xs
xsm
sm
md
lg

จีนคว้าสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ของพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ตัวแทนจาก CITIC Consortium (ซ้าย) รับมอบเอกสารสัมปทานในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกของเขตเศรษฐกิจพิเศษจอก์พยู ที่กรุงเนปีดอ วันที่ 30 ธ.ค. ทางการพม่าได้ประกาศว่ากิจการร่วมค้าของกลุ่มบริษัทต่างชาติ 6 ราย นำโดยบริษัท CITIC ชนะประมูลเพื่อดำเนินการ 2 โครงการของเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ของประเทศในรัฐยะไข่. -- Xinhua/U Aung.</font></b>

รอยเตอร์ - กิจการร่วมค้าภายใต้การนำของบริษัท CITIC Group Corporation ของจีนชนะประมูล 2 โครงการในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า ที่เป็นการเน้นย้ำถึงความตั้งใจของจีนที่จะขยายฐานในพม่าที่เวลานี้เป็นจุดสนใจของนักลงทุนตะวันตก

ผู้จัดการเขตเศรษฐกิจเผยว่า 2 โครงการที่ได้สัมปทานคือการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในอ่าวเบงกอลและโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม โดยทั้งสองโครงการเป็นส่วนหนึ่งในแผนของพม่าที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของพื้นที่ด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษจอก์พยู

จีนมีโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซจากจอก์พยูตัดข้ามพม่าไปยังมณฑลหยุนหนัน ของจีน โดยไม่ต้องขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา

กิจการร่วมค้าภายใต้การนำของ CITIC ประกอบด้วยบริษัทของจีน 5 ราย และบริษัทของไทย 1 ราย คือ บริษัท China Harbor Engineering Company Ltd., บริษัท China Merchants Holdings บริษัท TEDA Investment Holding และ Yunnan Construction Engineering Group และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ตามการรายงานของสำนักข่าวซินหวา

รัฐสภาพม่าอนุมัติการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อวันอังคาร (30) แม้มีการคัดค้านจากนักเคลื่อนไหวและสมาชิกรัฐสภาที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงกระบวนการประมูล และกล่าวว่าการพัฒนาโครงการจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อประชาชน

"ยังไม่รู้ว่าที่ดินของใครจะถูกยึดและพวกเขาจะชดเชยอย่างไร และไม่ทราบอะไรเลยเกี่ยวกับผู้พัฒนาและนักลงทุน ทำให้เกิดความกังวลสงสัยในหมู่ประชาชนเนื่องจากขาดความโปร่งใส" บา ชิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเมืองจอก์พยู กล่าว

จีนมีความสุขกับความสัมพันธ์ที่สะดวกสบายกับพม่าภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาเป็นเวลา 49 ปี จนกระทั่งปี 2554 ที่อำนาจถูกยกให้กับรัฐบาลกึ่งพลเรือนนำโดยประธานาธิบดีเต็งเส่ง

เต็งเส่งหันมามีส่วนร่วมกับชาติตะวันตกอีกครั้ง รวมทั้งสหรัฐฯ และลดการดำเนินงานในโครงการของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระงับโครงการเขื่อนในปี 2554 แต่จีนยังคงเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของพม่า

รัฐบาลเผด็จการทหารปล่อยให้เศรษฐกิจย่ำแย่ การปฏิรูปภายใต้รัฐบาลเต็งเส่งได้เปิดบางภาคส่วนให้นักลงทุนต่างชาติที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเติบโต

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นหนึ่งในนโยบายที่มีเป้าหมายจะกระตุ้นการเติบโต โดยบริษัทของญี่ปุ่นได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ที่ตั้งอยู่ใกล้นครย่างกุ้ง

สำหรับผู้ชนะในส่วนที่ 3 ของโครงการ คือ การพัฒนาที่อยู่อาศัย ยังไม่มีบริษัทใดถูกเลือกเนื่องจากขาดคุณสมบัติ ตามการระบุของคณะกรรมการการประเมินและตัดสินการประมูลเขตเศรษฐกิจพิเศษจอก์พยู.
กำลังโหลดความคิดเห็น