xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” เผยตั้งใจนำรัฐบาลหาก NLD ชนะการเลือกตั้ง แม้รัฐธรรมนูญห้ามนั่งเก้าอี้ ปธน.ก็ตาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ขณะกล่าวปราศรัยในการรณรงค์หาเสียงก่อนการเลือกตั้งวันที่ 8 พ.ย. ที่ชานเมืองไวมอ ใกล้กับเมืองมิตจีนา เมืองเอกของรัฐกะฉิ่น เมื่อวันที่ 2 ต.ค.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - อองซานซูจี ตั้งใจที่จะนำรัฐบาลพม่าชุดใหม่หากพรรคของเธอชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ แม้จะถูกห้ามจากการเป็นประธานาธิบดีก็ตาม ซูจี กล่าวในการให้สัมภาษณ์ที่จะออกอากาศในวันนี้ (7)

“หากพรรค NLD ชนะการเลือกตั้ง และเราตั้งรัฐบาล ฉันตั้งใจที่จะเป็นผู้นำของรัฐบาลนั้นไม่ว่าฉันจะเป็นประธานาธิบดีหรือไม่ก็ตาม” ซูจี กล่าวต่อสถานีโทรทัศน์อินเดียทูเดย์

“ผู้นำรัฐบาล NLD จะต้องเป็นฉันเพราะฉันเป็นผู้นำพรรค” ซูจี กล่าว

การเลือกตั้งวันที่ 8 พ.ย. ถูกมองว่า เป็นบททดสอบสำคัญของความคืบหน้าทางประชาธิปไตยในพม่าที่หลุดพ้นจากการปกครองของทหารนานครึ่งศตวรรษในปี 2554

ซูจี ชนะที่นั่งในรัฐสภาในปี 2555 ที่กองทัพคลายอำนาจของตัวเองลง แต่ยังห้ามซูจีจากการนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญที่ห้ามบุคคลที่สมรส และมีทายาทเป็นชาวต่างชาติจากตำแหน่งสูงสุดของประเทศ

ประธานาธิบดี ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐ รวมทั้งหัวหน้าของรัฐบาล จะถูกเลือกโดยรัฐสภา รวมทั้งสมาชิกของกองทัพทหารในการลงคะแนนหลังการเลือกตั้ง และต้องยุติบทบาทในพรรคการเมืองในการรับตำแหน่งดังกล่าว เขาหรือเธอผู้นั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบในการตั้งรัฐบาล ที่รวมทั้งคณะรัฐมนตรี การพบหารือสำคัญในระดับภูมิภาค และการลงนามออกกฎหมาย

ซูจี กล่าวต่ออินเดียทูเดย์ว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของเธอจะเสนอชื่อสมาชิกพลเรือนสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีที่ควรชนะในเดือนหน้ามากกว่าที่จะสนับสนุนผู้สมัครที่เป็นทหาร

หัวหน้าพรรค NLD ยังเรียกร้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งระมัดระวังในวันเลือกตั้ง และตั้งคำถามถึงความถูกต้องของรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และกล่าวว่า เธอรู้สึกกลัวถึงความเป็นไปได้ของความไม่สงบที่อาจทำให้คูหาเลือกตั้งต้องปิดลง

พรรค NLD ของซูจี จำเป็นต้องได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเพื่อที่จะครองเสียงข้างมากในรัฐสภาที่ทหารครองที่นั่ง 25% ในรัฐสภา

“นี่เป็นการเลือกตั้งที่สำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพม่า ตื่นตัว ระมัดระวัง รอบคอบ และกล้าหาญให้มาก นี่คือสิ่งที่เราต้องการให้ทุกคนเป็น” ซูจี วัย 70 ปี กล่าว

เมื่อถามถึงความแตกแยกทางชาติพันธุ์ในประเทศ ที่ชนกลุ่มน้อยมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของประชากร 51 ล้านคน ซูจี ยอมรับว่า มีสัญญาณที่น่ากังวลของการไม่ยอมรับความต่างทางศาสนา แต่อย่างไรก็ตาม ซูจี ปกป้องตัวเองจากข้อกล่าวหาที่ว่าเธอล้มเหลวที่จะพูดถึงชะตากรรมของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ด้วยการกล่าวว่า มันเป็นวิธีที่ผิดที่จะบรรลุความปรองดอง

“สิ่งที่ประชาชนต้องการได้ยินคือคำพูดกล่าวประณาม และฉันไม่ได้ทำเช่นนั้น” ซูจี กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น