xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามกังวลปีนี้แรงงานเออีซีทะลักเข้า ซ้ำเติมปัญหาว่างงานในประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกขนาดใหญ่แห่งนี้อยู่ใน จ.บั๊กซยาง (Bac Giang) ทางทิศตะวันออกกรุงฮานอย ว่าจ้างพนักงานหลายร้อยคน ผลิตทั้งเสื้อผ้าและรองเท้าให้แก่หลายยี่ห้อ ทั้งไนกี้ อะดีดาส เอชแอนด์เอ็ม แก็บ ซาร่า อาร์มานี และ ลากอสต์ เมื่อปี 2557 มูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ทะลุ 31,000 ล้านดอลลาร์ หลายฝ่ายเกรงว่า ปีนี้จะมีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้าไปแย่งงานคนในท้องถิ่น. -- Reuters/Kham. </b>

MGRออนไลน์ -- ภาคเอกชนเวียดนามมองปีใหม่ 2559 ด้วยภาพรวมที่น่าวิตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะหลั่งไหล ผ่านประตูพรมแดนเสรีเข้าหางานทำ ในประเทศที่เศรษฐกิจขายตัวสูงที่สุดในรอบ 5 ปี และ จะสร้างวิกฤติขึ้นในตลาดแรงงานรวม ในขณะที่ปัจจุบันมีชาวเวียดนามว่างงานอยู่กว่า 1 ล้านคน สอันเป็นสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เวียดนามเพิ่งจะพ้นภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมาหลายปี ประสบปัญหาการว่างงานอย่างหนัก การหลั่งไหลเข้าหางานทำของ "ประชาชนชาวเออีซี" จะทำให้ชาวเวียดนามเองว่างงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ การจับจ่ายใช้สอยของประชากร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเติบโต

ต่างไปจากเพื่อนบ้านที่เศรษฐกิจใหญ่โตกว่าเช่นไทย ที่รับแรงงานต่างชาติจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงมานานนับสิบปี จนมีจำนวนราว 2.5 ล้านคนในปัจจุบัน เวียดนามเองยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านแรงงานอพยพขนาดใหญ่โตมาก่อน ไม่เพียงแต่แรงงานไร้ฝีมือเท่านั้น ผู้ที่เรียนสำเร็จระดับปริญญาตรีและโทนับแสนๆ คนที่ยังว่างงานอยู่ในขณะนี้จะหางานทำยากขึ้น สื่อของทางการรายงาน

"ภายใต้ข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีภายในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เวียดนามจะมีแรงงานที่ใหญ่ขึ้น จะมีแรงงานมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย .." นางเหวียน ถิ เหวียด แทง (Nguyen Thi Viet Thanh) ซีอีโอบริษัท Anphabe ซึ่งเป็นบริษัทจัดหางาน ให้ความเห็นเรื่องนี้กับหนังสือพิมพ์แทงเนียน ภาษาเวียดนาม

"แต่ในขณะเดียวกันก็หมายความว่า จะมีชาวเวียดนามเองว่างงานมากขึ้น" ผู้บริหารคนเดียวกันกล่าว

ภายใต้ความตกลงของบรรดาชาติสมาชิก 10 ประเทศ บรรดาผู้นำได้ร่วมกันลงนามระหว่างการประชุมสุดยอดในกรุงกัวลาลัมเปอร์เดือนที่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2559 เป็นต้นไป ทุกประเทศจะเปิดประตูต้อนรับแรงงานใน 8 แขนงอุตสาหกรรม คือ บัญชี สถาปนิก แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกร พยาบาลอาชีพ เจ้าหน้าที่ด้านการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยว

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุด เนื่องจากตลาดแรงงานในประเทศยังเล็ก ไม่เพียงพอรับบุคคลากรที่เรียนสำเร็จในสาขาอาชีพเหล่านั้น รวมทั้งแรงงานที่มีฝีมือใน 8 แขนงอุตสาหกรรมดังกล่าว และ ยังเป็นเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน ไปมาหาสู่กันสะดวกที่สุด

นายโรเบิร์ต เฉิน ซีอีโอกลุ่มโรเบนนี (Robenny) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาเชิงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ กล่าวว่า ตอนนี้มีแรงงานจากกัมพูชาไปสมัครงานที่บริษัทเป็นจำนวนมาก เพื่อทำงานในเวียดนาม ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่มีการศึกษาดี พูดภาษาอังกฤษได้ดี และ ยังพูดภาษาเวียดนามได้ในระดับดีอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ของทางการยังอ้างความเห็นของผู้บริหาร บริษัทจัดหางานอีกหลายแห่ง ที่ระบุพ้องกันว่า แรงงานชาวฟิลิปปินส์มีโอกาสมากที่สุด เนื่องจากขยันขันแข็ง ตั้งใจทำหน้าที่ มีวินัยและเป็นมิตรกับคนรอบข้าง เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าสำหรับองค์กรธุรกิจ

บริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง เปิดเผยว่าบริษัทเองรับพนักงานเป็นชาวฟิลิปปินส์จำนวนมาก ทุกคนทำงานดี สร้างผลงานมากกว่า ถึงแม้จะได้รับค่าจ้างเท่ากับพนักงานชาวเวียดนามเองก็ตาม

นายซันนี ซัน (Sonny Son) ผู้จัดการใหญ่กลุ่มวิสดอม (Wisdom Group) ที่เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านการโรงแรมกับภัตตาคารระดับหรูกล่าวว่า อุตสาหกรรมเหล่านี้่ในเวียดนามจำเป็นจะต้องใช้บุคคลากรจากต่างประเทศ และ มักจะต้องจ่ายสูงกว่าชาวเวียดนามเอง

เขากล่าวอีกว่า รีสอร์ตระดับ 5 ดาว แห่งหนึ่งในญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค้งฮวา (Khanh Hoa) ซึ่งเป็นปลายทางท่องเที่ยวสำคัญที่สุดในภาคกลาง ลงทุนว่าจ้างผู้บริหารสตรีชาวฟิลิปปินส์มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพราะได้ปรากฎชัดเจนว่า ทำงานได้ดีกว่า มีวินัย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พูดภาษาอังกฤษได้ชัดเจน ในขณะที่การจ้างผู้บริหารชาวเวียดนามโพ้นทะเลนั้นต้องจ่ายแพงกว่า
.
<br><FONT color=#00003>คนงานหญิงกำลังขัดผิวชิ้นส่วนสกู๊ตเตอร์ ที่โรงงานประกอบของเปี้ยกโจ้ (Piaggio) จ.หวิงฟุก (Vinh Phuc) ทางทิศเหนือกรุงฮานอย ภาพถ่ายเดือน เม.ย.2558 ในปีที่บริษัทเปี้ยกโจ้เวียดนาม ส่งออกรถจักรยานยนต์เวสป้า และ เปี้ยกโจ้ ได้ถึง 500,000 คัน ที่นี่ว่าจ้างแรงงานทั้งระดับปริญญาตรี และวิทยาลัยการอาชีพหลายร้อยคน  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่างงานมากที่สุดในเวียดนามปัจจุบัน หลายฝ่ายวิตกว่า ปีนี้จะมี แรงงานเออีซี หลั่งไหลเข้าไปแย่งงานอีก. -- Reuters/Kham. </b>
2
ทั้งหมดนี้เป็นแนวโน้มทั่วไปในอุตสาหกรรมโรงแรมกับร้านอาหารระดับบน ซึ่งหาบุคคลกรในท้องถิ่นได้ยาก

ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ชาวเวียดนามโดยทั่วไปขาดโอกาส พลาดตำแหน่งงานสำคัญในทุกระดับ เทียบกับชาวไทย ชาวกัมพูชา แม้กระทั่งชาวลาว ก็ปรากฎว่าเพื่อนบ้านเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าชาวเวียดนาม จะเห็นได้จากการว่างจ้างชาวเวียดนามในประเทศเหล่านี้มีระดับต่ำมาก เทียบกับการว่าจ้างชาวเพื่อนบ้านในเวียดนามที่มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ

บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่เตือนเวียดนามเรื่องนี้มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อบริษัทอินเทลเข้าลงทุนในนครโฮจิมินห์สิบปีก่อนก่อน ต้องลุงทนฝึกบัณฑิตเอง สอนภาษาอังกฤษเอง ก่อนบรรจุเข้าเป็นพนักงาน เรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญในยุคเออีซี ไม่เพียงแต่จะขาดโอกาสในบ้านเท่านั้น หากยังด้อยโอกาส สำหรับการหางานทำในต่างแดนอีกด้วย

บริษัทชั้นนำหลายแห่งเตือนว่า แรงงานระดับบนจากสิงคโปร์ กำลังจะมุ่งหน้าเข้าเวียดนามในปี 2559 นี้ เนื่องจากตลาดแรงงานในบ้านเกิดอิ่มตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบัญชี นักบริหารจัดการ ไปจนถึงหมอและวิศวกร คนเหล่านั้นสำเร็ขศึกษาในสิงคโปร์ จำนวนมากเรียนสำเร็จจากต่างประเทศ และใช้ภาษาอังกฤษดีได้ดี

ตัวเลขของกระทรวงแรงงาน ทหารผ่านศึกและสวัสดิการสังคม ที่เผยแพร่ในสัปดาห์สิ้นปีที่ผ่านมา ระบุว่าปัจจุบันมีบัณฑิตกับมหาบัณฑิตเวียดนาม ที่เรียนสำเร็จสาขาวิชาต่างๆ ว่างงานอยู่กว่า 225,000 คน ทั้งนี้เป็นข้อมูลล่าสุด เมื่อสิ้นไตรมาสที่สามปี 2558 และ เมื่อรวมกับแรงงานทั่วไปแล้ว ทำให้เวียดนามมีคนว่างงานอยู่กว่า 1.13 ล้านในปัจจุบัน

จำนวนดังกล่าวลดลง 15,900 คนจากไตรมาสที่สอง อาจจะดูไม่มากหากเทียบกับประชากร 90 ล้านคน แต่เมื่อดูในเชิงสถิติก็จะเป็นอัตราการว่างงานที่สูงไม่น้อย กระทรวงแรงงานฯ ยังเตือนด้วยว่า อัตรว่างงานของผู้เรียนสำเร็จระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยการอาชีพต่างๆ ยังสูงกว่า 20%

เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ประเทศที่มีพลเมืองมากเป็นอันดับ 3 ของเออีซี ยงมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ล่าช้า ผลการวิจัยโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO (International Labour Organisation) บ่งชี้ว่าผลิตภาพของชาวเวียดนาม อยู่ในระดับต่ำ คือ เป็นเพียง 1/5 เทียบกับชาวมาเเลย์ 2/5 เทียบกับไทย และ 1/18 เทียบกับชาวสิงคโปร์

ปัญหาด้านแรงงานภายในเวียดนามไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น ผลการศึกษาของธนาคารโลก ที่เผยแพร่ในสัปดาห์ก่อนสิ้นปี 2558 ระบุว่า แรงงานในชนบทกำลังหลั่งไหลเข้าสู่ตัวเมือง ในอัตราสูงอย่างน่าเป็นห่วง และ มีแนวโน้มที่สูงขึ้นต่อไป ทั้งหมดมุ่งหน้าสู่แหล่งจ้างงาน ในนคร และ จังหวัดใหญ่ๆ ทั่วประเทศ

ปัจจุบันชาวเวียดนามร้อยละ 70 อาศัยในชนบท ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ มุ่งพัฒนาประเทศ ให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมทันสมัยภายในปี 2578 หลายคนย้ายเข้าเมือง เพื่อทำงานในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ในเขตอุตสาหกรรมตามชานเมืองของเมืองใหญ่ และ ในภาคการก่อสร้าง และการบริการ

ตามรายงานอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่ในสัปดาห์สุดท้ายเดือน ธ.ค. เศรษฐกิจเวียดนามปี 2558 ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 5 ปี คือ 6.68% อันเป็นผลจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง การลงทุนจากต่างชาติที่มากเป็นประวัติการณ์ และการบริโภคภายในประเทศที่คึกคัก อัตราการเติบโตนี้ สูงกว่าเป้าที่รัฐบาลตั้งไว้เดิมที่ 6.2%

ตัวเลขนี้ทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
กำลังโหลดความคิดเห็น