xs
xsm
sm
md
lg

ยางพาราสุดขอบฟ้า ชาวสวนลาวตัดทิ้งกว่า 2,000 ไร่สุดช้ำราคาตกต่ำหนัก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพจากปี 2555 ซึ่งในครั้งนั้น ที่นี่ได้เขียนบรรยายว่า โชคดีที่ไปก่อน .. บริษัทจากจีนแห่งนี้ได้รับอนุญาตพื้นที่สัมปทานสวนยางและก่อตั้งโรงงานผลิตยางในแขวงภาคเหนือของลาวเมื่อปี 2554 พอปีถัดมาทางการลาวเริ่มตั้งหลักและต้นปี 2556 ก็ประกาศหยุดการออกใบอนุญาตทำสวนยางกับสวนป่ายูคาลิปตัสทั่วประเทศ ตอนนี้จะต้องขึ้นต้นคำบรรยายใหม่ว่า โชคร้ายที่ไปก่อน เนื่องจากราคายางตกต่้ำมากเป็นประวัติกาล ต้นยางที่ปลูกปีโน้นเริ่มจะกรีดได้อีกต่างหาก. -- ภาพแฟ้มหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจสังคม.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ รัฐบาลกับอีกหลายหน่วยงาน รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศต่างสนับสนุนให้เกษตรกรลาวหันไปปลูกยางพาราเพื่อส่งออกกันยกใหญ่ นักลงทุนต่างชาติมุ่งหน้าเข้าไปแสวงหาผืนดินอันอุดม หรือตั้งเครือขายปลูกยางพาราเพื่ออุตสาหกรรม แต่ในวันนี้ราคายางตกต่ำหนัก ชาวลาวจำนวนมากต้องตัดต้นยางทิ้งด้วยความชอกช้ำ เพื่อกลับไปปลูกพืชเดิมๆ และไม่มีผู้ใดหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลืออีก

ตามรายงานของสื่อทางการ ที่ผ่านมา มีเกษตรกรสวนยางในแขวงหลวงน้ำทา ที่อยู่ติดชายแดนจีน ตัดต้นยางทิ้งไปแล้วเกือบ 350 เฮกตาร์ (2,187 ไร่) หลังจากราคายางสำเร็จรูปตกต่ำลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ราษฎรผู้ปลูกยางทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง (อำเภอ) สิง เมืองลอง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ต้นยางพารารวม 349 เฮกตาร์ ที่ถูกตัดทิ้งเป็นของเกษตรกรรวมกัน 758 ครอบครัว อยู่ในเขตเมืองสิงมากที่สุด คือ 292 ครอบครับ สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

ย้อนกลับไปปลายปี 2555 ขณะที่ราคายางในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลได้ออกประกาศฉบับหนึ่ง แนะนำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงต่างๆ ให้ส่งเสริมราษฎรปลูกยางพารา และ ให้สำนักงานอุตสาหกรรมและการค้า ประจำแขวงออกซื้อผลผลิตจากราษฎรในราคายุติธรรม

ปีนี้คณะกรรมการของรัฐบาลที่กำกับดูแลราคายางพาราได้ประชุมเจรจากับบริษัทรับซื้อจากจีน 6 แห่งในหลวงน้ำทา เกี่ยวกับราคาที่ทำให้เกษตรกรอยู่ได้ แทนที่ทางการจะจ่ายเงินอุดหนุน คณะกรรมการชุดนี้ได้เจรจาขอให้บริษัทจีนรับซื้อยางแผ่นในราคา 4 หยวน หรือเกือบ 23 บาทต่อกิโลกรัม จาก 3-3.2 หยวนต่อ กก.ในปัจจุบัน

“แต่เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้ราคายางตกต่ำ บริษัทจีนเหล่านั้นไม่สามารถรับซื้อในราคาที่เสนอได้” ขปล.กล่าว

เมื่อปีที่แล้วเกษตรกรสวนยางในแขวงหลวงน้ำทาเพียงแห่งเดียว ขายยางรวมกันทั้งหมด 13.82 ตัน ในราคาเฉลี่ย 3.8 หยวนต่อ กก. รวมเป็นมูลค่า 52.54 ล้านหยวน (กว่า 8 ล้านดอลลาร์) ราคายางพาราในตลาดโลกเคยพุ่งขึ้นสูงถึง 8 ดอลลาร์ต่อ กก. ในปี 2554 ได้เป็นแรงกระตุ้นให้ทุกคนหันมาปลูกยาง แต่ปีนี้ราคาตกลงเหลือเพียงประมาณ 1.8 ดอลลาร์ต่อ กก.
.
<FONT color=#00003>ยางพาราสุดขอบฟ้า..  ภาพจากเฟซบุ๊ก LaoFAB เมื่อเดือนที่แล้ว สวนยางเห็นอยู่ไกลออกไปบนภูเขา ในเขตเมืองนาหม้อ แขวงอุดมไซ ผลงานของบริษัทลงทุนจากจีน ที่ดั้นดนเข้าไปแสวงหาพื้นที่หลายพันหรือนับหมื่นไร่ ต้นยางกำลังขึ้นงอกงาม แต่ราคาในตลาดโลกตกต่ำสุดขีด. </b>
2
ในช่วงที่ราคาพุ่งขึ้นสูง เกษตรกรในลาวจำนวนมากได้หันหลังให้การทำนา หันมาปลูกยางที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าข้าวอย่างเทียบกันไม่ได้ บริษัทจากจีน บริษัทไทย และจากเวียดนาม ต่างเข้าไปแสวงหาโอกาส ที่จะได้ครอบครองพื้นที่ทำสวนยางนับหมื่นๆ ไร่ ในลาว ตั้งแต่เหนือจดใต้ รวมทั้งในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา แต่ทุกแห่งกำลังประสบชะตากรรมเดียวกัน

ยังไม่ทราบตัวเลขล่าสุดในปีนี้ แต่ผลการสำรวจที่สำนักข่าวของทางการรายงานเมื่อต้นปี 2557 พบว่า ยางพาราปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ โดยแขวงเวียงจันทน์อันดับ 1 รองลงไปเป็นหลวงน้ำทา กับอุดมไซ มีเนื้อที่สวนยางรวมกัน 269,112 เฮกตาร์ (1,681,950 ไร่) หรือกว่า 60% ของทั้งประเทศ รองลงไปเป็นภาคกลาง ในสะหวันนะเขต บอลิคำไซ คำม่วน รวมทั้งในเขตนครเวียงจันทน์ ส่วนภาคใต้ปลูกมากที่สุดในจำปาสัก

รัฐบาลลาวเริ่มตระหนักว่า ที่ผ่านมามีการปลูกพืชเศรษฐกิจเหล่านี้มากเกินไป ในช่วงต้นปี 2556 จึงได้ประกาศ ไม่ออกใบอนุญาต ให้แก่การลงทุนในเกษตรอุตสาหกรรมแขนงยางพารา กับต้นยูคาลิปตัส ที่ปลูกเพื่อนำเนื้อไม้ไปทำเยื่อกระดาษ และไม่ให้ใบอนุญาตแก่นักลงทุนรายใดอีกเลยตั้งแต่นั้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น