแบบและการตรวจการสร้างเรือโดยสมาคมจัดชั้นเรือ" โดยบริษัทลอยด์รีจิสเตอร์เอเชีย (Loyd Register Asia) ได้รับเลือกให้เป็นผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว ในราคา 102,185 ดอลลาร์

การจัดจ้างผู้ตรวจอนุมัติแบบแปลนฯ ดังกล่าว นับเป็นขั้นตอนแรกๆ ที่จำเป็น สำหรับการต่อเรือขนาดใหญ่ลำหนึ่งให้ได้ถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในหลายด้านสำหรับเจ้าของเรือในอนาคต และ นี่กำลังจะเป็นเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (Offshore Patrol Vessle) ลำที่ 2 ของราชนาวีไทย ที่ต่อในประเทศไทยโดยคนไทย

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ของอู่กรุงเทพ วันเดียวกันบริษัทยังประกาศผลการรายชื่อผู้เสนอราคา จัดซื้อใบจักรเรือ เพลาในจักรเรือ และระบบที่เกี่ยวข้อง สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง โดยมีผู้ได้รับคัดเลือกเพียง 1 รายอีกเช่นกัน คือ บริษัทไทยโคลอน ด้วยมูลค่ากว่า 2,544,000 ยูโร
.

.

.
บริษัทนี้กำลังดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์สำหรับเรือโอพีวีลำที่ 2 อีกหลายรายการ จำนวนหนึ่งเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ พร้อมทั้งแสดงวงเงินงบประมาณ และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่สัปดาห์ปลายเดือนที่ผ่านมา ไปจนถึงปลายเดือน ก.พ.นี้

วันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา บีเออีซีสเต็มส์ได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับการบรรลุกข้อตกลงกับอู่กรุงเทพ ในการต่อเรือ OPV ลำที่ 2 ภายใต้ใบอนุญาต โดยจะสนับสนุนทางด้านวิศวรกรรม และให้คำปรึกษาตลอดโครงการต่อเรือลำใหม่ในประเทศไทย ต่อจาก ร.ล.กระบี่

แต่เรื่องนี้่ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียเลยทีเดียว หากเคยเป็นข่าวระแคะระคาย ผ่านสำนักข่าวกลาโหมชั้นนำอย่างเจนส์ดีเฟนส์มาตั้งแต่ครั้งมีงานแสดงอาวุธเพื่อการป้องกันประเทศ ที่ศูนย์นิทรรศการอิมแพ็คท์ เมืองทองธานี ต้นเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว โดยผู้แทนของบีเออีซีสเต็มส์เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้สถาปนาการเป็นหุ้นส่วนกับรัฐวิสาหกิจต่อเรือของกระทรวงกลาโหมไทย เพื่อต่อเรือ OPV ลำที่สอง
.
<br><FONT color=#00003>เรือหลวงกระบี่ (HTMS Krabi, OPV-551) ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ก่อนมีพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อปี 2556  ได้ชื่อเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำแรกที่ต่อในประเทศไทย ส่วนลำที่ 2 ในโครงการทั้งหมด 3 ลำ จะต่อโดยบริษัทอู่กรุงเทพจำกัด รัฐวิสาหกิจของกระทรวงกลาโหม ยังไม่ทราบกำหนดพิธีวางกระดูกงูในขณะนี้ แต่การเตรียมการกำลังดำเนินไปอย่างคึกคัก. -- ภาพ: BAE Systems.</b>
2
เมื่อปี 2552 บีเออีกับฝ่ายไทยได้เซ็นสัญญา การจัดหาเรือ OPV ลำแรก ที่กลายมาเป็น ร.ล.กระบี่ในวันนี้ โดยเป็นเรือดัดแปลงจากเรือชั้นริเวอร์ (River-Class) ของราชนาวีอังกฤษ ที่มีความยาวราว 80 เมตร เรือลำใหม่ขยายส่วนออกเป็น 90 เมตร และ มีขนาดเกือบ 2,000 ตัน

ก่อนหน้านี้อู่ต่อเรือในสกอตแลนด์ได้ต่อเรือขนาดเดียวกัน แบบเดียวกับ ร.ล.กระบี่จำนวน 3 ลำ ให้แก่กองทัพเรือบราซิล มีการส่งมอบและ ขึ้นระวางประจำการครบทั้งหมด ระหว่างปี 2556-2557 ยังมีเรือแบบเดียวกันนี้อีก 3 ลำ ที่ต่อให้ราชนาวีอังกฤษ โดยลำแรกเข้าประจำการเรียบร้อยแล้ว

การต่อเรือ ร.ล.กระบี่เริ่มขึ้นในปี 2553 โดยมีพิธีวางกระดูกงูในเดือน ส.ค. ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ในบริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ การต่อเรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ BAE Systems Surface Ship ก่อนจะมีการส่งมอบ และ ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเดือน ส.ค.2556 กลายเป็นเรือ OPV ลำแรกที่ต่อในประเทศไทย โดยฝีมือของวิศวกรและช่างชาวไทย ด้วยมูลค่าราว 80 ล้านดอลลาร์
.

[ภาพ: เฟซบุ๊ก/เรือหลวงกระบี่]

3

4

5
ตามข้อมูลในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ร.ล.กระบี่ ยาว 90 เมตร กว้าง 13.60 เมตร ขนาดระวาง 1,800-1,850 จนถึงกว่า 1,900 ตันเมื่อบรรทุกเต็มอัตรา ติดเครื่องยนต์ดีเซล V6 จำนวน 2 เครื่อง (9,700 แรงม้าเรือ) ความเร็วสูงสุด 24 น็อต (44 กม./ชม.) ระยะปฏิบัติการ 7,800 ไมล์ทะเล (กว่า 14,440 กม.) ในความเร็วปรกติ 12 น็อต

เรือติดตั้งระบบเรดาร์ตรวจไกลของทาเลส (Thales) กับเรดาร์ควบคุมการยิงทาเลส ไลร็อด (Thales Lirod)

ระบบอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่เรือ 76/62 มม. โอโต-เมลารา (OTO-Melara) จำนวน 1 กระบอก ปืนใหญ่ 30 มม.อัตโนมัติ Mk44 "บุชมาสเตอร์ II" (Bushmaster II) จำนวน 2 กระบอก และ ปืนกล 12.7 มม. อีก 2 กระบอก มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ AW139 ของอกุสตาเวสต์แลนด์ (AgustaWestland) อีก 1 ลำ

ตามรายงานในเฟซบุ๊ก ร.ล.กระบี่ หลังขึ้นระวางได้ไม่กี่เดือน เรือ OPV ลำแรกที่ต่อในประเทศไทย ได้ออกเดินทางไกลแล่นไปอวดธงถึงอ่าวซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นการพิสูจน์ฝีมือต่อเรือโดยคนไทย.
กำลังโหลดความคิดเห็น