xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยเผยการรักษาโรคมาลาเรียในกัมพูชาล้มเหลวเหตุเชื้อดื้อยามากขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือน ก.ค. 2555 เจ้าหน้าที่ชาวกัมพูชากำลังติดป้ายเตือนระวังยุงในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของ จ.ไพลิน ห่างจากกรุงพนมเปญราว 350 กิโลเมตร. -- Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>

รอยเตอร์ - ปรสิตที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียในหลายพื้นที่ของกัมพูชาได้พัฒนาความต้านทานต่อตัวยาสำคัญที่ใช้รักษาโรคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่ระบุในงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อวันพฤหัสบดี (7) ในวารสาร Lancet Infectious Diseases

การใช้ยา Piperaquine ร่วมกับยา Artemisinin เป็นรูปแบบการรักษาโรคมาลาเรียในกัมพูชานับตั้งแต่ปี 2551

การใช้ตัวยารักษาร่วมกันเช่นนี้เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีอยู่เพียงไม่กี่แบบที่ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยาหลายชนิดที่ปรากฏขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และเป็นสายพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญวิตกว่า อาจแพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ของโลก

“การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการดื้อยา ทั้งตัวยา Artemisinin และ Piperaquine และมักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ใช้ตัวยา Dihydroartemisinin ร่วมกับยา Piperaquine” นักวิจัย กล่าว

การดื้อยา Artemisinin พบใน 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม และการดื้อยาทั้งตัวยา Artemisinin และตัวยาที่ใช้รักษาร่วมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของกัมพูชา และไทย

ผู้เชี่ยวชาญวิตกว่า การดื้อยา Artemisinin จะแพร่ไปสู่พื้นที่แอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ที่ผู้ป่วยจากโรคมาลาเรียร้อยละ 90 เสียชีวิต

“เพราะการรักษาด้วยการผสมผสานตัวยา Artemisinin มีอยู่เพียงไม่กี่วิธี และเพราะการดื้อยา Artemisinin มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเร่งการดื้อยาต่อตัวยาร่วมอื่นๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสอบสวนหาแนวทางการรักษาทางเลือก” นักวิจัย กล่าว

“การแพร่กระจายอย่างรุนแรงของการดื้อยา Artemisinin ในกัมพูชากำลังคุกคามอย่างรวดเร็วต่อการลดประสิทธิภาพในการรักษาแบบผสมผสานตัวยา กับยา Artemisinin ทุกรูปแบบที่ใช้ในกัมพูชา และในพื้นที่พรมแดนติดกับเวียดนาม ลาว และกัมพูชา” งานวิจัย ระบุ

ผู้ป่วยมาลาเรียในพื้นที่ที่โรคมาลาเรียดื้อยาควรรับการรักษาในโรงพยาบาล นักวิจัย ระบุ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประชาชนราว 3,200 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของประชากรโลก มีความเสี่ยงในการติดเชื้อมาลาเรีย.
กำลังโหลดความคิดเห็น