xs
xsm
sm
md
lg

หม่องเครียดยางราคาตกตัดต้นขายไม้ดีกว่า กิ่งทำฟืนขายได้อีก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เมื่อยังมองไม่เห็นแสงสว่างทางปลายอุโมง ทางออกของเกษตกรในรัฐมอญก็คือ โค่นต้นยางที่โตเต็มแล้วเพื่อขายเป็นไม้ซุง ส่งป้อนตลาดไม้แปรรู ปกับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในนครย่างกุ้ง ทำให้มีรายได้หมุนเวียน แต่คำถามเก่าๆ ก็ผุดขึ้นมาอีก คือ แล้วจะปลูกอะไรแทน จึงจะไม่เกิดปัญหาแบบยางพาราอีก.  -- Global New Light of Myanmar. </b>

MGRออนไลน์ -- ชาวสวนยางในรัฐมอญจำนวนมากพากันโคนต้นยาง หลังราคาดิ่งลงเรื่อยๆ การนำไม้ยางพาราขนาดใหญ่ไปขาย ทำให้ชาวสวนมีรายได้ดีกว่าขายยาง ซึ่งฤดูปัจจุบันให้น้ำยางน้อยลง ขณะเดียวกิ่งไม้จากต้นยาง ยังนำไปทำไม้ฟืนคุณภาพดี ส่งขายตลอดในท้องถิ่น เป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

แต่ใมนขณะเดียวกัน หลังจากโค้นต้นยางทิ้งแล้ว ชาวสวนยางก็ยังคงสิ้นหวัง ยังไม่แน่ใจว่าจะผลูกพืชเศรษฐกิจชนิดไหนแทนยางพารา ที่นโญบายไใม่แน่ไม่นอน หนังสือพิมพ์กึ่งทางการรายงานเรื่องนี้ในฉบับวันเสาร์

โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ กล่าวว่าชาวสวนยางแห่งเมืองตะโถ่ง (Thaton) เดือดร้อนที่ยางขายไม่ได้ราคา ขณะเดียวกันต้นยางก็ยังให้น้ำยางน้อยลงอีกด้วย แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับว่า มีเกษตรกรจำนวนกี่ราย ที่ตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้ง และ นยางพาราถูกตัดลงไปเป็นเนื้อที่รวมกันเท่าไร

อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า ตะโถ่งและรัฐมอญเป็นสวนยางขนาดใหญ่ของประเทศในช่วงหลายปีมานี้ ยางพารายังปลูกมากในเขตพะโค ที่อยู่ติดกัน และ เขตตะนาวศรีที่ทอดยางลงไปทางใต้ทั้งแถบ

"ตอนนี้เรากำลังขาดคนงานช่วยทำสวนยางอีกด้วย เรายังไมท่รู้เลยหลังโค้่นต้นยางแล้งจะปลูกอะไรแทน ในสวนของเรา" หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันอ้างชาวสวนคหนึ่ง

ยางขายไม่ได้ราคาและต้่นยางให้นำยางน้อยลง ทำให้คนงานลูกจ้างรายวันว่างงานไประยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้คนงานมีงานทำอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่งานกรีดยาง หากเป็นงานตัดโค้นต้นยาง และ นำไม้ซุงต้นยางส่งตลอดในนครย่างกุ้ง ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำวันละ 8,000-10,00 จ๊าต (223-280 บาท)

ชาวสวนในรัฐมอญติรัฐบาลที่ขาดนโยบายแน่นอน เกี่ยวกับการควบคุมการทำสวนยางพารา และ ไม่มีการควบคุมราคายางที่ผลิตได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าพม่าก็เช่นกันกับประเทศเพื่อนบ้านย่านนี้ ที่ในยุคหนึ่งรัฐบาลส่งเสริมการทำสวนยางอย่างไม่จำกัด ทำให้มีการขยายเนื้อที่สวนยางออกไปอย่างกว้างขวาง โดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุด เช่นเดียวกันกับยางพาราจากประเทศเพื่อนบ้าน

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ จนถึงสิ้นปี 2551 ทั่วประเทศมีพื้นที่สวนยางรวมกันประมาณ 2.27 ล้านไร่เศษ ในนั้นให้น้ำยางได้แล้วราว 1 ล้านไร่ ผลิตยางแผ่นได้ปีละประมาณ 80,000 ตันเท่านั้น ผลผลิตต่อไร่ยังต่ำ แต่ก็ผลิตได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าพื้นที่สวนยางจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณในเดือน มี.ค.2552

ในปี 2555 รัฐบาลพม่ากกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ เปิดรับทุนต่างชาติในแขนงอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างใหญ่โต โดยมีปาล์มน้ำมันกับยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ทำให้เชื่อกันว่า จนถึงสิ้นปี 2558 ในพม่าอาจจะให้สัมปทานเนื้อสวนยางไปแล้วเกือบ 10 ล้านไร่.
กำลังโหลดความคิดเห็น