xs
xsm
sm
md
lg

งานหิน ผู้สมัครเลือกตั้งมุสลิมหนึ่งเดียวในมัณฑะเลย์ฐานที่มั่นพุทธหัวรุนแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ขิ่น หม่อง เต็ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิม ขณะให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ในเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.--Reuters/Jorga Silva.</font></b>

รอยเตอร์ - เมืองมัณฑะเลย์ ในภาคเหนือของพม่า ศูนย์กลางศาสนาพุทธที่เต็มไปด้วยวัดวาอาราม และพระภิกษุสงฆ์ที่บางครั้งดูเหมือนว่าจะมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่เป็นเรื่องง่ายดายอย่างมากที่จะนับจำนวนชาวมุสลิมมัณฑะเลย์ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ เพราะมีเพียงแค่คนเดียวเท่านั้น

ขิ่น หม่อง เต็ง มาจากพรรคการเมืองเล็กๆ ที่ไม่โดดเด่นนัก และดำเนินงานรณรงค์หาเสียงจากบ้าน 2 ชั้นที่เต็มไปด้วยข้าวของ ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมเพียงหนึ่งเดียวในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ และเป็นที่มั่นของชาวพุทธหัวรุนแรง ขิ่น หม่อง เต็ง กำลังยืนอยู่ในที่ที่แม้แต่คู่แข่งทางการเมืองยักษ์ใหญ่ก็ไม่กล้าส่งผู้สมัครชาวมุสลิม

ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) กล่าวต่อรอยเตอร์ ว่า พวกเขากลัวโดนต่อต้านจากกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงที่เรียกว่า มะบะธา ที่นำโดยพระสงฆ์ และมีอิทธิพลอย่างมากในประเทศ

กลุ่มมะบะธา กล่าวว่า ศาสนาอิสลามกำลังกลืนศาสนาพุทธ และเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรกิจการของชาวมุสลิม รวมทั้งห้ามการแต่งงานระหว่างศาสนา

ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมจำนวนมากถูกตัดสิทธิ และสิทธิการเลือกตั้งของชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายแสนคนก็ถูกเพิกถอนเช่นกัน

ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นชาวมุสลิมมีเพียง 12 คนจากทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรค United National Congress (UNC) ของขิ่น หม่อง เต็ง

“ชาวมุสลิมประสบความยากลำบากในพม่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และสิ่งนี้ผลักดันเราให้เข้าสู่สภา” ขิ่น หม่อง เต็ง อายุ 71 ปี กล่าว

ขิ่น หม่อง เต็ง ระบุว่า ตนเองเป็น “ปาธี” กลุ่มชาวมุสลิมสายเลือดเปอร์เซีย และมีประวัติศาสตร์หลายศตวรรษในพม่า และมองว่าการเลือกตั้งเป็นโอกาสที่จะฟื้นคืนความภาคภูมิใจของชาติพันธุ์ นอกจากนั้น ยังต้องการที่จะส่งเสริมนโยบายของพรรค เช่น การลดงบประมาณของกองทัพพม่า และจัดสรรให้แก่ด้านการศึกษาแทน

.
<br><FONT color=#000033>ขิ่น หม่อง เต็ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมหนึ่งเดียวในเมืองมัณฑะเลย์ จากพรรค UNC.--Reuters/Jorga Silva.</font></b>
<br><FONT color=#000033>พระสงฆ์รับบิณฑบาตรที่บริเวณนอกวัดแห่งหนึ่ง ในเมืองมัณฑะเลย์ เมื่อวันที่ 6 ต.ค.--Reuters/Jorga Silva.</font></b>
.
ชาวมุสลิมมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 ของประชากร 51 ล้านคนของพม่า ความรุนแรงทางศาสนาได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อย และส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม นับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนขึ้นบริหารประเทศในปี 2554 หลังอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารเกือบครึ่งศตวรรษ การปะทะกันระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมในเมืองมัณฑะเลย์ในเดือน ก.ค.2557 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และหลายชุมชนต้องอยู่ในความหวาดวิตก

เมืองมัณฑะเลย์ เป็นบ้านของพระวิระธู แกนนำกลุ่มมะบะธา ที่มีชื่อเสียงในการใช้ถ้อยคำต่อต้านชาวมุสลิม

กลุ่มมะบะธา ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 ที่มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า คณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองเชื้อชาติและศาสนา ที่เรียกร้องให้ประชาชนไม่ลงคะแนนเสียงให้แก่ซูจี และผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค NLD เนื่องจากคัดค้านกฎหมายเชื้อชาติและศาสนา 4 ฉบับที่กลุ่มสนับสนุน

พระสงฆ์ของกลุ่มมะบะธาได้แสดงการสนับสนุนพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ที่หนุนกฎหมาย 4 ฉบับ และพรรค USDP ก็ไม่ได้ส่งชาวมุสลิมลงสมัครรับเลือกตั้งเช่นกัน

พรรค UNC ของขิ่น หม่อง เต็ง ตั้งขึ้นในปี 2555 และลงแข่งในระบบที่ดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยอุปสรรคขัดขวางชาวมุสลิม

เมื่อต้นปีที่รัฐยะไข่ รัฐบาลได้ยกเลิกบัตรประจำตัวของชาวโรฮิงญาราว 650,000 คน ส่งผลให้คนเหล่านั้นถูกตัดสิทธิการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง

ในคำแถลงเมื่อเดือน ก.ย. ของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ระบุว่า คณะกรรมาธิการการเลือกตั้งของพม่าได้ตัดสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้งราว 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมด้วยกระบวนการที่ไม่โปร่งใส และเลือกปฏิบัติที่อาจทำลายความเชื่อมั่นในการเลือกตั้ง

ในกลุ่มคนที่ถูกตัดสิทธิดังกล่าว มี 6 คน มาจากพรรค UNC ที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 12 คน แต่ในอีกสัปดาห์ต่อมา ท่ามกลางการกดดันของนานาประเทศ คณะกรรมาธิการการเลือกตั้งได้คืนสิทธิให้แก่ผู้สมัครชาวมุสลิม 11 คน รวมทั้งคนของพรรค UNC 4 คน

การยกเว้นชาวมุสลิมจากทั้งการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อให้เกิดความวิตกว่าชาวมุสลิมจะถูกกันออกจากการใช้ชีวิตในสาธารณะ

ชาวมุสลิมทั้งใน และรอบๆ เมืองมัณฑะเลย์ กล่าวต่อรอยเตอร์ว่า พวกเขากลัวที่จะออกไปข้างนอกในเวลากลางคืน และต้องหยุดเดินทางเป็นกลุ่มใหญ่ด้วยกลัวว่าจะถูกจับกุมตัวอย่างไร้เหตุผล

ขิ่น หม่อง เต็ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมเพียงคนเดียวในเมืองมัณฑะเลย์ รณรงค์หาเสียงอยู่แค่ในมัสยิดของเมืองมากกว่าที่จะออกไปตามท้องถนน ด้วยวิตกว่า พระสงฆ์ของกลุ่มมะบะธาอาจข่มขู่ผู้คนที่เขาไปพูดคุยด้วย

“ผมไม่สามารถแสดงตัว และรณรงค์หาเสียงได้อย่างเปิดเผย” ขิ่น หม่อง เต็ง กล่าว.
.
<br><FONT color=#000033>ชายชาวพม่าขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมัสยิดในเมืองมัณฑะเลย์ วันที่ 8 ต.ค.--Reuters/Jorga Silva.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น