xs
xsm
sm
md
lg

อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปภาคส่วนสำคัญพัฒนาเศรษฐกิจพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 18 ก.ย. เผยให้เห็นแรงงานชาวพม่ากำลังทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตอุตสาหกรรมฉ่วยปีธา ในนครย่างกุ้ง อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าของพม่ากำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่ประเทศปักหมุดความหวังการเป็นอุตสาหกรรมเพื่อเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจที่ถูกครอบงำมาอย่างยาวนานโดยการเกษตรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ซึ่งสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มคนร่ำรวยเพียงหยิบมือ แต่ไม่ช่วยยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประเทศ.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - เต๊ต มัต นาย แรงงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปกำลังเย็บเสื้อแจ็กเกตให้แก่แบรนด์สินค้าต่างชาติ ส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมที่กำลังเฟื่องฟูซึ่งช่วยขับเคลื่อนความทันสมัยของประเทศ

“ฉันเรียนรู้การตัดเย็บจากโรงงานแห่งนี้” มัต นาย กล่าว ขณะที่เสียงของเธอกลืนหายไปกับเสียงจักรเย็บผ้าที่โรงงานฉ่วยยีซาเบ ย่านอุตสาหกรรมชานนครย่างกุ้ง

ครอบครัวส่วนใหญ่ในย่านที่อยู่อาศัยหล่ายธายายังคงฝากชีวิตไว้กับเงินที่ส่งมาจากต่างประเทศ มรดกตกทอดของการปกครองอันโหดร้ายหลายทศวรรษ และการจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาดภายใต้อดีตรัฐบาลเผด็จการทหาร

เต๊ต มัต นาย กล่าวว่า มีแค่ 2 อาชีพให้เลือกเดินสำหรับคนที่ยังอยู่ในละแวกนี้คือ ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า และร้านเสริมสวย

พม่าตั้งหมุดความหวังไว้ต่อการเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ขณะที่มองไปยังการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่ครอบงำมายาวนานจากการยังชีพด้วยการเกษตร และการใช้ทรัพยากรที่สร้างความมั่งคั่งให้กลุ่มคนร่ำรวยเพียงหยิบมือ แต่ไม่ช่วยยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในประเทศที่นับได้ว่ายากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

แผนที่จะสร้างพม่าฝากไว้กับผลการเลือกตั้งวันที่ 8 พ.ย. ที่พรรครัฐบาลกำลังต่อสู้ขับเคี่ยวกับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของอองซานซูจี

ซูจี ที่เคยเยี่ยมโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป พร้อมกับแองเจลินา โจลี เมื่อไม่นานนี้ เป็นที่คาดกันอย่างกว้างขวางว่า จะนำพรรคกวาดชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งแรกที่พรรคได้ร่วมต่อสู้ในรอบ 25 ปี

แต่ด้วยประธานาธิบดีคนต่อไปยังไม่ถูกตัดสิน และรัฐธรรมนูญที่ทหารร่างขึ้นห้ามซูจี จากการนั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศ ก่อให้เกิดคำถามมากมายต่อความเป็นไปได้ของการปฏิรูป

.
<br><FONT color=#000033>Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
อย่างไรก็ตาม ด้วยการคาดการณ์ของธนาคารโลกต่อพม่าที่ระบุว่า มีเศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็วที่สุดลำดับที่ 4 ของโลก ทำให้พม่าน่าสนใจ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของประเทศอยู่ระหว่างจีน และอินเดีย พร้อมด้วยประชากรกว่า 51 ล้านคน ที่มีค่าแรงถูก และเป็นผู้บริโภคใหม่ที่มีศักยภาพ

การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยมูลค่าการส่งออกเมื่อปีก่อนแตะ 1,500 ล้านดอลลาร์ หรือมีสัดส่วนเป็น 14% ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดของประเทศ ตามการระบุของสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปพม่า และ 70% ของงานในภาคอุตสาหกรรมในนครย่างกุ้ง เวลานี้อยู่ในภาคส่วนตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป

การลงทุนจากต่างประเทศโดยรวมในพม่าพุ่งไปที่ 8,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2558 มากกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ถึง 2 เท่า ขณะที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศ โครงการติลาวา ที่ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนใกล้กับนครย่างกุ้ง กำลังจะเริ่มดำเนินการ

แต่พม่าจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างรวดเร็วหากต้องการท้าทายศูนย์กลางการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของภูมิภาค เช่น กัมพูชา เวียดนาม และบังกลาเทศ เนื่องจากพลเมืองของพม่าประมาณ 60-70% ยังทำงานอยู่ในภาคการเกษตร

การเมืองที่ไม่แน่นอนยังเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ในเวลาที่พม่ากำลังเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญ ขณะที่กิจการต่างๆ ต้องเผชิญต่อความท้าทาย เช่น ไฟฟ้าไม่เสถียร การสื่อสารติดขัด โครงสร้างพื้นฐานย่ำแย่ และการทุจริตคอร์รัปชัน

ฌอน เทอร์แนล ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพม่าที่ให้คำปรึกษาแก่พรรคของซูจี กล่าวว่า “การฟื้นฟูการผลิต” จะช่วยให้ภาคส่วนดังกล่าวมีสัดส่วนเป็น 30% ของเศรษฐกิจ

“ผมคาดหวังไว้มากว่าพรรค NLD จะดำเนินนโยบายที่สนับสนุนการเติบโต และการพัฒนาที่มีประสิทธิผลให้พม่ากลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง” ฌอน เทอร์แนล กล่าว

ชาติตะวันตกยินดีต่อการปฏิรูปที่เกิดขึ้นในพม่า ที่รวมทั้งสิทธิแรงงานที่ดีขึ้น และการยุติการตรวจสอบเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวด แม้จะยังมีความวิตกถึงการถอยหลังในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าแรงงานตัดเย็บทั้งหมดที่พบกับความสำเร็จ

เมื่อต้นปี ทางการพม่ากำหนดค่าแรงขั้นต่ำรายวันเป็นครั้งแรกที่ 3,600 จ๊าต (2.80 ดอลลาร์) ในความพยายามที่จะรักษาสมดุลระหว่างการตัดลดราคาเพื่อให้แข่งขันได้ต่อการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงที่เป็นธรรมจากบรรดาแรงงานที่เผชิญต่อราคาผู้บริโภคที่เพิ่มสูง

แบรนด์สินค้าตะวันตกต่างยินดีต่อความเคลื่อนไหวนี้ที่ผู้บริโภคเพิ่มความตระหนักถึงคนทำงานที่ผลิตเสื้อผ้า หลังเกิดเหตุอื้อฉาวอาคารในบังกลาเทศถล่ม เมื่อปี 2556 แต่นายจ้างบางส่วนระบุว่าพวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าแรงอัตราใหม่ได้ ที่ยังทำให้แรงงานพม่าเป็นแรงงานที่มีค่าแรงถูกที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค

นักเคลื่อนไหวกล่าวว่า ประชาชนมากกว่า 1,000 คน ถูกปลดออกจากงาน ตอบรับต่อความเเปลี่ยนแปลงใหม่นี้ ขณะที่สื่อทางการรายงานว่า โรงงานบางแห่งหยุดจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าเดินทาง.
กำลังโหลดความคิดเห็น