xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามยึดกระสุนแบล็งก์กว่าแสนนัด ขนจากตุรกีเข้าสนามบินโฮจิมินห์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>บรรจุในลังกระดาษปะปนกับสินค้าอื่นๆ ไม่มีชื่อผู้รับ และ หนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา ไม่มีผู้ใดไปแสดงตนเป็นเจ้าของ สายการบินตุรกีกล่าวว่า เป็นการนำส่งผิดปลายทางและขอคืน แต่กระทรวงความมั่นคงภายในเวียดนามอายัด นำออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนไปเก็บรักษาพิเศษ เนื่องจากเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย วันนี้สั่งปรับสายการบินดังกล่าว ฐานขนสินค้าที่มีอันตรายเข้าเวียดนาม. -- เวียดนามเอ็กซ์เพรส. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สายการบินตุรกี (Turkish Airlines) ตกเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งหนึ่งในเวียดนาม หลังจากกระทรวงความมั่นคงประเทศนี้ ประกาศยึด "กระสุนหลอก" จำนวน 144,000 นัด ที่สายการบินแห่งนี้ขนไปยังสนามบินนครโฮจิมินห์ และ ยังสั่งปรับตามกฎหมายอีก ฐานนำเข้าสินค้าต้องห้าม ซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัย แม้จะอ้างว่าเป็นการนำส่งผิดปลายทางก็ตาม

เหตุเกิดต้นปีที่แล้ว ทางการคอมมิวนิสต์ใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการสอบสวนที่มาที่ไป ก่อนประกาศสรุปผลในสัปดาห์นี้ ซึ่งนับเป็นกรณีอื้อฉาวครั้งที่สองสำหรับเทอร์กิชแอร์ไลน์ส หลังจากปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา สื่อเวียดนามกล่าวว่า ได้นำอาวุธปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติเกือบ 100 กระบอก ซองบรรจุกระสุน หรือ แมกกาซีนเปล่า อีกเกือบ 500 ชุด ไปยังสนามบินเตินเซินเญิ๊ต (Tan Son Nhat) แห่งเดียวกันนี้ โดยชี้แจงว่า เป็นการนำส่งผิดปลายทางเช่นกัน

สำหรับกรณีกระสุนหลอกกว่าแสนนัดนี้ ศุลกากรท่าอากาศยานนานาชาติโฮจิมินห์ ตรวจพบในปลายเดือน เม.ย.2557 ทั้งหมดเป็นกระสุนไรเฟิล บรรจุในกล่องกระดาษจำนวน 60 กล่อง ปะปนอยู่กับสินค้าอื่นๆ ที่ไปกับเที่ยวบินจากกรุงอิสตันบุล ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ได้แจ้งไปยังกระทรวงความมั่นคงภายใน ซึ่งใช้เวลาปีครึ่งต่อมาพิจารณาเรื่องนี้ สื่อของทางการรายงาาน

ครั้งนั้นสายการแห่งชาติของบินตุรกี ได้ติดต่อไปยังศุลการกรท่าอากาศนานาชาติโฮจิมินห์ในทันที ขอคืนกระสุนหลอกทั้งหมด เพื่อส่งกลับ หรือ Re-export ไปยังต้นทาง แต่หน่วยงานความมั่นคงของนครใหญ่แห่งนี้ ได้สั่งจับยึด และ นำออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อควบคุมพิเศษ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีอันตรายตามกฎหมาย พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน ซึ่งพบความจริงว่าในที่สุดว่า ไม่มีผู้รับ หรือ ผู้นำเข้า ไม่มีตัวตนอยู่ในเวียดนาม

ทางการเวียดนามประกาศในวันจันทร์ผ่านมา เกี่ยวกับผลการดำเนินการ สั่งปรับสายการบินตุรกี 30 ล้านด่ง เงินเวียดนาม หรือประมาณ 1,339 ดอลลาร์ พร้อมยึดกระสุนหลอกของกลางทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของรัฐ นายโด๋แทงกวาง (Do Thanh Quang) หัวหน้าสำนักงานศุลกากร ท่าอากาศยานนานาชาติโฮจิมินห์กล่าว

ต่างไปจากกรณีขนปืนพกจำนวน 94 กระบอก พร้อมซองบรรุกระสุน 472 ชุด เข้าโฮจิมินห์ เมื่อกว่า 2 เดือนก่อน ครั้งนั้นทางการสิงคโปร์ได้ติดต่อไปยังเวียดนาม แจ้งความเป็นเจ้าของในทันที ทั้งหมดเป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติ CZ P07 ที่กองบัญชาการตำรวจสิงคโปร์สั่งซื้อจากสาธารณเช็ค โดยขนผ่านตุรกี เพื่อนำไปใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
.
<bR><FONT color=#000033>ทั้งหมดเป็นกระสุนหลอกสำหรับปืนไรเฟิล ที่ไม่มีการเปิดเผยขนาด แต่นับรวมกันได้ 144,000 นัด. </b>
2
การสอบสวนกรณีดังกล่าวได้พบว่า เป็นการส่งผิดปลายทางอย่างแท้จริง โดยเข้าใจผิดคิดว่า รหัส SG (สิงคโปร์) ที่ใช้กำกับปลายทางของสินค้า หมายถึง "ไซ่ง่อน" หรือ ท่าอากาศยานโฮจิมินห์ และ กรณีดังกล่าวกลายเป็นกรณีขนอาวุธปืนเข้าเวียดนามครั้งใหญ่ที่สุด แต่ทางการคอมมิวนิสต์ ยังไม่เคยแถลง หรือ มีการประกาศใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินการ กรณีปืนสิงคโปร์

คอมมิวนิสต์เวียดนามมีกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนที่เคร่งครัด ประเทศนี้ห้ามประชาชนมีอาวุธปืนทุกชนิดในครอบครอง ห้ามนำเข้า อาวุธปืน สิ่งเทียมอาวุธปืน และ สิ่งเทียมวัตถุระเะบิดทุกชนิด ถึงแม้ว่าปืนที่ใช้ลูกกระสุนพลาสติก พวก "บีบีกัน" จะสามารถหาซื้อได้ในท้องตลาดก็ตาม

"กระสุนหลอก" หรือ Blank Cartridge หมายถึงกระสุนที่ไม่มีหัวกระสุนโลหะ บรรจุดินปืนจริงและทำให้เกิดแรงระเบิด เมื่อยิงออกจากปืนสั้นหรือปืนยาว จะ
ทำให้ชุดยิงของปืนครบวงจร เช่นเดียวกันกับกระสุนจริงทั่วไป โดยมี "หัวกระสุน" หรือ Bullet ทำจากกระดาษ หรือ ยาง หริอ วัสดุอ่อน อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสาธารณชนทั่วไป ใช้ในการยิงที่ต้องการเพียงเสียง หรือควัน เช่น ในพิธีต่างๆ รวมทั้งในการแข่งขันกีฬา

อย่างไรก็ตามกระสุนหลอกสามารถทำให้บาดเจ็บรุนแรง หรือ ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ถ้าหากยิงในระยะใกล้ หรือ ระยะเผาขน หลายประเทศถือเป็นยุทธปัจจัย หรือ สินค้าที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ.
.

ปืนพก 100 กระบอก Doi Song Phap Luat Online

3

4
<FONT color=#00003>ทั้งสามภาพข้างบนเป็นปืนพก CZ P 07 จำนวน 94 กระบอก พร้อมซองบรรจุกระสุนกว่า 470 ซอง ผลิตในสาธารณรัฐเช็ค ขนผ่านตุรกี ไปลงอากาศยานนครโฮจิมินห์ปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา กรมตำรวจสิงคโปร์แจ้งแสดงความเป็นเจ้าของ สายการบินอ้างเป็นการส่งผิดปลายทางเช่นกัน โดยเข้าใจผิดคิดว่า รหัส SG (สิงคโปร์) หมายถึง ไซ่ง่อน. </b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น