xs
xsm
sm
md
lg

พม่าอนุมัติค่าแรงขั้นต่ำแห่งชาติครั้งแรกมีผลเดือน ก.ย.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>คนงานพม่าราว 250 คน เดินขบวนประท้วงเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำที่ 4 ดอลลาร์ต่อวัน ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 12 ก.ค. สื่อทางการพม่ารายงานว่า รัฐบาลอนุมัติอัตราค่าแรงขั้นต่ำแห่งชาติที่ 2.80 ดอลลาร์ต่อวัน (3,600 จ๊าต) โดยจะมีผลตั้งแต่เดือนก.ย. นี้.--Agence France-Presse/Myat Thu.</font></b>

เอเอฟพี - รัฐบาลพม่า อนุมัติค่าแรงขั้นต่ำแห่งชาติเป็นครั้งแรกของประเทศ สื่อทางการของพม่ารายงานวานนี้ (29) หลังกลุ่มสหภาพแรงงาน และนายจ้างเจรจากันนานหลายเดือน

อัตราค่าแรงกำหนดไว้ที่ 3,600 จ๊าต (ประมาณ 100.40 บาท) สำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และจะมีผลตั้งแต่วันอังคารนี้ (1 ก.ย.) หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ รายงาน

รายงานระบุว่า อัตราค่าแรงขั้นต่ำนี้จะปรับใช้กับแรงงานในทุกภาคส่วน และอุตสากรรมต่างๆ แต่ไม่รวมธุรกิจขนาดเล็กที่มีการจ้างงานต่ำกว่า 15 คน

พม่า ต้องเผชิญต่อการชุมนุมประท้วงหลายครั้งเรียกร้องการปรับเพิ่มค่าแรง และสภาพการทำงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่แรงงานภาคตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่กำลังขยายตัว

ความเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเมืองภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลกึ่งพลเรือน ที่ทำให้เห็นการเติบโตในการลงทุนจากต่างชาติ หลังมาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ถูกยกเลิกไป รวมทั้งแรงกดดันจากภายนอกที่บรรดาผู้ผลิตชาติตะวันตกถกเถียงกันว่าค่าแรงที่ไม่ดีทำให้การผลิตไม่มีประสิทธิภาพ

ก่อนหน้านี้ แรงงานในพม่าเรียกร้องปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ 4,000 จ๊าตต่อวัน (ประมาณ 111.16 บาท) ด้วยการจัดชุมนุมประท้วงนอกโรงงานในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่ทำให้คนงานจำนวนหนึ่งถูกจับกุมตัวในการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย ที่มีชาวพม่าราว 2 ล้านคน เป็นส่วนหนึ่งในแรงงานต่างชาติจำนวนมากในประเทศ กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำไว้ที่ 300 บาทต่อวัน แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า คนงานพม่ามักได้รับค่าจ้างน้อยกว่าที่กำหนด ทำงานในสภาพที่ไม่ดี และถูกเอารัดเอาเปรียบ.
กำลังโหลดความคิดเห็น