xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพม่านับพันรวมตัวประท้วงคำตัดสินคดีเกาะเต่าหน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ชุมนุมถือป้ายข้อความร้องขอความยุติธรรมอยู่ด้านนอกสถานทูตไทยในนครย่างกุ้ง ในการประท้วงต่อต้านโทษประหารต่อ 2 แรงงานพม่าในคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่า. -- Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw.</font></b>

รอยเตอร์ - ชาวพม่าจำนวนมากรวมตัวชุมนุมประท้วงเรียกร้องการปล่อยตัว 2 แรงงานชาวพม่า ในนครย่างกุ้ง ในวันนี้ (25) หนึ่งวันหลังศาลไทยมีคำพิพากษาประหารชีวิต 2 แรงงานพม่า จากการฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ บนเกาะเต่าในปี 2557

ศาลตัดสินว่า ซอ ลิน และวิน ซอ ตุน มีความผิดฐานฆาตกรรมอย่างทารุณต่อ น.ส.ฮันนาห์ วิเทอริดจ์ อายุ 23 ปี และนายเดวิด มิลเลอร์ อายุ 24 ปี บนเกาะเต่า คดีที่ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการสืบสวนของตำรวจ และแนวทางการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวของไทย

ตำรวจพม่าเผยว่า มีประชาชนราว 1,000 คน รวมตัวกันอยู่ด้านหน้าสถานทูตไทยในนครย่างกุ้งในวันนี้ (25) เรียกร้องการปล่อยตัว 2 แรงงานชาวพม่า โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายสิบนายเฝ้ารักษาความปลอดภัย และปิดถนนที่ผ่านด้านหน้าอาคารสถานทูต

ผู้ชุมนุมประท้วงบางส่วนถือป้ายที่มีข้อความระบุว่า “รัฐบาลไทยหน้าไม่อาย” ขณะที่คนอื่นๆ ร้องตะโกนว่า “เราต้องการความยุติธรรม” เป็นภาษาอังกฤษ ก่อนที่ผู้ชุมนุมจะสลายกลุ่มไปหลังคำขอพบเอกอัครราชทูตไทยไม่เป็นผล

คดีฆาตกรรมอันโหดเหี้ยมนี้ได้ทำลายชื่อเสียงการเป็นดินแดนสวรรค์แห่งการท่องเที่ยวของไทย และก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับระบบยุติธรรม และการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวของประเทศ

อู วิน หม่อง เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า คำตัดสินจะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูต

“มนุษย์ทุกคนหากได้ยินว่ากำลังจะได้รับโทษประหารชีวิตก็ต้องรู้สึกเสียใจ แต่นี่เป็นขั้นตอนทางกฎหมาย ดังนั้น ก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย” อู วิน หม่อง กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในกรุงเทพ

ไทยมีแรงงานพม่าราว 2.5 ล้านคน อยู่ในประเทศ หลายคนทำงานในอุตสาหกรรมประมง และก่อสร้าง บางส่วนเป็นผู้ช่วยแม่บ้าน หรือทำความสะอาดในโรงแรม และร้านอาหาร

องค์กรนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระต่อข้อกล่าวหาว่าชายชาวพม่าถูกทรมาน และว่าตำรวจในไทยมีประวัติยาวนานเกี่ยวกับการใช้วิธีทรมานเพื่อให้สารภาพ แต่ผู้พิพากษายกฟ้องข้อกล่าวหาการทรมานในคดีเกาะเต่า โดยระบุว่า ไม่มีหลักฐาน.
.
<br><FONT color=#000033>Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
<br><FONT color=#000033>Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw.</font></b>
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw.</font></b>
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw.</font></b>
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw.</font></b>
<br><FONT color=#000033>Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
<br><FONT color=#000033>ล่ามจากสถานทูตไทยกำลังพูดกับผู้ชุมนุมสนับสนุน 2 แรงงานชาวพม่าบริเวณด้านหน้าสถานทูตไทยในนครย่างกุ้ง วันที่ 25 ธ.ค. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
<br><FONT color=#000033>ผู้ชุมนุมถือธงพม่าและไทยขณะร่วมชุมนุมประท้วงเรียกร้องการปล่อยตัว 2 แรงงานชาวพม่าที่ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตจากคดีเกาะเต่าปี 2557. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น